บทความดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

เทรนด์ถ่ายภาพดาราศาสตร์ปีนี้กับหน้าปี มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าถ่ายตามไปดูกัน

เทรนด์ถ่ายภาพดาราศาสตร์ปีนี้กับหน้าปี มาดูกันว่าจะมีอะไรน่าถ่ายตามไปดูกัน

สำหรับภาพถ่ายที่ชนะการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ทั้ง 5 ประเภท ในปีนี้ก็ล้วนแต่เป็นภาพที่มีความสวยงามและยังสามารถสื่อสารหลักการทางดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย โดยผลการให้คะแนนในแต่ละภาพนั้น กรรมการได้พิจารณาทั้งด้านความสวยงาม องค์ประกอบภาพ การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ความถูกต้องของข้อมูลประกอบการถ่ายภาพ รวมทั้งคุณภาพของไฟล์ และความยากง่ายของภาพถ่ายแต่ละประเภท ซึ่งกว่าจะคัดเลือกภาพถ่ายออกมาได้นี่เรียกว่าทั้งซูม ทั้งอธิบายหลักการแนวคิด และให้ความเห็นกันอย่างดุเดือด เพื่อให้ได้ภาพที่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์มากที่สุด

Read more ...

ภาพถ่ายกาแล็กซีจากซีกฟ้าใต้

ภาพถ่ายกาแล็กซีจากซีกฟ้าใต้

ในคอลัมน์นี้ขอเสนอภาพถ่ายจากซีกฟ้าใต้ ประเทศชิลี โดยสถานที่ในการออกไปเก็บภาพครั้งนี้เป็นจุดแวะพักรถระหว่างเส้นทางไปหอดูดาว Cerro Tololo เมือง La Serena ประเทศชิลี บริเวณหอดูดาวเป็นทะเลทรายที่มีความแห้งแล้งเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งท้องฟ้าที่นี่มีความมืดสนิทและทัศนวิสัยที่ใสเคลียร์มาก สามารถสังเกตการณ์ท้องฟ้าได้มากกว่า 300 คืนขึ้นไป สมกับเป็นสถานที่ตั้งหอดูดาวระดับโลก หากใครที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเพื่อการถ่ายภาพทางช้างเผือก หรือวัตถุท้องฟ้า กลุ่มดาว แล้วหล่ะก็การไปเยือนประเทศทางซีกฟ้าใต้สักครั้งก็ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งของนักถ่ายภาพ

Read more ...

แชร์ประสบการณ์สุริยุปราคากลางทะเลทราย จากซีกฟ้าใต้ ประเทศชิลี

แชร์ประสบการณ์สุริยุปราคากลางทะเลทราย จากซีกฟ้าใต้ ประเทศชิลี

สำหรับคอลัมน์นี้ขอนำประสบการณ์ภาระกิจการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง ณ ประเทศชิลีมาฝากกันครับ สุริยุปราคาครั้งนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจกันค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวงที่แนวคราสพาดผ่านหอดูดาวขนาดใหญ่ ของประเทศชิลี รวมทั้งผ่านหอดูดาวอัตโนมัติควบคุมระยะไกล ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่ตั้งอยู่ที่ประเทศชิลีด้วยเช่นกัน

Read more ...

ดาวเสาร์ ราชาแห่งวงแหวน 9 กรกฎาคม 2562 นี้ มีอะไรให้น่าถ่ายภาพกันบ้างตามมาดูกัน

ดาวเสาร์ ราชาแห่งวงแหวน 9 กรกฎาคม 2562 นี้ มีอะไรให้น่าถ่ายภาพกันบ้างตามมาดูกัน

ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี เวลาประมาณ 23.53 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ที่ระยะทางประมาณ 1,351 ล้านกิโลเมตร ดาวเสาร์จะปรากฏสว่างสุกใส ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สามารถสังเกตเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า มีค่าความสว่างปรากฏประมาณ 0.1 (ความสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงประมาณ -12.6)

Read more ...

ถ่ายภาพดวงจันทร์กับบริเวณลงจอดของยานอวกาศ Apollo 11

ถ่ายภาพดวงจันทร์กับบริเวณลงจอดของยานอวกาศ Apollo 11

ในปีนี้ถือเป็นการครบรอบ 50 ปีของการได้เยือนดวงจันทร์ ของโครงการอะพอลโล 11 ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย คอลัมน์นี้เลยขอเอา ข้อแนะนำการถ่ายภาพดวงจันนทร์ให้ได้ภาพตำแหน่งการลงจอดของยานอะพอลโล 11 กันหน่อยครับ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโครงการอะพอลโล 11 กันสักหน่อยครับ

Read more ...

เผยเทคนิคการถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ในแบบนักถ่ายภาพดาวเคราะห์มืออาชีพ

เผยเทคนิคการถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ในแบบนักถ่ายภาพดาวเคราะห์มืออาชีพ

ในวันที่ 10 มิถุนายน 2562 นี้ ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Opposition) ตรงกับเวลาประเทศไทย ประมาณ 22.21 น. ทำให้เราสามารถสังเกตเห็นดาวพฤหัสบดีมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 8 นิ้ว กำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป จะสามารถสังเกตแถบแมฆ จุดแดงใหญ่ และดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงได้อย่างชัดเจน และยังสามารถสังเกตได้ตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า

Read more ...

