ประเภท Deep Sky Objects

Deep Sky Objects  :  รางวัลชนะเลิศ

1 Deep Sky Objects 01

ชื่อภาพ          :  Vela Supernova Remnant

ผู้ถ่ายภาพ       :  นายรัตถชล  อ่างมณี

          เศษซากของซุปเปอร์โนวาในกลุ่มดาวเวลา(Vela Supernova Remnant) เกิดจากการระเบิดของมหานวดาราเมื่อ 11,000–12,300 ปี มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้าที่ใหญ่โตมาก การระเบิดได้ผลักดันฝุ่น และก๊าซจำนวนมากออกมา บริเวณนี้จึงเป็นไปด้วยโครงสร้างสลับซับซ้อนมีความสวยงามมาก

วันที่ถ่ายภาพ            : 1 ธันวาคม 2021 เวลา 19:00 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : จังหวัดสระแก้ว

สภาพท้องฟ้า            : ปลอดโปร่ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : เลนส์ Askar ACL200, ขาตั้งตามดาว Ioptron CEM26, กล้อง ZWO1600MM

ความไวแสง             : 135

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : ประมาณ 50 ชั่วโมง

ขนาดหน้ากล้อง         : 50mm

ความยาวโฟกัส         : 200mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : F/4

เทคนิคการถ่ายภาพ     : ถ่ายในย่าน ไฮโดรเจนอัลฟา(Ha), ดับเบิลไอออไนซ์ออกซิเจน(OIII) ใช้วิธี ถ่ายภาพจำนวน 3 ส่วนและนำมาต่อกัน

ฟิลเตอร์                   : Ha, OIII

ฟิล์ม                       : -

 

 

Deep Sky Objects  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 

1 Deep Sky Objects 02

ชื่อภาพ          :  ARP 271 NGC 5246 and NGC 5247

ผู้ถ่ายภาพ       :  Mr.Michael  Selby

          Situated 130 million light years from here in the Virgo constellation, ARP 271 NGC 5426 and 5427 are a very interesting pair of interacting spiral galaxies. While clearly interacting, astronomers are uncertain if they will actually collide. If you are willing to wait a few million years the situation should be more clear. Imaged in LRGB on our PlaneWave CDK 1000 at Observatorio El Sauce, Chile. Image Processing: Mike Selby

วันที่ถ่ายภาพ            : 25 มกราคม 2022 เวลา 22:00 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : Observatorio El Sauce, Chile

สภาพท้องฟ้า            : Bortle 1

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : PlaneWave CDK 1000 Camera PL 16803

ความไวแสง             : NA

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : Luminance 19 hours RGB 6 hours per channel

ขนาดหน้ากล้อง         : 1000 mm

ความยาวโฟกัส         : 6000 mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : F/6

เทคนิคการถ่ายภาพ     : Processed in Pixinsight and Photoshop

ฟิลเตอร์                   : LRGB Chroma

ฟิล์ม                       : -

 

 

Deep Sky Objects  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

1 Deep Sky Objects 03

ชื่อภาพ          :  Eastern Orion Nebula

ผู้ถ่ายภาพ       :  นายวชิระ  โธมัส

          Eastern Orion Nebula ซึ่งประกอบไปด้วย เนบิวล่า M78 Horse Head & Flame Nebula

วันที่ถ่ายภาพ            : 26 มกราคม 2022 เวลา 20:00 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : อ.สูงเม่น จ.แพร่

สภาพท้องฟ้า            : มืด โปร่งใส

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : CCD ZWO ASI2600 MC-Pro / William Optics RedCat 51

ความไวแสง             : Gain 100

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : ใบล่ะ 20นาที - จำนวน 66ใบ - เวลารวม 22 ชั่วโมง

