ท้องฟ้าในเดือนเมษายน
ท้องฟ้าในเดือนเมษายน 2557
สำหรับเดือนเมษายนนี้ถือว่าเป็นเดือนที่มีความสำคัญของคนไทยอีกเดือนหนึ่ง หรือที่เราเรียกกันว่าเป็น “เดือนมหาสงกรานต์” ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุก ๆ ปี ตามประเพณีของไทยแต่เดิมถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ และในโอกาสนี้ก็ขออวยพรให้ทุก ๆ ท่าน มีแต่ความสุขกับการดูดาว สำหรับเดือนเมษายนนี้ก็เป็นช่วงที่มีอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวนและมีพายุฤดูร้อนเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยในบางสัปดาห์อาจไม่เหมาะกับการสังเกตการณ์ท้องฟ้าเนื่องจากอาจมีฝนตกหรือมีเมฆเป็นช่วง ๆ จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการสังเกตการณ์ท้องฟ้า แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังมีโอกาสที่จะสามารถสังเกตการณ์ได้
สำหรับประเทศไทยพายุฤดูร้อนมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ไปจนถึงประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ก่อนที่จะเริ่มต้นฤดูฝนจริง ๆ สาเหตุของการเกิดพายุฤดูร้อนเนื่องจากว่าในช่วงดังกล่าวพื้นผิวโลกบริเวณซีกเหนือของเส้นศูนย์สูตรโลกเริ่มได้รับปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงอื่นๆ ของปี ซึ่งทำให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นผิวโลกในบริเวณนั้นมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยกระแสลมที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงนี้มาจากทางด้านอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ และถ้าหากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคุลมประเทศไทย ทำให้กระแสลมซึ่งมีมวลอากาศที่มีคุณสมบัติที่ต่างกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยกับอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีนเกิดการปะทะกัน โดยส่งผลทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรงได้เป็นแห่งๆ สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเกิดพายุฤดูร้อนเล็ก ๆ น้อย ๆ พอสังเขป หากท่านที่สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้
กลุ่มดาวในช่วงเดือนเมษายน
ในเดือนเมษายนนี้ยังเป็นช่วงที่เกิดปัญหาฝุ่นและควันในอากาศที่ครอบคลุมในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาหลายพื้นที่ก็มีปริมาณฝุ่นและควันเกินระดับมาตรฐาน และในช่วงปลายเดือนมีนาคมก็มีพายุฤดูร้อนทำให้เกิดฝนและพายุลูกเห็บตกในบางพื้นที่ช่วยให้ระดับปริมาณฝุ่นและควันในอากาศที่เคยอยู่เกินระดับมาตรฐานลดลง ซึ่งก็เป็นผลดีต่อระบบทางเดินหายใจ และทำให้คุณภาพของท้องฟ้าที่มีกลุ่มฝุ่นและควันลดลง ทำให้เราสามารถสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าได้ดีขึ้น
รูปที่ 1 กลุ่มฝุ่นและควันเมื่อมองจากบ้านดอกแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ไปยังดอยสุเทพจะสามารถสังเกตเห็นดอยเทพสุเทพได้แค่รางๆ
สำหรับกลุ่มดาวที่สามารถมองเห็นได้ในช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันออกประกอบด้วยกลุ่มดาวหญิงสาว กลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวปู กลุ่มดาวผมเบเรนิซ กลุ่มดาวนกกา และกลุ่มดาวถ้วย ในบริเวณกลางท้องฟ้าจะมี กลุ่มดาวปู กลุ่มดาวสิงโตเล็ก กลุ่มดาวสุนัขใหญ่ กลุ่มดาวสุนัขเล็ก กลุ่มดาวคนคู่ และกลุ่มดาวแมวป่า ส่วนทางทิศตะวันตกจะมี กลุ่มดาวนายพราน กลุ่มดาวกระต่ายป่า กลุ่มดาววัว กลุ่มดาวสารถี กลุ่มดาวเพอร์เซอุส และยังสามารถเห็นกลุ่มดาวแม่น้ำได้เป็นบางส่วน ทางทิศเหนือมีกลุ่มดาวหมีใหญ่ กลุ่มดาวหมีเล็ก กลุ่มดาวยีราฟ และทางทิศใต้มีกลุ่มดาวนกฟินิกส์ กลุ่มดาวนกพิราบ กลุ่มดาวใบเรือ กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
รูปที่ 2 ท้องฟ้าในเดือนเมษายน เวลา 20:00 น.
เรื่องเล่ากลุ่มดาว
กลุ่มดาวสิงโตเจ้าป่าแห่งท้องฟ้า
กลุ่มดาวสิงโต เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในแนวเส้นสุริยวิถี ประกอบด้วยดาวฤกษ์สว่าง 9 ดวง และเป็นกลุ่มดาวลำดับที่ห้าของกลุ่มดาวจักรราศี และกลุ่มดาวสิงโตยังเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวดั้งเดิม 48 ชื่อ ที่ถูกบันทึกไว้เมื่อ 2,000 ปีมาแล้ว โดยชาวกรีกโบราณ ซึ่งชาวกรีกในยุคนั้นเชื่อกันว่ากลุ่มดาวนี้เป็นตัวแทนของสิงโตเนเมียน (The Nemean Lion) จากตำนานของชาวกรีกโบราณสิงโตแห่งเนเมียนถูกฆ่าตายโดยเฮอร์คิวลิส ซึ่งเป็นภารกิจแรกที่เฮอร์คิวลิสได้รับมอบหมายจาก 12 ภารกิจ
ในการต่อสู่กันระหว่างเฮอร์คิวลิสกับสิงโตแห่งเนเมียน เนื่องสิงโตมีหนังที่หนาฟันแทงไม่เข้าเฮอร์คิวลิสจึงใช้วิธีรัดคอสิงโตด้วยมือเปล่าให้ขาดใจตาย
รูปที่ 3 เฮอร์คิวบีบคอสิงโตแห่งเนเมียน
รูปจาก Florida Center for Instructional Technology.
