บทความดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

เผยเทคนิคการหาขั้วฟ้าใต้ (Southern Cross and The Pointer)

เผยเทคนิคการหาขั้วฟ้าใต้ (Southern Cross and The Pointer)

ในช่วงนี้เริ่มมีกระแสการเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศทางซีกฟ้าใต้กันค่อนข้างเยอะ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งหากใครที่มีโอกาสได้ไปเที่ยวก็อาจหาเวลาช่วงกลางคืนลองถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าทางซีกฟ้าใต้กันได้ครับ ซึ่งวัตถุทางซีกฟ้าใต้ก็มีหลายวัตถุท้องฟ้าที่ประเทศทางซีกฟ้าเหนือไม่มีโอกาสได้เห็นหรือรู้จักกัน

Read more ...

เสร็จจากทริปถ่ายดาวบนดอย เอามาสปอยให้ฟัง

เสร็จจากทริปถ่ายดาวบนดอย เอามาสปอยให้ฟัง

ในสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้จัดกิจกรรมถ่ายภาพ Astrophotography Marathon ซึ่งเป็นกิจกรรมถ่ายภาพทางดาราศาสตร์แบบต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ในแต่ละช่วงเวลาเราก็จะมีโจทย์ให้ผู้ร่วมกิจกรรมถ่ายภาพในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

Read more ...

ทำ Polar Alignment อย่างไรให้ถ่ายดาวได้ยาวนาน

ทำ Polar Alignment อย่างไรให้ถ่ายดาวได้ยาวนาน

สำหรับคอลัมน์นี้จะขอกล่าวถึงเทคนิคการทำ Polar Alignment ของกล้องโทรทรรศน์ หรืออุปกรณ์ตามดาวที่กำลังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอุปกรณ์ตามดาวก็มีหลากหลายรูปแบบด้วยกัน แต่หลักการก็คือ การปรับให้ฐานตามดาวชี้ไปยังขั้วเหนือของท้องฟ้าได้ถูกต้องที่สุด ซึ่งฐานตามดาวแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นก็จะมีการออกแบบวิธีการทำ Polar Alignment ที่มีความละเอียดแตกต่างกันออกไป คอลัมน์นี้ผมจะขอยกตัวอย่างรูปแบบที่มักเห็นได้ทั่วไป และวิธีดังต่อไปนี้ก็สามารถนำเอาไปปรับใช้ได้ครอบคลุมเกือบกับทุกยี่ห้อ มาเริ่มกันเลยครับ

Read more ...

เทคนิคถ่ายภาพดวงจันทร์วัน Super Full Moon อย่างไรให้ได้ภาพ HD

เทคนิคถ่ายภาพดวงจันทร์วัน Super Full Moon อย่างไรให้ได้ภาพ HD

ในคืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ตรงกับวันมาฆบูชา ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือที่เรียกว่า ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ที่ระยะห่างประมาณ 356,836 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่า 7% และสว่างกว่า 16% สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 18:11 น. เป็นต้นไป คอลัมน์เลยขอพูดเรื่องการถ่ายภาพดวงจันทร์ในช่วปรากฏการณ์ ซูเปอร์ฟูลมูน กันหน่อย!

Read more ...

ถ่ายดาวดอยไหน ห่างไกล PM 2.5

ถ่ายดาวดอยไหน ห่างไกล PM 2.5

ช่วงนี้ถึงแม้เราจะเผชิญกับปัญหากับหมอกควันไฟปกคลุมเมืองทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ในยามค่ำคืนไม่น้อย แต่หากใครได้ลองสังเกตในช่วงเดินทางด้วยเครื่องบินจะพบว่าพวกกลุ่มหมอกควันเหล่านี้จะอยู่ที่ระดับความสูงค่าหนึ่ง นั่นก็คือประมาณ 2,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

Read more ...

พร้อมถ่ายภาพ Super Moon 3 เดือนติดกัน ในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง

พร้อมถ่ายภาพ Super Moon 3 เดือนติดกัน ในคืนวันพระจันทร์เต็มดวง

ในช่วงต้นปี 2562 นี้จะเกิดปรากฏการณ์ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก” หรือที่มักเรียกกันว่า Super Full Moon ติดกันถึง 3 เดือน โดยในการนิยามว่าเดือนไหนจะเรียกว่าดวงจันทร์ใกล้โลกนั้น ก็มีการกำหนดหลักการไว้หลายรูปแบบด้วยกัน โดยขอยกตัวอย่างของหลักการง่ายๆ อันหนึ่งดังนี้ 

Read more ...

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าถ่ายภาพในปี 2019

ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าถ่ายภาพในปี 2019

สำหรับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจในปี 2562 นี้ โดยส่วนมากจะเกี่ยวกับดวงจันทร์เสียส่วนใหญ่ แต่ก็เข้ากับธีมของดาราศาสตร์ ที่ถือเป็นปีที่ครบรอบ 50 ปี ของการไปเยือนดวงจันทร์ โดยปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเริ่มกันตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม คือปรากฏการณ์ Super Moon ติดต่อกันถึง 3 เดือน และตามด้วยจันทรุปราคาบางส่วน  Micro Moon และสุริยุปราคาบางส่วน แต่สำหรับปรากฏการณ์ฝนดาวตกนั้นก็ยังมีให้ตามถ่ายภาพกันได้ แต่ฝนดาวตกใหญ่ๆ เช่น ลีโอนิดส์ เจมีนิดส์ นั้นในวันดังกล่าวมีดวงจันทร์รบกวน ช่างสมกับเป็นปีแห่งดวงจันทร์จริงๆ ครับ เอาหล่ะเรามาดูกันว่าปีนี้เราจะถ่ายอะไร ถ่ายยังไงกันบ้าง ติดต่อต่อในคอลัมน์ได้เลยครับ

Read more ...

