บทความดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

2 ชั่วโมงกับการถ่ายดาว ในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวในเดือนพฤศจิกายน

2 ชั่วโมงกับการถ่ายดาว ในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวในเดือนพฤศจิกายน

ในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ก็ถือเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวของประเทศไทยกันแล้ว และยังเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวที่มีสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์เหมาะแก่การถ่ายภาพดวงดาว คอลัมน์นี้จึงอยากชวนผู้ที่หลงไหลการถ่ายภาพดวงดาว ออกไปถ่ายภาพในช่วงนี้กันดูครับ

Read more ...

แชร์ภาพกลุ่มดาวนายพรานและ Barnard's Loop จากนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

แชร์ภาพกลุ่มดาวนายพรานและ Barnard's Loop จากนักดาราศาสตร์สมัครเล่น

ในช่วงเริ่มต้นฤดูหนาวนี้ เราจะเริ่มสังเกตเห็นกลุ่มดาวนายพรานได้ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 22.30 น. เป็นต้นไป และในเดือนถัดๆไปเราก็จะเริ่มเห็นกลุ่มดาวนายพรานโผล่จากขอบฟ้าเร็วขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งช่วงต้นฤดูหนาวสภาพอากาศและทัศนวิสัยของท้องฟ้าก็เหมาะแก่การถ่ายภาพทั้งกลุ่มดาว วัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือแม้แต่ทางช้างเผือกกันอีกด้วยครับ

Read more ...

คืน 21-22 ตุลาคม นี้ ชวนถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

คืน 21-22 ตุลาคม นี้ ชวนถ่ายภาพฝนดาวตกโอไรโอนิดส์

ในคืนวันที่ 21 ตุลาคมนี้ จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง สังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 23.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 01.00 น. มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณแขนของกลุ่มดาวนายพรานทางทิศตะวันออก โดยคืนดังกล่าวช่วงหลังตี 1 ไปแล้วจะมีแสงดวงจันทร์รบกวน อย่างไรก็ตามช่วงเวลา 2 ชั่วโมงดังกล่าว ก็อาจพอลุ้นได้ดาวตกกันบ้างครับ

Read more ...

ภาพถ่าย Micro Full Moon ของปี 2562

ภาพถ่าย Micro Full Moon ของปี 2562

ในคอลัมน์นี้ก็อนุญาตแชร์ภาพถ่ายดวงจันทร์ในช่วงเต็มดวงไกลโลกมากที่สุดในรอบปี โดยเรามักเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “Micro Full Moon” ซึ่งภาพข้างต้นนั้น ก็เป็นภาพถ่ายที่ได้วางแผนการถ่ายภาพไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้ว ซึ่งกว่าจะได้ภาพดวงจันทร์ในช่วง Super Full Moon เปรียบเทียบกับ Micro Full Moon ก็ต้องรอกันอีก 8 เดือน กันเลยทีเดียว

Read more ...

เทคนิคการหาทิศด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Maps

เทคนิคการหาทิศด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Maps

คอลัมน์นี้ขอแชร์เทคนิคการหาทิศเหนือด้วยการใช้แอพพลิเคชั่น Google Maps เพื่อใช้ดูภาพถ่ายดาวเทียมในการอ้างอิงตำแหน่งทิศเหนือ โดยเทคนิคนี้เกิดจากการที่พวกเราเดินทางไปถ่ายปรากฏการณ์สุริยุปราคา ที่ประเทศชิลี ซึ่งเป็นประเทศทางซีกโลกใต้ และยังเป็นการตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพปรากฏการณ์บนขาตั้งกล้องแบบตามดาว ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งวิธีที่นักดาราศาสตร์นิยมใช้กันในการหาทิศเหนือหรือใต้ ในเวลากลางวันอาจเริ่มจากการใช้เข็มทิศแล้วตั้งกล้องตามดาวแล้วปรับชดเชยด้วยวิธีการทำ Star Drift Alignment โดยเป็นการตั้งเมาส์ของฐานตามดาว ให้ตรงกับขั้วฟ้าเหนือให้มากที่สุด เพื่อใช้สำหรับการถ่ายภาพดาวที่ใช้ระยะเวลาบันทึกภาพนาน ซึ่งวิธีการนี้ค่อนข้างจะใช้เวลานานพอสมควร

Read more ...

เทรนด์ถ่ายภาพดาราศาสตร์ปีนี้กับหน้าปี มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าถ่ายตามไปดูกัน

เทรนด์ถ่ายภาพดาราศาสตร์ปีนี้กับหน้าปี มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าถ่ายตามไปดูกัน

สำหรับภาพถ่ายที่ชนะการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ทั้ง 5 ประเภท ในปีนี้ก็ล้วนแต่เป็นภาพที่มีความสวยงามและยังสามารถสื่อสารหลักการทางดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย โดยผลการให้คะแนนในแต่ละภาพนั้น กรรมการได้พิจารณาทั้งด้านความสวยงาม องค์ประกอบภาพ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ความถูกต้องของข้อมูลประกอบการถ่ายภาพ รวมทั้งคุณภาพของไฟล์ และความยากง่ายของภาพถ่ายแต่ละประเภท ซึ่งกว่าจะคัดเลือกภาพถ่ายออกมาได้นี่เรียกว่าทั้งซูม ทั้งอธิบายหลักการแนวคิด และให้ความเห็นกันอย่างดุเดือด เพื่อให้ได้ภาพที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์มากที่สุด

Read more ...