http://etc.usf.edu/clipart/19100/19177/heracles_19177.htm
รูปที่ 4 แสดงตำแหน่งดาวในกลุ่มดาวสิงโต
ตารางที่ 1 แสดงชื่อดาวและรายละเอียดของดาวในกลุ่มดาวสิงโตที่สำคัญ
ชื่อดาว |
ค่าความสว่าง ปรากฏ |
ค่าความสว่าง สัมบูรณ์ |
||
ชื่อเฉพาะ |
ชื่ออ่านภาษาไทย |
ชื่อสามัญ |
||
Regulus |
เรกูลัส |
α Leo |
1.36 |
−0.52 |
Algieba |
อัลเกียบา |
γ Leo |
2.01 |
−0.92 |
Denebola |
เดเนโบลา |
β Leo |
2.14 |
1.92 |
Zosma |
ซอสมา |
δ Leo |
2.56 |
1.32 |
Ras Elased |
แรส อีลาเซบ |
ε Leo |
2.97 |
−1.46 |
Chertan |
เคอร์แทน |
θ Leo |
3.33 |
−0.35 |
Adhafera |
แอ็ดฮาเฟรา |
ζ Leo |
3.43 |
−1.08 |
Al Jabhah |
อัลแจบฮาห์ |
η Leo |
3.48 |
−5.60 |
Subra |
ซูบรา |
ο Leo |
3.52 |
0.43 |
Shir |
เชอร์ |
ρ Leo |
3.84 |
−7.38 |
Rasalas |
ราซาแลส |
μ Leo |
3.88 |
0.83 |
Tsze Tseang |
- |
ιLeo |
4.00 |
2.08 |
Shishimai |
ชิชิเมีย |
σ Leo |
4.05 |
−0.04 |
Alterf |
อัลเทอร์ฟ |
λ Leo |
4.32 |
−0.75 |
รูปที่ 5 งานแกะสลักรูปของกลุ่มดาวสิงโต เป็นศิลปะในช่วงศตวรรษที่ 15 ซึ่งในรูปจะแสดงเครื่องหมายดอกจันสีดำที่บอกถึงตำแหน่งของดาวที่ทำขึ้นในกลุ่มดาวนี้ กลุ่มดาวสิงโตเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวสิบสองราศี ภาพประกอบนี้มาจากหนังสือบทกวีดาราศาสตร์ชื่อโปทิคอน แอ็สโทรโนมิคอน (Poeticon Astronomicon) แผนที่ดาว โดยไฮจินัส ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2025 (ค.ศ. 1482) ภาพจาก Royal Astronomical Society/Science Photo Library
ในประเทศอียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์เรียกกลุ่มดาวสิงโตว่าเป็น “บ้านแห่งดวงอาทิตย์” เนื่องจากช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโตเป็นช่วงเวลาที่แม่น้ำไนล์หลาก และในประเทศอินเดียเรียกดาวดวงนี้ว่า “ดาวมาฆะ (Magha)” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ทรงพลัง” หรือ “ผู้เป็นใหญ่” และเมื่อจันทร์เพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ดวงจันทร์จะปรากฏอยู่ใกล้บริเวณดาวมาฆะ ที่เรียกว่า มาฆฤกษ์ ซึ่งวันดังกล่าวเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนานั่นก็คือ “วันมาฆบูชา” และกลุ่มดาวนี้ยังมีชื่อในภาษาล้านนาว่า ดาวงู หรือ ดาวสาวหน้อย และมีชื่อในภาษาไทยกลางว่า ดาวลิง ดาวงูตัวผู้ และดาวงูเลื้อย ประเทศไทยยังได้รับการสืบทอดความรู้ทางด้านดาราศาสตร์มาจากประเทศอินเดียด้วย ในประเทศไทยเรียกกลุ่มดาวสิงโตนี้ว่า “กลุ่มดาวมาฆะ” ซึ่งประกอบดาวฤกษ์ทั้งหมด 5 ดวง
กลุ่มดาวสิงโตราชาแห่งท้องฟ้าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เป็นกลุ่มดาวที่สว่างและง่ายต่อการค้นหา
เมื่อใดก็ตามที่ผู้สังเกตเดินออกไปอยู่นอกอาคารหรือในที่โล่งในคืนที่ท้องฟ้าแจ่มใส ลองมองขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อตรวจสอบว่าพบกับกลุ่มดาวใดบางที่สามารถมองเห็นได้ในช่วงนี้ เราสามารถหากลุ่มดาวสิงโตได้ง่ายมาก ซึ่งหลายท่านที่ชอบดูดาวก็คงจำลักษณะรูปร่างและการเรียงตัวของกลุ่มดาวนี้ได้ และสำหรับท่านที่ยังไม่มีความชำนาญในการดูกลุ่มดาวนี้มากนัก ท่านสามารถหากลุ่มดาวนี้ได้จากกลุ่มดาวกระบวย (กลุ่มดาวหมีใหญ่) โดยใช้ดาว 2 ดวง ที่ปลายของกระบวยซึ่งเป็นคู่เดียวกันกับที่เราใช้หาดาวเหนือแต่ให้ลากเส้นตรงออกมาในทิศตรงกันข้ามกับการหาดาวเหนือ เราก็จะเจอกับหลังของสิงโต กลุ่มดาวสิงโตเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวที่โดดเด่นที่สุด น่าสนใจ และยังเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวไม่กี่กลุ่มที่มีการเรียงตัวคล้ายกับชื่อของกลุ่มดาว เราสามารถสังเกตเห็นกลุ่มดาวสิงโตได้ในช่วงหัวค่ำทางขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในช่วงปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิ โดยกลุ่มดาวสิงโตจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ออกมาจากขอบฟ้า และถ้าหากเราสังเกตกลุ่มดาวสิงโตในช่วงเวลาเดียวกัน เราจะเห็นกลุ่มดาวนี้ปรากฏสูงจากขอบฟ้าขึ้นไปเรื่อย ๆ
เมื่อพูดถึงกลุ่มดาวสิงโตหลายท่านคงคิดถึงดาวฤกษ์ที่สว่างในกลุ่มดาวนี้นั้นก็คือ “ดาวเรกูลัส (Regulus)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวย่อย มีรูปร่างคล้ายกับเคียวเกี่ยวข้าว หรือเครื่องหมายคำถามกลับด้าน ซึ่งกลุ่มดาวย่อยนี้ประกอบด้วยดาวสว่างด้วยกัน 6 ดวง และดาวเรกูลัสเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด อยู่ตรงปลายด้ามของเคียว ชื่อของดาวดวงนี้ถูกเรียกโดยนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ ชื่อ นิโคลัส โคเพอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) และยังเป็นชื่อดาวหนึ่งในไม่กี่ดวงในภาษาละติน คอร์ลีโอนิส (Cor Leonis) มีความหมายว่า “หัวใจสิงห์” มีชื่อเรียกก่อนหน้านี้ว่า “เร็กซ์ (Rex)” เทียบเท่ากับ “แบซิเลออส (Basileos)” ของ ปโตเลมีนักดาราศาสตร์ชาวกรีก ซึ่งหมายถึง “กษัตริย์องค์เล็ก (Little King)” และดาวดวงนี้ยังเป็นที่รู้จักกันดีก่อนหน้านี้ถึง 3500 ปี ในอาณาจักรอัคคาด (อัคคาเดีย) สมัยโบราณดาวดวงนี้เป็นที่รู้จักในฐานะ “Amil-gal-ur” ราชา-แห่ง-ท้องฟ้า (King-of-the-celestial-sphere) ในอาณาจักรบาบิโลเนีย ดาวดวงนี้เป็นดาวแห่งราชา “ซาร์รู (Sharru)” ซึ่งชาวบาบิโลเนียนได้ทำเครื่องหมายเป็นกลุ่มดาวที่อยู่บนเส้นสุริยะวิถีลำดับที่ 15 ในเปอร์เซียโบราณเรียกว่า “ไมยัน (Miyan)” มีความหมายว่า “เป็นศูนย์กลาง” หรือ “ดาวฤกษ์ผู้เป็นศูนย์กลาง” และเป็นผู้นำของดาวราชาทั้งสี่ (The Four Royal Stars) ซึ่งประกอบด้วย ดาวเรกูลัส ดาวอัลดีบาแรน ดาวแอนทาเรส และดาวโฟมาออท ดาวฤกษ์ทั้ง 4 ดวง ดังกล่าวนี้ จะแบ่งเส้นสุริยะวิถีออกเป็น 4 ส่วน โดยดาวทั้ง 4 ดวง จะอยู่ห่างกันประมาณ 90 องศา และยังมีชื่อเรียกในซอกเดียนา (ชาวเปอร์เซีย) ว่าไมตี้ (Mighty) ในหมู่เผ่าพันธุ์ทูราเนียน (Turanian) เรียกว่า “ดาวแมซู (Masu)” ซึ่งเป็นวีรบุรุษของพวกเขา