เผยเทคนิคการวางแผนถ่ายภาพดาวหาง

เผยเทคนิคการวางแผนถ่ายภาพดาวหาง

ในคืนวันที่ 16 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาดาวหาง 46พี เวอร์ทาเนน ได้โคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดที่ระยะระยะห่างจากโลกประมาณ 11.5 ล้านกิโลเมตร จากการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์พบว่าดาวหางดังกล่าวมีความสว่างมากขึ้นถึงแมกนิจูก 4 ซึ่งในบริเวณที่มืดสนิทปราศจากแสงรบกวนและมีท้องฟ้าที่ใสเคลียร์ตาเปล่าสามารถสังเกตเห็นได้สลัวๆ หากเราใช้กล้องสองตาที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 7-10 เท่าขึ้นไปก็สามารถมองเห็นหัวของดาวหางได้อย่างชัดเจน

Read more ...

เตรียมพร้อมออกล่าดาวหาง 46P/Wirtanen ช่วงเดือนธันวาคมนี้กัน

เตรียมพร้อมออกล่าดาวหาง 46P/Wirtanen ช่วงเดือนธันวาคมนี้กัน

ในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ จะมีดาวหาง ชื่อ 46P/Wirtanen เป็นดาวหางคาบสั้นขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2 กิโลเมตร คาบการโคจรประมาณ 5.4 ปี ค้นพบโดย Carl A. Wirtanen มาเยือนโลก โดยคาดการณ์ว่าในช่วงปลายปี 2562 ดาวหางดวงนี้น่าจะมีความสว่างเพิ่มขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

Read more ...

ถ่ายทางช้างเผือกเชือกสุดท้าย ปลายปี 2561

ถ่ายทางช้างเผือกเชือกสุดท้าย ปลายปี 2561

ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมาก็ถือว่าเป็นช่วงสุดท้ายของปีนี้ที่เราจะพอสังเกตเห็นใจกลางทางช้างเผือกกันได้ เนื่องจากหลังจากนี้ดวงอาทิตย์ก็จะเคลื่อนที่ไปตรงบริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นบริเวณของตำแหน่งใจกลางทางช้างเผือกนั่นเอง แต่ความพิเศษของช่วงท้ายปีนี้สำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือก คือเป็นช่วงที่เราจะเห็นทางช้างเผือกตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทั้งยังเป็นช่วงที่ท้องฟ้ามักจะใสเคลียร์เพราะเข้าสู่ฤดูหนาวนั่นเอง ดังนั้นคอลัมน์นี้เลยขอเก็บภาพทางช้างเผือกมาอวดกันสักหน่อยครับ

Read more ...

เข้าช่วงเดือนพฤศจิกายน เชิญชวนกันมาถ่ายภาพทางช้างเผือกยามเย็น

เข้าช่วงเดือนพฤศจิกายน เชิญชวนกันมาถ่ายภาพทางช้างเผือกยามเย็น

ความพิเศษของการถ่ายภาพทางช้างเผือกในช่วงนี้ นอกจากเราจะสามารถสังเกตเห็นแนวใจกลางทางช้างเผือกได้ตั้งแต่หัวค่ำ ยังทำให้เราไม่ต้องทรมานอดหลับอดนอนดึกๆ อีกด้วย และจากสถิติข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงพฤศจิกายนของทุกปีประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว ทัศนวิสัยของท้องฟ้ามักใสเคลียร์เหมาะแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่งไอเดียที่จะแนะนำในการถ่ายภาพทางช้างเผือกช่วงนี้ สามารถถ่ายได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบทางช้างเผือกแบบตั้งฉาก ทางช้างเผือกกับแสงจักรราศี หรือทางช้างเผือกแบบพาโนรามา แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับทางช้างเผือกกันหน่อย

Read more ...

เลือกจุดโฟกัสอย่างไร เมื่อต้องการถ่ายภาพดวงจันทร์ให้ได้ภาพสวย

เลือกจุดโฟกัสอย่างไร เมื่อต้องการถ่ายภาพดวงจันทร์ให้ได้ภาพสวย

สำหรับในคอลัมน์นี้ยังคงเป็นเทคนิคในการถ่ายภาพดวงจันทร์ต่อเนื่องจากคอลัมน์ก่อน โดยจะขอนำเสนอเทคนิคง่ายๆ ในการโฟกัสภาพดวงจันทร์อย่างไรให้ได้ภาพที่คมชัด ซึ่งในการถ่ายภาพดวงจันทร์นั้น ก็มีหลากหลายรูปแบบ หลายไอเดียในการถ่ายภาพ โดยปกติทั่วไปเราก็จถ่ายภาพกันอยู่ 2 แบบ หลักๆ คือ

Read more ...

Page 4 of 5