ท้องฟ้าในเดือนกุมภาพันธ์
ท้องฟ้าในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
วันเวลาผ่านไปเร็วเหมือนโกหก สวัสดีเดือนกุมภาพันธ์ผู้อ่านทุกๆ ท่านที่ได้ออกมาอ่านบทความดูดาวนี้ ตลอดเดือนมกราคมที่ผ่านมาดูเหมือนว่าปีนี้สภาพอากาศจะไม่ค่อยเป็นใจให้กับนักดูดาวเท่าไร ตั้งแต่เพิ่มต้นปีมาทางภาคเหนือมีเมฆเป็นส่วนใหญ่ ส่วนทางภาคใต้ของประเทศก็มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง เลยทำให้นักดูดาวและนักถ่ายภาพดาราศาสตร์ว่างแผนที่จะออกไปดูดาวและถ่ายภาพต้องยกเลิกวางหลายครั้ง แต่อย่างไรก็ตามช่วงปลายเดือนมกราคมก็เริ่มดูนักถ่ายภาพดาราศาสตร์บางคนออกไปถ่ายภาพทางช้างเผือกกันบางแล้ว และหวังว่าในเดือนกุมภาพันธ์สภาพอากาศคงจะเป็นในมากขึ้น ขอให้ทุกท่านโชคดีในการดูดาวครับ
กลุ่มดาวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
สำหรับการดูดาวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มีกลุ่มดาวใดบางที่น่าสนใจในช่วงหัวค่ำ เมื่อผู้สังเกตหันหน้าไปทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวที่ปรากฏอยู่ประกอบด้วยกลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวสิงโตเล็ก กลุ่มดาวปู กลุ่มดาวแมวป่า และกลุ่มดาวงูไฮดรา ที่กำลังขึ้นจากทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวสนัขใหญ่ กลุ่มดาวสนัขเล็ก กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวคนคู่ กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวเพอร์เซอุส อยู่บริเวณกลางฟ้าและถ้าหากลองมาลากเส้นสมมุติจากดาวซีเรียส ในกลุ่มดาวหมาใหญ่ ไปยังดาวโพรไซออนที่อยู่ในกลุ่มดาวหมาเล็ก ลากต่อไปยังดาวไรเจลที่อยู่ในกลุ่มดาวนายพราน แล้วลากต่อไปยังดาวอัลเดบาแรนในกลุ่มดาววัว และสุดท้ายลากไปที่ดาวคาเพลลาในกลุ่มดาวสารถี เราก็จะได้เป็นรูปหกเหลี่ยม ซึ่งรูปหกเหลี่ยมดังกล่าวถูกเรียกว่า “หกเหลี่ยมฤดูหนาว” ตามแผนที่ดาวด้านล่าง ด้านตะวันตกมีกลุ่มดาวปลาคู่ กลุ่มดาวเซตุส กลุ่มดาวแอนโดเมดา กลุ่มดาวม้าปีก ทางทิศเหนือมี กลุ่มดาวค้างคาว กลุ่มดาวหมีเล็ก กลุ่มดาวหมีใหญ่ กลุ่มดาวยีราฟ กลุ่มดาวกิ้งกา และทางทิศใต้มีกลุ่มดาวนกฟินิกส์ กลุ่มดาวแม่น้ำ กลุ่มดาวนกพิราบ เป็นต้น
รูปที่ 1 ท้องฟ้าในเดือนมกราคม เวลา 21:00 น.
