บทความดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

บทความภาพถ่ายดาราศาสตร์

ถ่ายภาพดาราศาสตร์อย่างไร… ให้ชนะใจกรรมการ

ถ่ายภาพดาราศาสตร์อย่างไร… ให้ชนะใจกรรมการ

คอลัมน์นี้ขอนำเสนอมุมมองและเกณฑ์ในการตัดสินภาพถ่ายดาราศาสตร์ เพื่อที่ปีถัดๆไป นักถ่ายภาพจะได้นำเอาไปปรับใช้กับการถ่ายภาพเพื่อให้ชนะใจกรรมการกันครับ โดยคณะกรรมการตัดสินภาพถ่ายประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพ นักถ่ายภาพดาราศาสตร์ระดับแนวหน้าของเมืองไทย นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศโลก เป็นต้น ในการพิจารณาคณะกรรมการแต่ละท่านต่างก็จะมีมุมมองในด้านต่างๆ และนำเอาผลการพิจารณามารวมกันออกมาเป็นคะแนนของภาพถ่ายแต่ละภาพนั่นเองครับ

Read more ...

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ สามารถสร้างเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดได้

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ สามารถสร้างเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดได้

สำหรับคอลัมน์นี้อยากเชิญชวนนักดาราศาสตร์สมัครเล่น มาร่วมสร้างเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ภายใต้โครงการ Dark Sky Campaign ด้วยภาพถ่ายดาราศาสตร์กันได้ ซึ่งหลายๆ ครั้ง ที่เหล่านักถ่ายภาพออกไปเสาะหาสถานที่ถ่ายดาวกันหลายๆพื้นที่ เช่น อุทยานแห่งชาติ ยอดดอย อ่างเก็บน้ำของชุมชน รีสอร์ท โรมแรม หรือแม้กระทั่งพื้นที่ส่วนบุคคล ก็สามารถถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าออกมาได้อย่างสวยงามและสว่างชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงคุณภาพท้องฟ้าที่มืดสนิทเหมาะแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์

Read more ...

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ภาพไหนบ้าง ที่ไม่ควรพลาดร่วมส่งประกวดปีนี้

ภาพถ่ายดาราศาสตร์ภาพไหนบ้าง ที่ไม่ควรพลาดร่วมส่งประกวดปีนี้

สำหรับคอลัมน์นี้จะขอแนะนำภาพถ่ายดาราศาสตร์ทั้ง 5 ประเภท ที่ไม่ควรพลาดร่วมส่งประกวด ซึ่งปีที่ผ่านมารวมทั้งในปีนี้ก็มีวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้งปรากฏการณ์ท้องฟ้าในชั้นบรรยากาศโลกที่เกิดขึ้น ซึ่งนักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ จึงอยากเชิญชวนใครที่มีโอกาสถ่ายภาพเก็บไว้ ก็สามารถนำมาร่วมส่งประกวดกันได้ครับ 

Read more ...

สิ่งควรรู้สำหรับกูรูนักล่าดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE)

สิ่งควรรู้สำหรับกูรูนักล่าดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE)

สำหรับคอลัมน์นี้ จะแนะนำเทคนิคและวิธีการตามล่าดาวหาง รวมทั้งเทคนิคการถ่ายภาพดาวหางในเบื้องต้น โดยในช่วงนี้กระแสดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE) ก็เป็นที่น่าติดตามของเหล่านักถ่ายภาพดาราศาสตร์กันอย่างมาก แต่สำหรับประเทศไทยเรานั้น อาจมีอุปสรรคของสภาพอากาศที่อยู่ในช่วงฤดูฝนกันบ้าง อย่างไรก็ตามตอนนี้ก็เริ่มมีคนถ่ายภาพมาอวดกันได้บ้างแล้ว

Read more ...

ชวนถ่ายดาวศุกร์ สว่างที่สุด ครั้งสุดท้ายในรอบปี

ชวนถ่ายดาวศุกร์ สว่างที่สุด ครั้งสุดท้ายในรอบปี

ในช่วงเช้ามืดวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 ดาวศุกร์จะปรากฏสว่างที่สุดอีกครั้งและเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้    จึงอยากชวนมาลุ้นถ่ายภาพดาวศุกร์สว่างที่สุดกัน โดยดาวศุกร์จะสว่างเด่นเห็นชัดเจนด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันออกบริเวณกลุ่มดาววัว ตั้งแต่เวลาประมาณ 03:25 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า ปรากฏการร์ดาวศุกร์สว่างมากที่สุดในรอบปีนั้น มาสาเหตุเนื่องจากเป็นช่วงที่ดาวศุกร์มีขนาดเสี้ยวค่อนข้างใหญ่ และโคจรห่างจากโลกในระยะทางที่เหมาะสม สำหรับในช่วงวันอื่น ๆ แม้ดาวศุกร์จะมีเสี้ยวที่หนากว่า แต่ด้วยตำแหน่งอยู่ห่างจากโลกมาก ความสว่างจึงลดลงตามไปด้วย

Read more ...