ดาวเรกูลัส เป็นดาวฤกษ์สีฟ้าขาวอยู่บนเส้นระนาบสุริยวิถี มีค่าความสว่างปรากฏเท่ากับ 1.35 ซึ่งสว่างเป็นลำดับที่ 21 ของท้องฟ้าตอนกลางคืน ดาวเรกูลัสอยู่ห่างจากโลกประมาณ 77 ปีแสง ดาวเรกูลัสเป็นระบบดาวฤกษ์ 4 ดวง ประกอบด้วยดาวคู่ 2 คู่ โดยคู่ของดาวเรกูลัส เอ (Regulus A) เป็นระบบดาวคู่แบบสเปกตรัมไม่สามารถสังเกตเห็นสมาชิกทั้ง 2 ดวง แยกออกจากกันได้ เมื่อสังเกตจะเห็นเป็นดาวสีฟ้าขาว มีประเภทของสเปกตรัมเป็นแบบ B7V ซึ่งคู่ของดาวเรกูลัส เอ คาดว่าน่าจะเป็นดาวแคระขาว และห่างออกไปที่ระยะทางประมาณ 4,200 หน่วยดาราศาสตร์ จะเป็นคู่ของ เรกูลัส บี (Regulus B) และ เรกูลัส ซี (Regulus C) ดาวทั้ง 2 ดวงอยู่ห่างกันประมาณ 100 หน่วยดาราศาสตร์
นักดาราศาสตร์มีความสงสัยในปริศนาความสว่างของดาวเรกูลัสมานานแล้ว ว่าดาวไม่น่าจะมีความสว่างมากถึงขนาดนี้ แม้ว่าดาวเรกูลัสไม่ได้ปล่อยรังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีเอกซ์ออกมามากเท่านี้ควร ซึ่งจากการสร้างแบบจำลองเพื่อใช้คาดการณ์จำนวนมาก แต่ปัญหาของดาวเรกูลัส คือ “การหมุน”
ดาวเรกูลัส ก็เหมือนดาวฤกษ์หลายดวงที่มีสเปกตรัมประเภท B (ร้อน มีมวลมาก และเป็นดาวฤกษ์ยังหนุ่ม) แต่มีอัตราเร็วในการหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาระยะเวลาครึ่งหนึ่งของดาวที่ใช้หลอมไฮโดรเจน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก ในความเป็นจริงแล้วดาวเรกูลัสหมุนเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ต่ำกว่าความเร็วที่ดาวจะเริ่มต้นบินออกจากกัน ซึ่งเมื่อดาวเรกูลัสหมุนด้วยความรวดเร็วจะทำให้ตัวดาวนูนออกในแนวเส้นศูนย์สูตร ผลที่ได้ก็คือดาวที่ไม่เป็นทรงกลม แต่จะเป็นดาวที่มีรูปร่างแบนที่ขั้ว จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดเดาได้ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดการหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้นของดาวเรกูลัส ซึ่งเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์ทราบกันดีว่าดาวสามารถเพิ่มความเร็วในการหมุนได้ถ้าหากดาวดวงนั้นเป็นสมาชิกในระบบดาวคู่แบบใกล้ชิดที่มีการถ่ายเทมวลของดาว ในระบบเหล่านี้ดาวดวงหนึ่งอาจพ่นลมสุริยะออกจำนวนมากพอที่จะห่อหุ่มดาวอีกดวงหนึ่งได้ และในฐานะมวลเพิ่มเติม ในกรณีอื่น ๆ ดาวอาจมีมวลมากเกินขีดจำกัดของแรงโน้มถ่วงที่มี ทำให้เกิดมีมวลรั่วไหลเป็นสายธารก๊าซบาง ๆ ไปสู่ดาวสมาชิกได้ ในกรณีที่ดาวได้รับสายธารก๊าซจากดาวอีกดวงหนึ่งจะทำให้ดาว หมุนเร็วขึ้น
นักดาราศาสตร์ทราบอยู่แล้วว่าดาวเรกูลัสเป็นระบบดาวหลายดวง ดาวหลักของระบบนี้คือ ดาวเรกูลัส เอ และมีคู่ที่อยู่ห่างไกลออกไปเป็นดาวคู่ประกอบด้วยดาวดวงเล็ก ๆ 2 ดวง เป็นดาวสลัวมีค่าความส่องแสงเพียง 1/170 และ 1/44,000 เท่าของดาวเรกูลัส เอ ซึ่งดาวทั้ง 2 ดวง อยู่ไกลมากเกินไปที่จะสามารถถ่ายเทมวลจำนวนมากให้กัน ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงไม่สามารถอธิบายความเร็วของการหมุนที่เพิ่มขึ้นได้
รูปที่ 6 ภาพจำลองดาวฤกษ์ที่มีอัตราการหมุนรอบตัวด้วยความเร็วสูง เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วปกติ
นอกจากนี้ยังมีดาวฤกษ์ที่มีลักษณะคล้ายกันนี้อีก เช่น ดาวเวก้า และ ดาวอาเคอร์นาร์ หมุนรอบตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่มีดาวคู่ที่ใกล้ชิดแต่อย่างใด ตัวอย่างในการอธิบายความลึกลับ เช่น ดาวอาเคอร์นาร์ จะยืดออกมากกว่าดาวเรกูลัส เอ โดยขึ้นอยู่กับความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาว ดาวอาเคอร์นาร์มีความกว้างในแนวเส้นศูนย์สูตรมากกว่าที่ขั้วถึง 56 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ดาวเรกูลัสมีความกว้างในแนวเส้นศูนย์สูตรมากกว่าที่ขั้ว เพียง 32 เปอร์เซ็นต์
แต่การถ่ายเทมวลอาจเป็นคำตอบสำหรับ ดาวเรกูลัส หลังจากที่นำหลักฐานทั้งหมดของดาวเรกูลัส ว่าเคยเป็นดาวคู่แบบใกล้ชิด หลังจากนั้นก็ไม่มีการตรวจพบคู่ของดาวเรกูลัสอีกเลย ซึ่งคู่ของดาวเรกูลัสมีขนาดอย่างน้อย 1/3 มวลของดวงอาทิตย์ และวงโคจรรอบดาวเรกูลัสใช้ระยะเวลาเพียง 40 วัน ระยะทางระหว่างดาวทั้ง 2 ดวง มีระยะทางประมาณดาวพุธถึงดวงอาทิตย์
ชื่อดาวส่วนใหญ่จะได้มาจากภาษาอาหรับ ซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าทางด้านดาราศาสตร์ของดินแดนตะวันตก โดยเพิ่มจากการทำงานของนักดาราศาสตร์อิสลามที่มีความปราชญ์เปรื่องในช่วงยุคกลาง ตัวอย่างเช่น ดาวเดเนโบล่า (Denebola) เป็นดาวที่มีความสว่างเป็นลำดับที่ 2 ในกลุ่มดาวสิงโต ชื่อของดาวเดเนโบล่าจริงแล้วเกิดจากความเสียหายของ อัล แดแน็บ อัล อะซาด (Al Dhanab al Asad) ซึ่งเป็นประโยคในภาษาอาหรับมีความหมายว่า “หางของสิงโต (Tail of the Lion)” มีความสว่างประมาณ 2.14 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 36 ปีแสง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งหางสิงโตพอดี โดยดาวเดเนโบล่า เป็นดาวคู่เช่นกันแต่ไม่สามารถเห็นดาวคู่ได้ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็ก
ถ้าหากผู้สังเกตมีกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำละงขยาย 100 เท่า ขึ้นไปให้ลองสังเกตดูที่แกมมา ลีโอนิส (γ Leonis) และยังเรียกชื่อดาวว่า ดาวอัลเกียบา (Algieba) หรือ อัล เกียบา (Al Gieba) เป็นชื่อที่มาจากภาษาอาหรับ “อัล แจ็บฮาห์ (Al-Jabhah)” มีความหมายว่า “หน้าผาก (The Forehead)” ถึงแม้ว่าดาวจะมีความหมายดังกล่าว แต่ที่จริงแล้วตำแหน่งของดาวดวงนี้ ปรากฏอยู่ที่แผงคอของสิงโต หรือ อยู่ตรงหัวไหล่ของสิงโต (Leo’s shoulder) และยังมีชื่อของดาวในภาษาละตินอีกด้วย เรียกว่า จูดา (Juba) เป็นดาวสว่างลำดับที่ 3 ในกลุ่มดาวสิงโต