ขนาดหน้ากล้อง         : 51มม

ความยาวโฟกัส         : 250มม

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : f/4.9

เทคนิคการถ่ายภาพ     : ถ่ายภาพ Deep Sky Object ด้วยกล้อง CCD cool แบบสี บนอุปกณ์ตามดาว Sky Watcher HEQ5 Pro โดยถ่ายแบบ panorama 2 panel / แต่ล่ะ panel ถ่ายมา 2 ชุด ชุดที่ 1 - ใช้ฟิลเตอร์ Optolong L-eXtreme เพื่อให้ได้สัญาณย่าน Ha กับ Oii มาอย่างชัดเจน เวลารวม 12 ชม. ชุดที่ 2 - ใช้ฟิลเตอร์ IDAS D1 เพื่อให้ดาวสีของดาวอื่นๆ มาได้ เวลารวม 10 ชม. - เวลารวม panel ล่ะ 22 ชม. - รวมทั้งภาพ 44ชม. Process โดยใช้โปรแกรม Deep Sky Stacker และ Abode Photoshop *แต่ล่ะ sub ใช้เวลาถ่าย subล่ะ 20 นาที (1200s) เพื่อให้สามารถเก็บสัญาณย่าน Ha กับ Oii ผ่านฟิลเตอร์ Optolong L-eXtreme มาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ **เป็นการถ่ายภาพ DSO ด้วยการ ตั้ง ติดตั้งอุปกรณ์ ควบคุบและสั่งถ่ายภาพ "ด้วยตนเองทั้งหมด" โดยไม่ผ่านการสั่งงานผ่าน remote หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่นๆ**

ฟิลเตอร์                   : Optolong L-Extreme / IDAS D1

ฟิล์ม                       : -

 

 

Deep Sky Objects  :  รางวัลชมเชย

1 Deep Sky Objects 04

ชื่อภาพ          :  Crab Nebula

ผู้ถ่ายภาพ       :  นายกิจจา  เจียรวัฒนกนก

 

          Crab Nebula เป็นเศษซากจากการระเบิดของ Supernova ในกลุ่มดาว Taurus เป็นวัตถุลำดับแรกในแคตตาล็อกของ Messier (M1)

วันที่ถ่ายภาพ            : 21 พฤศจิกายน 2020 เวลา 00:24 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

สภาพท้องฟ้า            :

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : Monochrome CMOS Camera (QHY163m)

ความไวแสง             : Gain 174

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 6 ชั่วโมง

ขนาดหน้ากล้อง         : 120mm

ความยาวโฟกัส         : 900mm (880mm after flattener)

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : 7.5

เทคนิคการถ่ายภาพ     : Long exposure

ฟิลเตอร์                   : RGB, Ha, OIII

ฟิล์ม                       : -

 

ประเภท ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์

 

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  :  รางวัลชนะเลิศ

2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 01

ชื่อภาพ         :  Night of Geminids

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายวชิระ โธมัส

          ฝนดาวตก Geminids ถือว่าเป็น ไฮไลท์ของปารากฏกการณืฝนดาวตกของปี เนื่องจากมีปริมาณการตกที่เยอะมากๆ เนื่องจากผมได้เดินทางไปถ่ายที่ดอยแม่โถ อ.ฮอด ซึ่งเป็นดอยที่มีสภาพอากาศแห้ง โปร่ง จึงไม่เกิดน้ำค้างในเวลกลางคคืนเลย จึงเป็นผลทำให้ผมสามารถถ่ายปรากฏการณ์นี้ ต่อเนื่องได้ "ทั้งคืน" - เวลารวม 8 ชั่วโมง และสามารถเก็บดาวตกมาเป็นจำนวนมากๆๆ กว่าปกติทุกครั้ง

วันที่ถ่ายภาพ              : 13 ธันวาคม 2020 เวลา 21:36 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : ดอยแม่โถ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

สภาพท้องฟ้า              : มืด โปร่งใส แห้ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : กล้องดิจิตอล Nikon D750 / เลนส์ Sigma 14mm

ความไวแสง                : 3200

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : ใบล่ะ 25วิ

ขนาดหน้ากล้อง           : -

ความยาวโฟกัส            : 14mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : f/1.8