ดาวน์โหลดแผนที่ท้องฟ้าเดือนกุมภาพันธ์
เหตุการณ์ดาราศาสตร์ในเดือนกุมภาพันธ์
วันที่ เดือน |
เวลา (น.) |
เหตุการณ์ |
1กุมภาพันธ์ |
01:37 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ 3.9องศา |
|
08:09 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร 2.7 องศา |
2กุมภาพันธ์ |
17:11 |
- ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร |
3กุมภาพันธ์ |
|
|
4กุมภาพันธ์ |
11:19 |
- จันทร์กึ่งข้างขึ้น |
5กุมภาพันธ์ |
|
|
6กุมภาพันธ์ |
05:30 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอัลดีบาแรน 0.2องศา |
|
20:59 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกสุดในรอบเดือน (ระยะทาง 368,817 กิโลเมตร) |
7กุมภาพันธ์ |
|
|
8กุมภาพันธ์ |
|
|
9กุมภาพันธ์ |
|
|
10กุมภาพันธ์ |
23:46 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้กระจุกดาวรวงผึ้ง 4.2องศา |
11กุมภาพันธ์ |
07:33 |
- จันทร์เพ็ญ |
|
07:43 |
- เกิดจันทรุปราคาเงามัว (ไม่เห็นในประเทศไทย) |
|
19:30 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเรกูลัส 0.5องศา |
12กุมภาพันธ์ |
|
|
13กุมภาพันธ์ |
|
|
14กุมภาพันธ์ |
|
|
15กุมภาพันธ์ |
00:04 |
- ดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ดาวสไปกา 3.7องศา |
|
22:12 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวสไปกา 6.2องศา |
|
21:26 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี 2.7องศา |
16กุมภาพันธ์ |
|
|
17กุมภาพันธ์ |
|
|
18กุมภาพันธ์ |
|
|
19กุมภาพันธ์ |
02:33 |
- จันทร์กึ่งข้างแรม |
|
04:14 |
- ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกสุดในรอบเดือน (ระยะทาง 404,376 กิโลเมตร) |
20กุมภาพันธ์ |
|
|
21กุมภาพันธ์ |
06:44 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ 3.1องศา |
22กุมภาพันธ์ |
|
|
23กุมภาพันธ์ |
|
|
24กุมภาพันธ์ |
|
|
25กุมภาพันธ์ |
|
|
26กุมภาพันธ์ |
09:25 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพุธ 2.2องศา |
|
21:53 |
- เกิดสุริยุปราคาวงแหวน (ไม่เห็นในประเทศไทย) |
|
21:58 b |
- จันทร์ดับ |
27กุมภาพันธ์ |
17:18 |
- ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวยูเรนัส 0.6 องศา |
28กุมภาพันธ์ |
|
|
ดาวเคราะห์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560
การสังเกตดาวเคราะห์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ ผู้สังเกตสามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ทั้งหมด 5 ดวง โดยจะสามารถมองเห็นได้ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก 2 ดวง คือดาวศุกร์และดาวอังคาร และในเวลาประมาณหลัง 5 ทุ่ม อีกหนึ่งดวง คือ ดาวพฤหัสบดี และอีก 2 ดวง ที่เหลือผู้สังเกตสามารถจะสามารถมองเห็นได้ในช่วงเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นในทางทิศตะวันออก คือ ดาวพุธ และดาวเสาร์ และยังเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการสังการณ์ดาวพุธอยู่ ส่วนดาวเสาร์ยังอยู่ใกล้กับใจกลางทางช้างเผือก และดวงเคราะห์อีกดวงหนึ่ง
ลักษณะปรากฏและขนาดปรากฏของดาวเคราะห์ทั้ง 5 ดวง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
รูปที่ 2 แสดงลักษณะปรากฏและขนาดปรากฏของดาวเคราะห์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
การสังเกตดาวพุธ
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้การสังเกตการณ์ดาวพุธจะสามารถทำได้ในช่วงเช้ามือก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออก และยังเป็นโอกาสดีสำหรับผู้สังเกตที่ตื่นเช้ามาดูดาวและได้เห็นพุธเนื่องจากช่วงนี้ดาวพธุยังอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรจึงทำให้สามารถมองเห็นดาวพธุได้ง่าย โดยดาวพธุจะปรากฏอยู่ในแสงสนธยาเช้า ในช่วงนั้นดาวพุธจะมีขนาดปรากฏของดาวพุธบนท้องฟ้าประมาณ 5.6 – 5.0 พิลิปดา และมีความสว่างปรากฏของดาวพุธจะมีค่าประมาณ - 0.08 ถึง - 0.34
เวลาขึ้น – ตก ของดาวพุธในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลดเวลาขึ้น – ตก ของดาวพุธในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
การสังเกตดาวศุกร์
การสังเกตดาวศุกร์ในเดือนกุมภาพันธ์ยังเป็นช่วงที่ดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ จึงทำให้ผู้สังเกตสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้ในช่วงหัวค่ำได้ตลอดทั้งเดือน ผู้สังเกตสามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ได้จากขอบฟ้าทางทิศตะวันตกโดยดาวศุกร์จะอยู่สูงจากขอบฟ้าประมาณ 40 องศา ตั้งแต่หลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดาวศุกร์ตกลับขอบฟ้า ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ดาวศุกร์จะปรากฏอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวปลาคู่ และมีขนาดปรากฏเฉลี่ยบนท้องฟ้าประมาณ ภจ พิลิปดา และมีค่าสว่างปรากฏระหว่าง – 4.26 ถึง – 4.34 ซึ่งสว่างเด่นอยู่ทางขอบฟ้าทิศตะวันตก