ดาวอัลเกียบา เป็นระบบดาวคู่แบบใกล้ชิด ประกอบด้วยดาว 2 ดวง คือดาว ดาวอัลเกียบา เอ (Algieba A) ที่มีค่าความสว่างปรากฏ 2.28 มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 4,470 เคลวิน สว่างกว่าดวงอาทิตย์ของเราถึง 180 เท่า และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา 23 เท่า และดาวอัลเกียบา บี (Algieba B) ที่มีค่าความสว่างปรากฏ 3.51 มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 4,980 เคลวิน สว่างกว่าดวงอาทิตย์ของเราถึง 50 เท่า และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา 10 เท่า ดาวทั้ง 2 ดวง อยู่ห่างกันประมาณ 170 หน่วยดาราศาสตร์ หรือมีระยะทางเป็น 4 เท่า ของระยะห่างระหว่างดาวพลูโตกับดวงอาทิตย์ มีคาบการโคจรซึ่งกันและกันมากกว่า 500 ปี และภายในระบบดาวฤกษ์นี้ยังมีการค้นพบดาวเคราะห์อีก 2 ดวง
รูปที่ 7
เมื่อผู้สังเกตใช้กล้องโทรทรรศน์เล็งไปที่ดาวอัลเกียบาจะเห็นดาวฤกษ์สีทอง 2 ดวง อยู่ใกล้ชิดกันมาก ซึ่งมีระยะเชิงมุมประมาณ 4 อาร์คเซคคอน (ฟิลิปดา) ดาวคู่นี้ยังเป็นที่นิยมอีกคู่หนึ่งที่นักดูดาวนิยมดูกันมากที่สุดในท้องฟ้า
กลุ่มดาวสิงโตยังมีประโยชน์อย่างมากที่ใช้สำหรับการค้นหาดาวที่อยู่ใกล้เคียงและกลุ่มดาว เมื่อลากเส้นผ่านระหว่างดาวเดเนโบล่าไปยังดาวเรกูลัสและลากไปต่อผู้สังเกตจะเจอดาวโพรไซออน ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวที่มีสุกใสบนท้องฟ้าในช่วงฤดูหนาว และถ้าหากลากเส้นตรงย้อนกลับไปผู้สังเกตจะเจออาร์คทูรัส เป็นดาวสว่างของช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงต้นฤดูร้อน เส้นตรงที่ลากจากดาวซอสมา (ดาวที่อยู่ตรงตะโพกของสิงโต) ลงผ่านดาวดาวเดเนโบล่า จะชี้ไปยังดาวสไปก้า ดาวสว่างในกลุ่มดาวหญิงสาว และเส้นตรงที่ลากจากดาวอัลเกียบาลงผ่านดาวเรกูลัส ผู้สังเกตจะพบกับดาวอัลแพร์ด (Alphard) ดาวที่สว่างที่สุดของกลุ่มดาวไฮดร้า
กาแล็กซีแฝดสามในกลุ่มดาวสิงโต (The Leo Triplet Galaxies)
ลีโอ ทริเพลต (Leo Triplet) เป็นกลุ่มของกาแล็กซีที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากนักดูดาว เป็นกลุ่มกาแล็กซีที่สวยงาม ที่สามารถมองผ่านกล้องโทรทรรศน์และมองเห็นกาแล็กซีทั้ง 3 ได้ ในมุมมองเดียวกัน จากรูปที่ 8 กาแล็กซีเหล่านี้จะสามารถจำแนกได้ดังนี้ ทางซ้ายมือคือ กาแล็กซี NGC 3628 กาแล็กซีที่อยู่ทางด้านล่างขวาคือ M66 และกาแล็กซีที่อยู่ทางด้านบนขวา คือ M65 ทั้ง 3 เป็นกาแล็กซีก้นหอยขนาดใหญ่ และระนาบของกาแล็กซีทั้ง 3 ยังเอียงที่มุมที่แตกต่างกันไป ในแนวสายตาของผู้สังเกตอีกด้วย โดย กาแล็กซี NGC 3628 ผู้สังเกตจะเห็นส่วนขอบของกาแล็กซี จะเห็นได้ว่ามีช่องฝุ่นบังตัดผ่านในระนาบของกาแล็กซี ในขณะที่แผ่นจานของ M66 และ M65 ทั้งสองเอียงทำมุมพอดี แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างก้นหอยของกาแล็กซี ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างกาแล็กซี ในกลุ่มซึ่งไม่มีร่องรอย กาแล็กซีแฝดสามในกลุ่มดาวสิงโตควบคุมพื้นที่บนท้องฟ้าประมาณ 1 องศา (ใหญ่กว่าดวงจันทร์เต็มดวง 2 เท่า) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 500,000 ปีแสง ทั้ง 3 กาแล็กซี อยู่ห่างจากโลกไประยะทางประมาณ 30 ล้านปีแสง
รูปที่ 8 กาแล็กซีแฝดสามในกลุ่มดาวสิงโต
รูปที่ 9 แสดงตำแหน่ง M95, M96, M105 กาแล็กซี M95 และ M96 เป็นกาแล็กซีแบบกังหัน (Spiral Galaxy) ส่วน M105 เป็นกาแล็กซีแบบทรงกลม (Elliptical Galaxy) ผู้สังเกตการณ์สามารถใช้กล้องสองตาสังเกตได้ ซึ่งอยู่ห่างจากดาวหัวใจสิงห์ไปทางตะวันออกประมาณ 9 องศา อยู่ห่างจากโลกประมาณ 30 ล้านปีแสง จากกาแลกซีทางช้างเผือกมีความสว่างประมาณ 9.7, 9.2 และ 9.3 ตามลำดับ
ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในเมษายน
วันที่ เดือน |
เวลา (น.) |
เหตุการณ์ |
4เมษายน |
19:20 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอัลดีบาแรน 2.66 องศา |
7เมษายน |
15:32 |
- จันทร์กึ่งแรก |
|
19:20 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี 6.97 องศา |
8เมษายน |
21:53 |
- ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกสุดในรอบเดือน (ระยะทาง 404,522 กิโลเมตร) |
9เมษายน |
03:57 |
- ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ |
10เมษายน |
20:25 |
-ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเรกูลัส 6.55 องศา |
14เมษายน |
20:24 |
- ดวงจันทร์บังดาวอคูเบน |
|
20:34 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร 3.33 องศา |
|
20:34 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวสไปกา 7.58 องศา |
15เมษายน |
14:44 |
- จันทร์เพ็ญ |
|
14:44 |
- ปรากฏการณ์จันทุรปราคาเต็มดวง |
|
19:10 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวสไปกา 4.77 องศา |
17เมษายน |
20:40 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวเสาร์ 4.37 องศา |
22เมษายน |
14:53 |
- จันทร์กึ่งหลัง |
23เมษายน |
07:24 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบเดือน (ระยะทาง 369767 กิโลเมตร) |
|
|
- ฝนดาวตกไลริด อัตราการตก 10 ดวงต่อชั่วโมง |
26เมษายน |
10:15 |
- ดาวพุธอยู่ที่ตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอก |
|
03:56 |
- ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ 3.42 องศา |
29เมษายน |
13:15 |
- จันทร์ดับ |
|
13:16 |
-ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวน |
ในเดือนเมษายนจะเกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เคียงเดือนด้วยกันหลายครั้ง โดยเริ่มจากต้นเดือนวันที่ 4 เมษายน 2557 ในช่วงหัวค่ำหลังจากดวงอาทิตย์ลับจากขอบฟ้าไปแล้ว ผู้สังเกตจะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์ขึ้น 4 ค่ำ อยู่ห่างจากดาวอัลดีบาแรนไปประมาณ 2.66 องศา จากทางทิศตะวันตกโดยวัตถุทั้งสองจะอยู่สูงจากขอบฟ้าทิศประมาณ 42 อาศา ผู้สังเกตจะสามารถเริ่มสังเกตเห็นปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนได้ตั้งแต่เวลา 19:00 น. ไปจนถึงเวลา 22:10 น.