เทคนิคการถ่ายภาพ      : ถ่ายฝนดาวตก "ทั้งคืน" เป็นเวลารวม 8 ชั่วโมง โดยตั้งกล้องถ่ายบนมอร์เตอร์                        ตามดาว โดยหันกล้องไปยังกลุ่มดาวคนคู่แล้วสั่งถ่ายทุกๆ 25วิ ตั้งแต่เวลา                                        ประมาณ 21.30น - 05.30น ของอีกวัน แล้วค่อยมาเลือกภาพที่ถ่ายติด ดาวตก                      มารวมกันเป็น 1 ใบในโปรแกรม photoshop

ฟิลเตอร์                    :

ฟิล์ม                        : -

 

 

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 02

ชื่อภาพ  :  Jupiter Moon (IO and Ganymede) Occultation and IO Eclipse with GRS

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายชยพล  พานิชเลิศ

          Jupiter Moon (IO and Ganymede) Occultation and IO Eclipse with GRS เป็นภาพการบังกันของดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี ระหว่างดวงจันทร์ไอโอกับดวงจันทร์แกนีมีด ในภาพดวงจันทร์ทั้งสองกำลังเคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวแม่​ แต่เนื่องจากดวงจันทร์ไอโอมีวงโคจรที่อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีมากกว่าดวงจันทร์แกนีมีด จึงทำให้เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดีได้เร็วกว่าประกอบกับวงโคจรของดวงจันทร์ทั้งสองในเวลานั้นใกล้กันมากจนส่วนใต้ของดวงจันทร์ไอโอถูกดวงจันทร์แกนีมีดบดบัง เมื่อดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนที่แซงดวงจันทร์แกนีมีดไป โดยก่อนหน้าที่จะเคลื่อนที่แซงดวงจันทร์แกนีมีดไปนั้น ดวงจันทร์ไอโอก็ได้เคลื่อนบังแสงจากดวงอาทิตย์จนเกิดเงามืดตกลงบนพื้นผิวของดาวพฤหัสบดี ซึ่งช่วงเวลานั้นดาวพฤหัสบดีเองก็หั่นจุดแดงใหญ่ สัญลักษณ์ที่โดดเด่นมาปรากฏโฉมให้เห็นอีกด้วย

วันที่ถ่ายภาพ              : 9 พฤศจิกายน 2021 เวลา 18:52 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : บ้าน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

สภาพท้องฟ้า              : มีเมฆมาก

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : กล้องโทรทรรศน์ GSO 10" f/4 Imaging Newtonian กล้องถ่ายภาพ ASI462mc ขาตั้งกล้อง​ Ioptron CEM70, Tele Vue 5x Powermate

ความไวแสง                : -

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 360s ต่อภาพ

ขนาดหน้ากล้อง           : 250mm

ความยาวโฟกัส            : 5,000mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : F20

เทคนิคการถ่ายภาพ      : ถ่ายภาพด้วยวิธี Lucky Imaging โดยการถ่ายเป็นไฟล์ VDO แล้วนำมาประมวลผลเป็นไฟล์ภาพโดยใช้โปรแกรม autostakkert จากนั้นนำภาพดาวพฤหัสบดีที่ถ่ายมาทั้งหมดตั้งแต่ 18:52น. จนถึง 19:32น. มาแก้การหมุนด้วยโปรแกรม Winjupos จากนั้นเซตช่วงเวลาความห่างของภาพดาวพฤหัสบดี เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวดาวพฤหัสบดีและการเคลื่อนตัวของดวงจันทร์บริวารทั้งสอง นำภาพที่ได้มาประมวลผลภาพด้วยโปรแกรม Pixinsight และ Photoshop

ฟิลเตอร์                    : ZWO UV/IR Cut

ฟิล์ม : -

 

 

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 03

ชื่อภาพ         :  สุริยุปราคาบางส่วนที่สมุทรปราการ

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายปวิธ  ถาวรศักดิ์

          เป็นสุริยุปราคาบางส่วนที่พาดผ่านจังหวัดสมุทปราการ ช่วงเช้าเวลา 7.00 น.

วันที่ถ่ายภาพ              : 9 มีนาคม 2016 เวลา 07:16 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : จ.สมุทรปราการ

สภาพท้องฟ้า              : ท้องฟ้ายามเช้ามีเมฆบางส่วน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : NIKON D600

ความไวแสง                : ISO200

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 1/50 sec

ขนาดหน้ากล้อง           : f8

ความยาวโฟกัส            : 300 mm.