ถ่ายภาพสุริยุปราคาบางส่วนอย่างไร ให้ไม่ธรรมดา

ถ่ายภาพสุริยุปราคาบางส่วนอย่างไร ให้ไม่ธรรมดา

สำหรับการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในประเทศไทย วันที่ 21 มิถุนายน 2563 นี้ สามารถเริ่มต้นถ่ายภาพปรากฏการณ์ตั้งแต่เวลา 13.00 ไปจนถึงเวลา 16.10 น. โดยประมาณ ซึ่งเปอร์เซ็นต์การถูกบังก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยพื้นที่ทางภาคเหนือจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบังมากที่สุด ที่อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย ร้อยละ 63 เปอร์เซ็นต์ เวลาประมาณ 14:49 น.

Read more ...

หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน เตรียมตัวมาส่องปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวครั้งที่ 2 ของปี

หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน เตรียมตัวมาส่องปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวครั้งที่ 2 ของปี

ในคืนวันศุกร์ ที่ 5 มิถุนายน นี้หลังเที่ยงคืนตั้งแต่เวลา 00.46 เป็นต้นไปจะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัว เป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี โดยดวงจันทร์จะเข้าสู่เงามัวของโลกมากที่สุดในเวลาประมาณ 02.25 น. ของวันที่ 6 มิถุนายน และสิ้นสุดปรากฏารณ์ในเวลา 04.04 น. ซึ่งปรากฏการณ์นี้ยากต่อการสังเกตด้วยตาเปล่า ดังนั้นการถ่ายภาพจึงช่วยให้เราสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบเงามัวได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Read more ...

หลังโควิด ชวนไปพิชิต “แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)”

หลังโควิด ชวนไปพิชิต “แสงเกเกินไชน์ (Gegenschein)”

คอลัมน์นี้ขอแนะนำการถ่ายภาพแสงเกเกินไชน์ (Gegenschein) ซึ่งน้อยคนที่จะรู้จัก สำหรับนักดาราศาสตร์นั้น ก็ควรต้องมีโอกาสได้เห็นสักครั้ง เพราะเป็นแสงที่มองเห็นได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้เทคนิคพิเศษในการสังเกตการณ์ และยังต้องสังเกตในสถานที่มืดสนิทและปราศจากแสงใดๆ มารบกวนเท่านั้น

Read more ...

ถ่ายภาพดวงจันทร์แบบ Moon HDR

ถ่ายภาพดวงจันทร์แบบ Moon HDR

ในคอลัมน์นี้เรายังคงอยู่ภายใต้มาตรการ Lock Down ช่วงเวลานี้วัตถุท้องฟ้าที่เราสามารถถ่ายภาพกันได้ก็ยังคงเป็นดวงจันทร์ เราสามารถถ่ายดวงจันทร์ได้หลากหลายรูปแบบ โดยการถ่ายภาพดวงจันทร์แบบ HDR (High Dynamic Range) นั้นก็เป็นอีกรูปแบบที่ได้ความนิยมในบรรดานักดาราศาสตร์สมัครเล่นต่างประต่างกันอย่างแพร่หลาย แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันกับเทคนิคภาพถ่าย HDR กันก่อนครับ

Read more ...

ความรู้จากภาพถ่าย “ดวงจันทร์” ในช่วงวันอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ

ความรู้จากภาพถ่าย “ดวงจันทร์” ในช่วงวันอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ

ดวงจันทร์ของเรามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,474 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณ 384,400 กิโลเมตร แม้ว่าดวงจันทร์จะมีขนาดเล็กกว่าโลกมาก แต่ดวงจันทร์ก็มีอิทธิพลกับโลกมาก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ข้างขึ้นข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา นักวิทยาศาสตร์พบว่า ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนที่ห่างจากโลกออกไปเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 3.8 เซนติเมตร

Read more ...

ช่วงหัวค่ำกลางเดือนเมษา ออกตามล่าดาวหาง (C/2019 Y4) ATLAS   

ช่วงหัวค่ำกลางเดือนเมษา ออกตามล่าดาวหาง (C/2019 Y4) ATLAS   

กลางเดือนเมษายนนี้เราอาจมีโอกาสได้เห็นดาวหาง (C/2019 Y4) ATLAS ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ (หากฟ้าใส และไม่มีแสงไฟรบกวน) โดยตำแหน่งดาวหาง ATLAS ในเดือนเมษายนนี้จะอยู่ในทางทิศเหนือใกล้บริเวณกลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major) สามารถถ่ายภาพได้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป (ในช่วงต้นเดือนยังมีแสงดวงจันทร์รบกวน)

Read more ...

8 เมษายน นี้เตรียมพร้อมถ่ายภาพ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี

8 เมษายน นี้เตรียมพร้อมถ่ายภาพ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี

ในวันที่ 8 เมษายน 2563 นี้เป็นช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างเพียง 356,897 กม. โดยดวงจันทร์จะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อยประมาณ 7.8 % ดังนั้นหากเราได้ถ่ายภาพดวงจันทร์ในคืนกล่าว เราก็จะได้ภาพดวงจันทร์ที่มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ และหากนำเอาภาพดวงจันทร์ในวันที่ 8 เมษายน ไปเปรียบเทียบกับ ภาพดวงจันทร์ในวันที่ 31 ตุลาคม ในปีเดียวกันนี้ เราก็จะได้ภาพดวงจันทร์ที่เห็นขนาดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน (ต้องถ่ายด้วยอุปกรณ์เดียวกัน)

Read more ...

Page 1 of 5