รูปที่ 10 ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เคียงเดือนในช่วงวันที่ 4 – 10 เมษายน
รูปที่ 11 ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เคียงเดือนในช่วงวันที่ 14 – 18 เมษายน
รูปที่ 12 ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เคียงเดือนวันที่ 26 เมษายน
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
อุปราคาแรกของปีนี้เป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 เมษายน 2557 เป็นโอกาสดีสำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกตะวันตกที่จะสามารถสังเกตเห็นได้ตลอดทั้งปรากฏการณ์ โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งนี้เกิดขึ้นในกลุ่มดาวหญิงสาวขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านจุดโหนดขึ้น และในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์มีเส้นผ่าศูนย์กลางปรากฏอยู่ใกล้กับค่าเฉลี่ยกึ่งกลางระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกสุดที่ระยะทาง 404,522 กิโลเมตร ในวันที่ 8 เมษายนเวลา 21:53 น. และดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกสุดที่ระยะทาง 369,767 กิโลเมตร ในวันที่ 23 เมษายนเวลา 07:28 น.
เส้นทางการโคจรของดวงจันทร์ที่ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกครั้งนี้ดวงจันทร์จะโคจรผ่านเงามืดของโลกครึ่งด้านใต้ แม้ว่าอุปราคาครั้งนี้ดวงจันทร์ไม่ได้ผ่านศูนย์กลางเงามืดของโลก แต่ดวงจันทร์ก็ใช้ระยะเวลาทั้งหมดนานถึง 51 นาที อยู่ในเงามืดของโลก
เส้นทางของดวงจันทร์ที่ผ่านเงาของโลก และแผนที่แสดงตำแหน่งของผู้สังเกตการณ์ ณ ตำแหน่งต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นทั่วโลกของเหตุการณ์ที่แสดงในรูปที่ 13
รูปที่ 13 ภาพจำลองลำดับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ในวันที่ 15 เมษายน 2557
รูปที่ 14 แผนภาพแสดงตำแหน่งต่างๆ บนโลกที่ผู้สังเกตการณ์สามารถเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคา
ในวันที่ 15 เมษายน 2557
ลำดับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
ช่วงเหตุการณ์ |
เวลาที่ประเทศไทย (น.) |
เวลาสากล (UT) |
เริ่มต้นจันทรุปราคาเงามัว (P1) |
11:53:37 |
04:53:37 |
เริ่มต้นจันทรุปราคาบางส่วน (U1) |
12:58:19 |
05:58:19 |
เริ่มต้นจันทรุปราคาเต็มดวง (U2) |
14:06:47 |
07:06:47 |
กึ่งกลางคราส |
14:45:40 |
07:45:40 |
สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (U3) |
15:24:35 |
0824:35 |
สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (U4) |
16:33:04 |
09:33:04 |
สิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัว (P4) |
17:37:37 |
09:37:37 |
ทันทีเมื่อดวงจันทร์เคล่อนที่เข้าไปอยู่ที่กึ่งกลางคราส (14:45:40 น.) ซึ่งดวงจันทร์จะอยู่ที่ตำแหน่งจุดเหนือศีรษะพอดีอยู่ในแปซิฟิกใต้อยู่หางไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะกาลาปากอสประมาณ 3000 กิโลเมตร โดย ณ ตำแหน่งกล่าวกล่าวจะสามารถสังเกตเห็นอุปราคาเงามืดที่มีค่าความสว่างประมาณ 1.29 ขอบด้านเหนือของดวงจันทร์ที่ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกอยู่ห่างจากศูนย์กลางของเงาทางใต้ประมาณ 1.7 อาร์คนาที และในทางตรงกันขอบด้านใต้ของดวงจันทร์ห่างจากด้านใต้ของเงาโลกประมาณ 9.0 อาร์คนาที และอยู่ห่างจากศูนย์กลางของเงาประมาณ 40.0 อาร์คนาที ดังนั้นผู้สังเกตจะสามารถสังเกตเห็นครึ่งด้านเหนือของดวงจันทร์จะปรากฏสีเข้มกว่าครึ่งด้านใต้ของดวงจันทร์เพราะดวงจันทร์อยู่ลึกเข้าไปในเงามืด แต่ทั้งนี้ความเข้มของเงาโลกที่ทอดลงไปยังดวงจันทร์ในส่วนที่เป็นเงามืดมันจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญกับเวลา ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะขาดเดาของการกระจายความสว่างที่แน่นอนในขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก
ผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาเหนือใต้สามารถมองเห็นได้ตลอดทั้งเหตุการณ์ สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกไม่สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ในช่วงครึ่งแรกของอุปราคาได้เนื่องจากอุปราคาเกิดขึ้นก่อนที่ดวงจันทร์โผล่พ้นจากขอบฟ้า ในทำนองเดียวกันในทวีปยุโรปและแอฟริกาก็ไม่สามารถสังเกตการณ์ในช่วงครึ่งหลังได้เนื่องจากดวงจันทร์ได้ตกลับขอบฟ้าไปแล้ว และสำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ในยุโรปเหนือ ยุโรปตะวันออก แอฟริกาตะวันออก ตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง ไม่สามารถทำการสังเกตเห็นปรากฏการณ์อุปราคาครั้งนี้ได้
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 15 เมษายน 2557 เป็นอุปราคาครั้งที่ 56 ของชุดซารอสที่ 122 ซึ่งเริ่มเกิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1022 โดยอุปราคาชุดซารอสนี้ประกอบด้วยอุปราคา 74 ครั้ง ประกอยด้วยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว 22 ครั้ง บางส่วน 8 ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง และเงามัว 9 ครั้ง ตามลำดับ อุปราคาสุดท้ายของชุดซารอสที่ 122 จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2338
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวน
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งแรกของปี พ.ศ. 2557 จะเกิดขึ้นในวันที่ 29 เมษายน ซึ่งจะเกิดที่โหนดลงของดวงจันทร์ในทางทิศใต้ของกลุ่มดาวแกะ ซึ่งปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนเป็นอุปราคาที่ค่อนข้างแปลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งแกนกลางเงา (Antumbral shadow) ของดวงจันทร์พลาดจากพื้นโลกอย่างสิ้นเชิง ในขณะที่ขอบเงา Grazes ทอดลงมาถึงยังพื้นโลก ซึ่งปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนในครั้งนี้จัดเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนที่มีรัศมีวงกลมของวงแหวนไม่อยู่ตรงกลางเหตุการณ์เช่นนี้หาชมได้ยาก ซึ่งในช่วงระยะเวลา 5,000 ปี ในช่วงระหว่าง พ.ศ. – 1457 – 2457 หรือ ในช่วงระหว่าง ค.ศ. – 2000 ถึง 3000 จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวน 3,956 ครั้ง แต่มีเพียงแค่ 68 ครั้ง (คิดเป็นร้อยละ 1.7) ที่เป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนที่มีรัศมีวงกลมแหวนไม่อยู่ตรงกลาง