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : -

เทคนิคการถ่ายภาพ      : ใช้ฟิวเตอร์ big stopper

ฟิลเตอร์                   : big stopper

ฟิล์ม                        : -

 

 

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์  :  รางวัลชมเชย

2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ 04

ชื่อภาพ         :  Lunar Eclipse Sequence เหนือยอดเจดีย์วัดหัวคู้ กทม.

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายนราธิป  รักษา

          Lunar Eclipse Sequence เหนือยอดเจดีย์วัดหัวคู้ กทม. โดย จันทรุปราคาเต็มดวง มีปรากฎการณ์ทั้ง 3 อย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน เรียกว่า Super blue blood moon หรือ จันทรุปราคาเต็มดวงช่วงที่ดวงจันทร์โคจรใกล้โลกและตรงกับจันทร์เพ็ญครั้งที่สองของเดือน

วันที่ถ่ายภาพ              : 31 มกราคม 2018 เวลา 19:15 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : เขตลาดกระบัง กทม.

สภาพท้องฟ้า              : ปรอดโปร่ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : EOS 450D (mod) / EF 16-35mm F2.8L II

ความไวแสง                : 400

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 1/8 sec

ขนาดหน้ากล้อง           : -

ความยาวโฟกัส            : 35mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : F3.5

เทคนิคการถ่ายภาพ      : ถ่าย Multiple Exposer ห่างกันภาพละ 15 วินาที เพื่อนำภาพมาเลือกและ                         เรียงต่อกันให้ได้ Sequence เหนือฉากหน้าที่เลือกคือ วัดหัวคู้ กทม

ฟิลเตอร์                    : -

ฟิล์ม                       : -

 

 

ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ

วัตถุในระบบสุริยะ  :  รางวัลชนะเลิศ

3 วัตถุในระบบสุริยะ 01

ชื่อภาพ         :   Leonard Christmas Tails

ผู้ถ่ายภาพ      :   นายวชิระ  โธมัส

          ดาวหาง C/2021 A1 Leonard ได้โคจรมาใกล้โลกจนสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและบันทึกภาพได้ ตั้งแต่ช่วงต้นเดือน ธันวาคม 2564 แต่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นก็เกิดการประทุ ทำให้เกิดหางฝุ่นแตกกระจายออกมา และมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปทุกวัน วันที่ 24 ธันวาคมเกิดการประทุ อีกครั้งหนึ่งซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็นการประทุที่สำคัย เนื่องจากการประทุครั้งนี้ให้เกิดหางฝุ่นที่ยาวมากๆ ผมได้ทำการบันทึกภาพดาวหาง C/2021 A1 Leonard ตั้งแต่วันที่ 21-25 ธันวาคม เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลง ของหางหลังจากเกิดการประทุขึ้นในช่วงใกล้วันคริสมาสนี้

วันที่ถ่ายภาพ             : 21 ธันวาคม 2021 เวลา 19:00 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : อ.สูงเม่น จ.แพร่

สภาพท้องฟ้า             : มืด โปร่งใส

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : CCD ZWO ASI2600 MC-Pro / iOptron Versa

ความไวแสง               : Gain 100

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : ใบล่ะ 60วินาที - จำนวน 20-45ใบ

ขนาดหน้ากล้อง          : 108mm

ความยาวโฟกัส          : 660mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : f/6

เทคนิคการถ่ายภาพ     : บันทึกภาพดางหาวทุกวัน - วันล่ะ 20-45 นาที เพื่อให้เห็นลักษณะของหางฝุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวันหลังจากเกิดการประทุ

ฟิลเตอร์                    : -

ฟิล์ม                        : -

 

 