หลากหลายไอเดีย ถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งฉาก

หลากหลายไอเดีย ถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งฉาก

ในคอลัมน์นี้ขอรวบรวมไอเดีย การถ่ายภาพดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ในปีนี้มีคนให้ความสนใจกันมากขึ้นและร่วมแชร์ภาพถ่ายที่เกี่ยวกับดวงอาทิตย์ตั้งฉากกันหลากหลายไอเดีย สำหรับประเทศไทยนั้นในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย เริ่มจากทางใต้ ณ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในช่วงประมาณวันที่ 5 เมษายน จากนั้นดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในแนวตั้งฉากกับพื้นที่ต่าง ๆ ของไทยไล่ลำดับขึ้นเหนือมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงช่วงประมาณวันที่ 23 พฤษภาคม ดวงอาทิตย์จะตั้งฉากกับพื้นที่เหนือสุดของประเทศไทย ณ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Read more ...

มาสร้างภาพเนบิวลาแบบ 3 มิติกันดีกว่า

มาสร้างภาพเนบิวลาแบบ 3 มิติกันดีกว่า

ปัจจุบัน Facebook ได้สร้างลูกเล่นใหม่ล่าสุดมีชื่อว่า 3D Photo ซึ่งหากใครที่ใช้สมาร์ทโฟนระบบ iOS ที่มีกล้องหน้าคู่ ก็สามารถถ่ายภาพแล้วโพสต์ภาพสามมิติ ซึ่งจะขยับตามการพลิกหน้าจอไปมา แต่สำหรับภาพถ่ายดาราศาสตร์ เช่น ภาพเนบิวลา กาแล็กซี หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ นั้น สามาร์ทโฟนก็ไม่สามารถถ่ายภาพได้ แต่ภาพเหล่านี้ถึงแม้ไอโฟนจะถ่ายไม่ได้ แต่เราก็สามารถนำภาพถ่ายดาราศาสตร์มาสร้างเป็นภาพ 3 มิติ เองได้เช่นกัน

Read more ...

นักถ่ายภาพทั่วไปทำไมถึงถ่ายภาพหลุมดำไม่ได้

นักถ่ายภาพทั่วไปทำไมถึงถ่ายภาพหลุมดำไม่ได้

หลังจากวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาได้มีการแถลงข่าวการถ่ายภาพหลุมดำเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ด้วยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope : EHT) ซึ่งเป็นกล้องโทรรศน์วิทยุ จากหอดูดาวจากสถาบันดาราศาสตร์ 8 แห่งทั่วโลก ได้แก่ อเมริกา สเปน เม็กซิโก ในฮาวาย 2 แห่ง ชิลี 2 แห่ง และตั้งอยู่ขั้วโลกใต้อีก 1 แห่ง

Read more ...

เทคนิคการ Stacking ภาพทางช้างเผือกด้วย Photoshop

เทคนิคการ Stacking ภาพทางช้างเผือกด้วย Photoshop

สำหรับคอลัมน์นี้ขอแนะนำเทคนิคการโปรเซสภาพทางช้างเผือก หรืออาจเป็นภาพถ่ายวัตถุท้องฟ้า ที่เรามักต้องใช้ค่าความไวแสง (ISO) สูงๆ ด้วยโปรแกรมพื้นฐาน Photoshop ด้วยวิธีการง่ายๆ แต่ทำให้เราได้ภาพทางช้างเผือกที่ใสเคลียร์

Read more ...

เผยเทคนิคการหาขั้วฟ้าใต้ (Southern Cross and The Pointer)

เผยเทคนิคการหาขั้วฟ้าใต้ (Southern Cross and The Pointer)

ในช่วงนี้เริ่มมีกระแสการเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศทางซีกฟ้าใต้กันค่อนข้างเยอะ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหากใครที่มีโอกาสได้ไปเที่ยวก็อาจหาเวลาช่วงกลางคืนลองถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าทางซีกฟ้าใต้กันได้ครับ ซึ่งวัตถุทางซีกฟ้าใต้ก็มีหลายวัตถุท้องฟ้าที่ประเทศทางซีกฟ้าเหนือไม่มีโอกาสได้เห็นหรือรู้จักกัน

Read more ...

เสร็จจากทริปถ่ายดาวบนดอย เอามาสปอยให้ฟัง

เสร็จจากทริปถ่ายดาวบนดอย เอามาสปอยให้ฟัง

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้จัดกิจกรรมถ่ายภาพ Astrophotography Marathon ซึ่งเป็นกิจกรรมถ่ายภาพทางดาราศาสตร์แบบต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ในแต่ละช่วงเวลาเราก็จะมีโจทย์ให้ผู้ร่วมกิจกรรมถ่ายภาพในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

Read more ...

Page 3 of 5