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนครั้งนี้จะเริ่มในเวลา 12:57:35 น. โดยขอบด้านเหนือของเงา Antumbral จะเริ่มสัมผัสลงบนพื้นโลกครั้งแรกในทวีปแอนตาร์กติกา สำหรับผู้สังเกตการณ์ที่อยู่ใกล้แกนของเงาที่สุดคือที่พิกัดทางภูมิศาสตร์ (ละติจูด 131° 15.6' ตะวันออก ลองจิจูด 79° 38.7' ใต้) ดวงอาทิตย์จะปรากฏบนเส้นขอบฟ้าในช่วงการเป็นรูปวงแหวนแค่ 49 วินาที หลังจากนั้นอีก 6 นาทีต่อมา หลังจากนั้นเงา antumbral จะยกตัวสูงขึ้นจากพื้นผิวของโลกขณะที่สิ้นสุดปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวน พื้นที่ทั้งหมดของ annularity ปรากฏเป็นพื้นที่รูปอักษรตัว D ขนาดเล็ก ในทางตะวันออกของทวีปแอนตาร์กติกา (รูปที่ 14) และเส้นทางของสุริยุปราคาบางส่วนจะสามารถมองเห็นได้เป็นบริเวณกว้างภายใต้เงามัวของดวงจันทร์ ซึ่งรวมถึงผู้สังเกตการณ์ในมหาสมุทรอินเดียใต้ ทางใต้ของประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลีย ทั้งหมด (รูปที่ 2)
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557 นี้เป็นอุปราคาครั้งที่ 21 ของชุดซารอสที่ 148 โดยเริ่มต้นด้วยครอบครัวที่เป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วน 20 ครั้ง เริ่มเกิดครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2196 (ค.ศ. 1653) และปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวนชุดซารอสที่ 148 เกิดขึ้นเพียงแค่ 2 ครั้ง ซึ่งอีกครั้งจะเกิดในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2575 (ค.ศ. 2032) และตามมาด้วยปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบผสมอีก 1 ครั้ง จะเกิดขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2050 ตามด้วยปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงอีก 40 ครั้ง โดยปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงจะเริ่มเกิดครั้งแรกวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2068 หลังจากนั้นจะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนอีก 12 ครั้ง ก่อนที่อุปราคาชุดซารอสที่ 148 จะสิ้นลงในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 3530 (ค.ศ. 2987)
รูปที่ 15 เส้นทางเงาดวงจันทร์ที่ทอดผ่านพื้นผิวบนโลกในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบวงแหวน
ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557
ดาวเคราะห์ในเดือนเมษายน 2557
สำหรับในช่วงเดือนเมษายนนี้เราสามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์ ได้ทั้งหมด 5 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ซึ่งทั้ง 5 ดวง เราสารมารถทำการสังเกตได้ตลอดเดือนเมษายนนี้
รูปที่ 16 แสดงลักษณะปรากฏของดาวเคราะห์ในช่วงเดือนเมษายน
การสังเกตดาวพุธ
ในช่วงต้นเดือนเมษายนผู้สังเกตการณ์สามารถทำการสังเกตการณ์ดาวพุธได้จากทางทิศตะวันออกในช่วงวันที่ 1 – 15 และในช่วงหลังจากวันที่ 15 ไปเราจะไม่สามารถสังเกตเห็นดาวพุธได้เนื่องจากดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก โดยเราจะสามารถสังการณ์ดาวพุธได้อีกครั้งในเดือนถัดไป สำหรับตำแหน่งบนท้องฟ้าของดาวพุธเมื่อเทียบกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในช่วงเดือนเมษายนดาวพุธจะปรากฏอยู่บริเวณระหว่างกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำกับกลุ่มดาวปลาคู่ สำหรับค่าความสว่างปรากฏของดาวพุธช่วงเดือนเมษายนนี้อยู่ที่ประมาณ 1.90
ดาวเคราะห์ในเดือนเมษายน 2557
เวลาขึ้น – ตก ของดาวพุธในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 1345.0 เหนือ ลองจิจูด 10031.0 ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
|
ดาวพุธขึ้น |
ผ่านเส้นเมริเดียน |
ดาวพุธตก |
||||
วันที่ เดือน |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
|
1เมษายน |
05:15 |
97° |
11:11 |
69°S |
17:07 |
264° |
|
2เมษายน |
05:17 |
96° |
11:13 |
69°S |
17:10 |
264° |
|
3เมษายน |
05:18 |
95° |
11:15 |
70°S |
17:12 |
265° |
|
4เมษายน |
05:19 |
95° |
11:17 |
70°S |
17:15 |
266° |
|
5เมษายน |
05:20 |
94° |
11:19 |
71°S |
17:18 |
266° |
|
6เมษายน |
05:22 |
93° |
11:21 |
72°S |
17:21 |
267° |
|
7เมษายน |
05:23 |
93° |
11:23 |
73°S |
17:24 |
268° |
|
8เมษายน |
05:25 |
92° |
11:26 |
73°S |
17:27 |
268° |
|
9เมษายน |
05:26 |
91° |
11:28 |
74°S |
17:30 |
269° |
|
10เมษายน |
05:28 |
90° |
11:30 |
75°S |
17:33 |
270° |
|
11เมษายน |
05:30 |
90° |
11:33 |
75°S |
17:37 |
271° |
|
12เมษายน |
05:31 |
89° |
11:36 |
76°S |
17:40 |
272° |
|
13เมษายน |
05:33 |
88° |
11:38 |
77°S |
17:44 |
272° |
|
14เมษายน |
05:35 |
87° |
11:41 |
78°S |
17:47 |
273° |
|
15เมษายน |
05:37 |
86° |
11:44 |
79°S |
17:51 |
274° |
|
16เมษายน |
05:39 |
85° |
11:47 |
79°S |
17:55 |
275° |
|
17เมษายน |
05:41 |
85° |
11:50 |
80°S |
17:59 |
276° |
|
18เมษายน |
05:44 |
84° |
11:53 |
81°S |
18:03 |
277° |
|
19เมษายน |
05:46 |
83° |
11:56 |
82°S |
18:08 |
278° |
|
20เมษายน |
05:48 |
82° |
12:00 |
83°S |
18:12 |
279° |
|
21เมษายน |
05:51 |
81° |
12:03 |
84°S |
18:16 |
279° |
|
22เมษายน |
05:54 |
80° |
12:07 |
85°S |
18:21 |
280° |
|
23เมษายน |
05:56 |
79° |
12:11 |
86°S |
18:26 |
281° |
|
24เมษายน |
05:59 |
78° |
12:15 |
86°S |
18:31 |
282° |
|
25เมษายน |
06:02 |
77° |
12:19 |
87°S |
18:36 |
283° |
|
26เมษายน |
06:05 |
76° |
12:23 |
88°S |
18:41 |
284° |
|
27เมษายน |
06:08 |
76° |
12:27 |
89°S |
18:46 |
285° |
|
28เมษายน |
06:11 |
75° |
12:31 |
90°S |
18:51 |
286° |
|
29เมษายน |
06:15 |
74° |
12:35 |
89°N |
18:57 |
287° |
|
30เมษายน |
06:18 |
73° |
12:40 |
88°N |
19:02 |
288° |
การสังเกตดาวศุกร์