ภาพถ่ายกาแล็กซีจากซีกฟ้าใต้

ภาพถ่ายกาแล็กซีจากซีกฟ้าใต้

ในคอลัมน์นี้ขอเสนอภาพถ่ายจากซีกฟ้าใต้ ประเทศชิลี โดยสถานที่ในการออกไปเก็บภาพครั้งนี้เป็นจุดแวะพักรถระหว่างเส้นทางไปหอดูดาว Cerro Tololo เมือง La Serena ประเทศชิลี บริเวณหอดูดาวเป็นทะเลทรายที่มีความแห้งแล้งเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งท้องฟ้าที่นี่มีความมืดสนิทและทัศนวิสัยที่ใสเคลียร์มาก สามารถสังเกตการณ์ท้องฟ้าได้มากกว่า 300 คืนขึ้นไป สมกับเป็นสถานที่ตั้งหอดูดาวระดับโลก หากใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเพื่อการถ่ายภาพทางช้างเผือก หรือวัตถุท้องฟ้า กลุ่มดาว แล้วหล่ะก็การไปเยือนประเทศทางซีกฟ้าใต้สักครั้งก็ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของนักถ่ายภาพ

Read more ...

แชร์ประสบการณ์สุริยุปราคากลางทะเลทราย จากซีกฟ้าใต้ ประเทศชิลี

แชร์ประสบการณ์สุริยุปราคากลางทะเลทราย จากซีกฟ้าใต้ ประเทศชิลี

สำหรับคอลัมน์นี้ขอนำประสบการณ์ภาระกิจการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ณ ประเทศชิลีมาฝากกันครับ สุริยุปราคาครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจกันค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงที่แนวคราสพาดผ่านหอดูดาวขนาดใหญ่ ของประเทศชิลี รวมทั้งผ่านหอดูดาวอัตโนมัติควบคุมระยะไกล ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศชิลีด้วยเช่นกัน

Read more ...

ดาวเสาร์ ราชาแห่งวงแหวน 9 กรกฎาคม 2562 นี้ มีอะไรให้น่าถ่ายภาพกันบ้างตามมาดูกัน

ดาวเสาร์ ราชาแห่งวงแหวน 9 กรกฎาคม 2562 นี้ มีอะไรให้น่าถ่ายภาพกันบ้างตามมาดูกัน

ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี เวลาประมาณ 23.53 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ระยะทางประมาณ 1,351 ล้านกิโลเมตร ดาวเสาร์จะปรากฏสว่างสุกใส ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า มีค่าความสว่างปรากฏประมาณ 0.1 (ความสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงประมาณ -12.6)

Read more ...

ถ่ายภาพดวงจันทร์กับบริเวณลงจอดของยานอวกาศ Apollo 11

ถ่ายภาพดวงจันทร์กับบริเวณลงจอดของยานอวกาศ Apollo 11

ในปีนี้ถือเป็นการครบรอบ 50 ปีของการได้เยือนดวงจันทร์ ของโครงการอะพอลโล 11 ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย คอลัมน์นี้เลยขอเอา ข้อแนะนำการถ่ายภาพดวงจันนทร์ให้ได้ภาพตำแหน่งการลงจอดของยานอะพอลโล 11 กันหน่อยครับ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโครงการอะพอลโล 11 กันสักหน่อยครับ

Read more ...

เผยเทคนิคการถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ในแบบนักถ่ายภาพดาวเคราะห์มืออาชีพ

เผยเทคนิคการถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ในแบบนักถ่ายภาพดาวเคราะห์มืออาชีพ

ในวันที่ 10 มิถุนายน 2562 นี้ ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Opposition) ตรงกับเวลาประเทศไทย ประมาณ 22.21 น. ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 8 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตแถบแมฆ จุดแดงใหญ่ และดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงได้อย่างชัดเจน และยังสามารถสังเกตได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า

Read more ...

หลากหลายไอเดีย ถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งฉาก

หลากหลายไอเดีย ถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งฉาก

ในคอลัมน์นี้ขอรวบรวมไอเดีย การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ในปีนี้มีคนให้ความสนใจกันมากขึ้นและร่วมแชร์ภาพถ่ายที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ตั้งฉากกันหลากหลายไอเดีย สำหรับประเทศไทยนั้นในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย เริ่มจากทางใต้ ณ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในช่วงประมาณวันที่ 5 เมษายน จากนั้นดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้นที่ต่าง ๆ ของไทยไล่ลำดับขึ้นเหนือมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงช่วงประมาณวันที่ 23 พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับพื้นที่เหนือสุดของประเทศไทย ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Read more ...

Page 3 of 5