รูปที่ 3 ภาพถ่ายดาวศุกร์และแสงจักราศี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2560
เวลาขึ้น – ตก ของดาวศุกร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวศุกร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
การสังเกตดาวอังคาร
ในเดือนกุมภาพันธ์นี้เราจะมองเห็นดาวอังคารได้จากทางขอบฟ้าทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำใกล้กับดาวศุกร์ ตำแหน่งปรากฏของดาวอังคารในช่วงมกราคมจะอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวปลาคู่ มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าประมาณ 4.9 พิลิปดา สำหรับความสว่างปรากฏของดาวอังคารในช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีค่าประมาณ 1.35 สำหรับการสังเกตดาวอังคารอาจต้องใช้เวลาในการมองหาดาวอังคารน้อยเล็กเนื่องจากดาวอังคารมีค่าความสว่างปรากฏที่ใกล้เคียงกับดาวฤกษ์หลายดวงที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น
เวลาขึ้น – ตก ของดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
การสังเกตดาวพฤหัสบดี
การสังเกตดาวพฤหัสบดีในเดือนกุมภาพันธ์นี้เราสังเกตจะสามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีปรากฏในช่วงหลัง 5 ทุ่ม โดยผู้สังเกตจะมองเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏอยู่ระหว่างกลุ่มดาหญิงสาว ในช่วงเดือนนี้ดาวพฤหัสบดีจะมีค่าสว่างปรากฏอยู่ที่ประมาณ – 1.73 ถึง – 1.82 และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ดาวพฤหัสบดีมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าประมาณ 40.3 พิลิปดา สำหรับการสังเกตดาวพฤหัสบดีสามารถทำได้ทั้ง ตาเปล่าและใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น กล้องสองตา กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก โดยผู้สังเกตจะสามารถมองเห็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเป็นจุดสว่างเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ ตัวดาวพฤหัสบดี ในบางครั้งผู้สังเกตอาจสามารถมองเห็นจุดดำ ๆ เล็ก ๆ บนตัวดาวพฤหัสบดีซึ่งเกิดจากเงาของดวงจันทร์ที่ทอดลงไปยังพื้นผิวของดาวพฤหัสบดีเอง ซึ่งคล้ายกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่เกิดบนโลก ผู้สังเกตสามารถดูตำแหน่งปรากฏดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีในแต่ละวันได้จากรูปที่ 4
เวลาขึ้น – ตก ของดาวพฤหัสบดีในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 15°00' เหนือ ลองจิจูด 100°00' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวพฤหัสบดีในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
รูปที่ 4 ตำแหน่งปรากฏดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
การสังเกตดาวเสาร์
การสังเกตดาวเสาร์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ตลอดทั้งเดือนนี้ผู้สังเกตสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้ในช่วงเช้ามืด โดยตำแหน่งปรากฏของดาวเสาร์จะอยู่บริเวณกลุ่มดาวแมงป่องใกล้กับบริเวณใจกลางทางช้างเผือกอาจจะยากต่อการสังเกตบ้างสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มดูดาวใหม่ เนื่องจากว่าดาวเสาร์ในช่วงนี้มีความสว่างใกล้เคียงกับดาวฤกษ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงทางช้างเผือก โดยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ดาวเสาร์มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าประมาณ 15.6 พิลิปดา (ไม่รวมวงแหวน) และมีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าเมื่อรวมวงแหวนประมาณ 36.2 พิลิปดา และมีค่าความสว่างปรากฏอยู่ที่ประมาณ 0.74 สำหรับการสังเกตดาวเสาร์สามารถทำได้ทั้ง การสังเกตด้วยตาเปล่าและใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ เช่น กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก โดยผู้สังเกตสามารถมองเห็นดวงจันทร์ของดาวเสาร์เป็นจุดสว่างเล็ก ๆ อยู่รอบ ๆ ดาวเสาร์
เวลาขึ้น – ตก ของดาวเสาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 13°45.0' เหนือ ลองจิจูด 100°31.0' ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวเสาร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก วัตถุท้องฟ้า
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตกดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวยูเรนัสในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ของดาวเนปจูนในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ดวงเคราะห์น้อย 1 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ดวงเคราะห์น้อย 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ดวงเคราะห์น้อย 3 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลด เวลาขึ้น – ตก ดวงเคราะห์น้อย 4 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
กรกมล ศรีบุญเรือง
นักวิชาการ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)