สำหรับการสังเกตการณ์ดาวศุกร์ในเดือนเมษายนเราจะสามารถสังเกตเห็นดาวศุกร์ในช่วงเช้ามืดได้ตลอดทั้งเดือน ซึ่งดาวศุกร์จะเริ่มขึ้นจากขอบฟ้าทิศตะวันออก โดยสามารถสังเกตดูเวลาที่ดาวศุกร์ขึ้นจากขอบฟ้าได้ตามตารางด้านล่าง สำหรับตำแหน่งบนท้องฟ้าของดาวศุกร์เมื่อเทียบกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในช่วงเดือนเมษายนดาวศุกร์จะปรากฏอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวมกร และช่วงเวลาดังกล่าวดาวศุกร์จะมีค่าความสว่างปรากฏอยู่ที่ระหว่าง – 3.24 ถึง – 3.12
เวลาขึ้น – ตก ของดาวศุกร์ในเดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 1345.0 เหนือ ลองจิจูด 10031.0 ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
|
ดาวศุกร์ขึ้น |
ผ่านเส้นเมริเดียน |
ดาวศุกร์ตก |
||||
วันที่ เดือน |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
|
1เมษายน |
03:45 |
103° |
09:34 |
63°S |
15:23 |
258° |
|
2เมษายน |
03:45 |
102° |
09:34 |
63°S |
15:24 |
258° |
|
3เมษายน |
03:45 |
102° |
09:35 |
63°S |
15:24 |
258° |
|
4เมษายน |
03:45 |
102° |
09:35 |
64°S |
15:25 |
258° |
|
5เมษายน |
03:45 |
102° |
09:35 |
64°S |
15:26 |
259° |
|
6เมษายน |
03:45 |
101° |
09:35 |
64°S |
15:26 |
259° |
|
7เมษายน |
03:45 |
101° |
09:36 |
64°S |
15:27 |
259° |
|
8เมษายน |
03:45 |
101° |
09:36 |
65°S |
15:27 |
260° |
|
9เมษายน |
03:45 |
100° |
09:36 |
65°S |
15:28 |
260° |
|
10เมษายน |
03:45 |
100° |
09:36 |
65°S |
15:28 |
260° |
|
11เมษายน |
03:44 |
100° |
09:37 |
66°S |
15:29 |
261° |
|
12เมษายน |
03:44 |
99° |
09:37 |
66°S |
15:30 |
261° |
|
13เมษายน |
03:44 |
99° |
09:37 |
66°S |
15:30 |
261° |
|
14เมษายน |
03:44 |
99° |
09:37 |
67°S |
15:31 |
262° |
|
15เมษายน |
03:44 |
98° |
09:38 |
67°S |
15:31 |
262° |
|
16เมษายน |
03:44 |
98° |
09:38 |
67°S |
15:32 |
262° |
|
17เมษายน |
03:44 |
98° |
09:38 |
68°S |
15:33 |
263° |
|
18เมษายน |
03:44 |
97° |
09:38 |
68°S |
15:33 |
263° |
|
19เมษายน |
03:44 |
97° |
09:39 |
68°S |
15:34 |
263° |
|
20เมษายน |
03:43 |
96° |
09:39 |
69°S |
15:35 |
264° |
|
21เมษายน |
03:43 |
96° |
09:39 |
69°S |
15:35 |
264° |
|
22เมษายน |
03:43 |
96° |
09:40 |
69°S |
15:36 |
264° |
|
23เมษายน |
03:43 |
95° |
09:40 |
70°S |
15:37 |
265° |
|
24เมษายน |
03:43 |
95° |
09:40 |
70°S |
15:37 |
265° |
|
25เมษายน |
03:43 |
95° |
09:40 |
71°S |
15:38 |
266° |
|
26เมษายน |
03:43 |
94° |
09:41 |
71°S |
15:39 |
266° |
|
27เมษายน |
03:43 |
94° |
09:41 |
71°S |
15:40 |
266° |
|
28เมษายน |
03:42 |
93° |
09:41 |
72°S |
15:40 |
267° |
|
29เมษายน |
03:42 |
93° |
09:42 |
72°S |
15:41 |
267° |
|
30เมษายน |
03:42 |
92° |
09:42 |
73°S |
15:42 |
268° |
การสังเกตดาวอังคาร
ในช่วงต้นเดือนเมษายนผู้สังเกตจะสามารถมองเห็นดาวอังคารได้ตั้งแต่ในเวลาหัวค่ำ โดยดาวอังคารจะปรากฏให้เห็นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกพร้อม ๆ กับดาวสไปกาซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหญิงสาว และเมื่อเวลาผ่านไปดาวอังคารจะค่อย ๆ เคลื่อนที่ห่างออกไปจากดาวสไปกา สำหรับตำแหน่งบนท้องฟ้าของดาวอังคารเมื่อเทียบกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในช่วงเดือนเมษายนดาวอังคารจะปรากฏอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวหญิงสาว และมีค่าความสว่างปรากฏอยู่ระหว่าง -1.13 ถึง - 1.21
เวลาขึ้น – ตก ของดาวอังคารในเดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 1345.0 เหนือ ลองจิจูด 10031.0 ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
|
ดาวอังคารขึ้น |
ผ่านเส้นเมริเดียน |
ดาวอังคารตก |
||||
วันที่ เดือน |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
|
1เมษายน |
19:13 |
96° |
01:13 |
69°S |
07:08 |
264° |
|
2เมษายน |
19:08 |
96° |
01:08 |
69°S |
07:02 |
264° |
|
3เมษายน |
19:02 |
96° |
01:02 |
69°S |
06:57 |
264° |
|
4เมษายน |
18:57 |
96° |
00:57 |
69°S |
06:52 |
264° |
|
5เมษายน |
18:51 |
96° |
00:52 |
69°S |
06:47 |
264° |
|
6เมษายน |
18:46 |
95° |
00:46 |
70°S |
06:42 |
264° |
|
7เมษายน |
18:40 |
95° |
00:41 |
70°S |
06:36 |
265° |
|
8เมษายน |
18:35 |
95° |
00:36 |
70°S |
06:31 |
265° |
|
9เมษายน |
18:29 |
95° |
00:30 |
70°S |
06:26 |
265° |
|
10เมษายน |
18:24 |
95° |
00:25 |
70°S |
06:21 |
265° |
|
11เมษายน |
18:18 |
95° |
00:20 |
70°S |
06:15 |
265° |
|
12เมษายน |
18:13 |
95° |
00:14 |
70°S |
06:10 |
265° |
|
13เมษายน |
18:07 |
95° |
00:09 |
70°S |
06:05 |
265° |
|
14เมษายน |
18:02 |
95° |
00:03 |
70°S |
05:59 |
265° |
|
|
- |
- |
23:58 |
71°S |
- |
- |
|
15เมษายน |
17:56 |
94° |
23:53 |
71°S |
05:54 |
266° |
|
16เมษายน |
17:51 |
94° |
23:47 |
71°S |
05:49 |
266° |
|
17เมษายน |
17:45 |
94° |
23:42 |
71°S |
05:44 |
266° |
|
18เมษายน |
17:40 |
94° |
23:37 |
71°S |
05:38 |
266° |
|
19เมษายน |
17:34 |
94° |
23:31 |
71°S |
05:33 |
266° |
|
20เมษายน |
17:29 |
94° |
23:26 |
71°S |
05:28 |
266° |
|
21เมษายน |
17:24 |
94° |
23:21 |
71°S |
05:23 |
266° |
|
22เมษายน |
17:18 |
94° |
23:15 |
71°S |
05:18 |
266° |
|
23เมษายน |
17:13 |
94° |
23:10 |
71°S |
05:13 |
266° |
|
24เมษายน |
17:08 |
93° |
23:05 |
72°S |
05:07 |
266° |
|
25เมษายน |
17:03 |
93° |
23:00 |
72°S |
05:02 |
266° |
|
26เมษายน |
16:57 |
93° |
22:55 |
72°S |
04:57 |
267° |
|
27เมษายน |
16:52 |
93° |
22:50 |
72°S |
04:52 |
267° |
|
28เมษายน |
16:47 |
93° |
22:45 |
72°S |
04:47 |
267° |
|
29เมษายน |
16:42 |
93° |
22:40 |
72°S |
04:42 |
267° |
|
30เมษายน |
16:37 |
93° |
22:35 |
72°S |
04:38 |
267° |
การสังเกตดาวพฤหัสบดี
สำหรับการสังเกตดาวพฤหัสบดีราชาแห่งดาวเคราะห์ในเดือนเมษายนนี้ผู้สังเกตจะสามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีปรากฏอยู่บริเวณกลางท้องฟ้า ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ตั้งแต่เวลาหัวค่ำ สำหรับตำแหน่งบนท้องฟ้าของดาวพฤหัสบดีเมื่อเทียบกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในช่วงเดือนเมษายนดาวพฤหัสบดีจะปรากฏอยู่ในบริเวณกลุ่มดาวคนคู่ สำหรับค่าความสว่างปรากฏของดาวพฤหัสบดีช่วงเดือนเมษายนนี้อยู่ที่ระหว่าง – 1.79 ถึง – 1.69
เวลาขึ้น – ตก ของดาวพฤหัสบดีในเดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 1345.0 เหนือ ลองจิจูด 10031.0 ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
|
ดาวพฤหัสบดีขึ้น |
ผ่านเส้นเมริเดียน |
ดาวพฤหัสบดีตก |
||||
วันที่ เดือน |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
|
1เมษายน |
12:07 |
66° |
18:35 |
82°N |
01:07 |
294° |
|
2เมษายน |
12:04 |
66° |
18:32 |
82°N |
01:03 |
294° |
|
3เมษายน |
12:00 |
66° |
18:28 |
82°N |
01:00 |
294° |
|
4เมษายน |
11:56 |
66° |
18:24 |
82°N |
00:56 |
294° |
|
5เมษายน |
11:53 |
66° |
18:21 |
82°N |
00:52 |
294° |
|
6เมษายน |
11:49 |
66° |
18:17 |
82°N |
00:49 |
294° |
|
7เมษายน |
11:46 |
66° |
18:14 |
82°N |
00:45 |
294° |
|
8เมษายน |
11:42 |
66° |
18:10 |
82°N |
00:42 |
294° |
|
9เมษายน |
11:39 |
66° |
18:07 |
82°N |
00:38 |
294° |
|
10เมษายน |
11:35 |
66° |
18:03 |
82°N |
00:35 |
294° |
|
11เมษายน |
11:32 |
66° |
18:00 |
82°N |
00:31 |
294° |
|
12เมษายน |
11:28 |
66° |
17:56 |
82°N |
00:28 |
294° |
|
13เมษายน |
11:25 |
66° |
17:53 |
82°N |
00:24 |
294° |
|
14เมษายน |
11:22 |
66° |
17:49 |
82°N |
00:21 |
294° |
|
15เมษายน |
11:18 |
66° |
17:46 |
82°N |
00:17 |
294° |
|
16เมษายน |
11:15 |
66° |
17:43 |
82°N |
00:14 |
294° |
|
17เมษายน |
11:11 |
66° |
17:39 |
82°N |
00:11 |
294° |
|
18เมษายน |
11:08 |
66° |
17:36 |
82°N |
00:07 |
294° |
|
19เมษายน |
11:05 |
66° |
17:32 |
82°N |
00:04 |
294° |
|
20เมษายน |
11:01 |
66° |
17:29 |
82°N |
00:00 |
294° |
|
|
- |
- |
- |
- |
23:57 |
294° |
|
21เมษายน |
10:58 |
66° |
17:26 |
82°N |
23:53 |
294° |
|
22เมษายน |
10:54 |
66° |
17:22 |
82°N |
23:50 |
294° |
|
23เมษายน |
10:51 |
66° |
17:19 |
82°N |
23:47 |
294° |
|
24เมษายน |
10:48 |
66° |
17:16 |
82°N |
23:43 |
294° |
|
25เมษายน |
10:44 |
66° |
17:12 |
82°N |
23:40 |
294° |
|
26 เมษายน |
10:41 |
66° |
17:09 |
82°N |
23:37 |
294° |
|
27เมษายน |
10:38 |
66° |
17:06 |
82°N |
23:33 |
294° |
|
28เมษายน |
10:35 |
66° |
17:02 |
82°N |
23:30 |
294° |
|
29เมษายน |
10:31 |
66° |
16:59 |
82°N |
23:27 |
294° |
|
30เมษายน |
10:28 |
66° |
16:56 |
82°N |
23:23 |
294° |
การสังเกตดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
การสังเกตดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งตำแหน่งของดวงจันทร์จะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งในแต่ละคืนอาจเกิดปรากฏการณ์บนดาวพฤหัสบดี เช่น อุปราคาบนดาวพฤหัสบดี เกิดจากเงาของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเอง เมื่อผู้สังเกตดูปรากฏการณ์นี้ผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นเป็นจุดสีดำบนดาวพฤหัสบดี
รูปที่ 17 แสดงตำแหน่งดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีในช่วงเดือนเมษายน
การสังเกตดาวเสาร์
การสังเกตดาวเสาร์ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ผู้สังเกตสามารถสังเกตได้ โดยดาวเสาร์จะเริ่มโผล่พ้นขอบฟ้าออกมาในเวลา 21:23 น. สำหรับตำแหน่งบนท้องฟ้าของดาวเสาร์เมื่อเทียบกับกลุ่มดาวบนท้องฟ้าในช่วงเดือนเมษายนดาวเสาร์จะปรากฏอยู่ในบริเวณกลางกลุ่มดาวคันชั่ง และสามารถสังเกตดาวเสาร์ไปจนถึงช่วงเช้ามืด สำหรับค่าความสว่างปรากฏของดาวพฤหัสบดีช่วงเดือนเมษายนนี้อยู่ที่ระหว่าง 1.03 ถึง 0.75
เวลาขึ้น – ตก ของดาวเสาร์ในเดือนกุมพาพันธ์ พ.ศ. 2557
เวลา ณ ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ละติจูด 1345.0 เหนือ ลองจิจูด 10031.0 ตะวันออก
(กรุงเทพมหานคร)
|
ดาวเสาร์ขึ้น |
ผ่านเส้นเมริเดียน |
ดาวเสาร์ตก |
||||
วันที่ เดือน |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
เวลา |
มุมทิศ |
|
1เมษายน |
21:23 |
106° |
03:11 |
59°S |
08:55 |
254° |
|
2เมษายน |
21:19 |
106° |
03:07 |
59°S |
08:51 |
254° |
|
3เมษายน |
21:15 |
106° |
03:03 |
59°S |
08:47 |
254° |
|
4เมษายน |
21:11 |
106° |
02:59 |
59°S |
08:42 |
254° |
|
5เมษายน |
21:06 |
106° |
02:54 |
59°S |
08:38 |
254° |
|
6เมษายน |
21:02 |
106° |
02:50 |
59°S |
08:34 |
254° |
|
7เมษายน |
20:58 |
106° |
02:46 |
59°S |
08:30 |
254° |
|
8เมษายน |
20:54 |
106° |
02:42 |
59°S |
08:26 |
254° |
|
9เมษายน |
20:50 |
106° |
02:38 |
59°S |
08:22 |
254° |
|
10เมษายน |
20:46 |
106° |
02:34 |
59°S |
08:18 |
254° |
|
11เมษายน |
20:41 |
106° |
02:30 |
59°S |
08:13 |
254° |
|
12เมษายน |
20:37 |
106° |
02:25 |
59°S |
08:09 |
254° |
|
13เมษายน |
20:33 |
106° |
02:21 |
59°S |
08:05 |
254° |
|
14เมษายน |
20:29 |
106° |
02:17 |
59°S |
08:01 |
254° |
|
15เมษายน |
20:25 |
106° |
02:13 |
59°S |
07:57 |
254° |
|
16เมษายน |
20:20 |
106° |
02:09 |
59°S |
07:53 |
254° |
|
17เมษายน |
20:16 |
106° |
02:05 |
59°S |
07:49 |
254° |
|
18เมษายน |
20:12 |
106° |
02:00 |
59°S |
07:44 |
254° |
|
19เมษายน |
20:08 |
106° |
01:56 |
59°S |
07:40 |
254° |
|
20เมษายน |
20:04 |
106° |
01:52 |
59°S |
07:36 |
254° |
|
21เมษายน |
19:59 |
106° |
01:48 |
59° |
07:32 |
254° |
|
22เมษายน |
19:55 |
106° |
01:44 |
59°S |
07:28 |
254° |
|
23เมษายน |
19:51 |
106° |
01:39 |
59°S |
07:23 |
254° |
|
24เมษายน |
19:47 |
106° |
01:35 |
59°S |
07:19 |
254° |
|
25เมษายน |
19:42 |
106° |
01:31 |
59°S |
07:15 |
254° |
|
26เมษายน |
19:38 |
106° |
01:27 |
59°S |
07:11 |
254° |
|
27เมษายน |
19:34 |
106° |
01:22 |
59°S |
07:07 |
254° |
|
28เมษายน |
19:30 |
106° |
01:18 |
59°S |
07:03 |
254° |
|
29เมษายน |
19:26 |
106° |
01:14 |
59°S |
06:58 |
254° |
|
30เมษายน |
19:21 |
106° |
01:10 |
59°S |
06:54 |
254° |
“ความสุขของคนดูดาว คือ การที่ได้เฝ้ามองท้องฟ้าอันสวยงาม”
กรกมล ศรีบุญเรือง
นักวิชาการ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)