วัตถุในระบบสุริยะ  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

3 วัตถุในระบบสุริยะ 02

ชื่อภาพ         :   The Symphony of Venus เทพีแห่งความงามกับท่วงทำนองอันนิรันดร์

ผู้ถ่ายภาพ      :   นายชยพล  พานิชเลิศ

          The Symphony of Venus เทพีแห่งความงามกับท่วงทำนองอันนิรันดร์ เป็นภาพถ่ายดาวศุกร์ที่แสดงให้เห็นถึง​โครงสร้างเมฆของชั้นบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงขนาดและเฟสของดาวศุกร์ โดยเริ่มถ่ายภาพแรกในวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่ดาวศุกร์มีขนาดปรากฏบนท้องฟ้า 12.4 arcsec 83.4% illuminated จนถึงภาพสุดท้ายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ดาวศุกร์มีขนาดปรากฏ 1 arcmin 2.8% illuminated โดยใช้เวลาในการถ่ายภาพนี้ทั้งสิ้น 5 เดือน

วันที่ถ่ายภาพ             : 27 กรกฎาคม 2021 เวลา 19:11 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : บ้าน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

สภาพท้องฟ้า             : ปลอดโปร่ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : กล้องโทรทรรศน์ GSO 10" f/4 Imaging Newtonian กล้องถ่ายภาพ ASI462mc​ ขาตั้งกล้อง Ioptron CEM70, Tele Vue 5x Powermate

ความไวแสง               : -

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : IR850 3 นาที 3 set, U-Venus 5 นาที 3 set รวมเวลาถ่าย 24 นาทีต่อภาพ

ขนาดหน้ากล้อง          : 250mm

ความยาวโฟกัส          : 5,000mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : F20

เทคนิคการถ่ายภาพ     : ถ่ายภาพด้วยวิธี Lucky Imaging โดยการถ่ายเป็นไฟล์ VDO ผ่านฟิลเตอร์ IR850 และ ฟิลเตอร์ U-Venus แล้วนำมาประมวลผลเป็นภาพถ่ายด้วยโปรแกรม autostakkert นำภาพที่ได้จากแต่ละฟิลเตอร์มาประมวลผลภาพให้เป็นภาพสี ด้วยโปรแกรม Pixinsight การทำเป็นภาพสี RGB ใช้ภาพที่ได้จากฟิลเตอร์ IR850 เป็นภาพสีแดง (R) ภาพจากฟิลเตอร์ U-Venus เป็นภาพ สีน้ำเงิน (B) และนำภาพสีแดง (R) กับสีนำเงิน (B) มารวมกันเป็นภาพสีเขียว(G) รวมสีทั้งสามสี (RGB) เข้าด้วยกัน จะได้ภาพดาวศุกร์ที่มีสีและมองเห็นโครงสร้างของเมฆบนดาวศุกร์ สุดท้ายจึงนำภาพดาวศุกร์ทั้งหมดมาจัดเรียงรูปแบบให้สามารถแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของดาวศุกร์ในช่วงตลอดระยะเวลา 5 เดือน

ฟิลเตอร์                    : Antlia IR850, Antlia U-Venus

ฟิล์ม                        : -

 

 

วัตถุในระบบสุริยะ  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

3 วัตถุในระบบสุริยะ 03

ชื่อภาพ           :   The portraits of our family.

ผู้ถ่ายภาพ        :   นายกีรติ  คำคงอยู่

          The portraits of our family คือภาพถ่ายดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทุกดวง โดยผู้ถ่าย ได้ถ่ายดาวเคราะห์เหล่านี้มาเรื่อยๆ ค่อยๆสะสมตั้งแต่ ปี 2021 เรื่อยมา โดยตั้งใจใช้อุปกรณ์ชุดเดิม เพื่อให้เห็นถึงขนาดปรากฏที่ชัดเจนเมื่อมองดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเราจากโลก ว่าดวงไหนใหญ่เท่าไร ดวงใดเล็กบ้าง รวมถึงจะได้เห็นและทราบถึงขนาดที่ปรากฏก็เปลี่ยนแปลงไปตามเส้นทางการโคจรรอบโลกของดาวเหล่านี้ด้วย มีเพียงสองดวงที่ไม่อาจถ่ายด้วยอุปกรณ์เดิม คือ ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิตย์ ที่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการถ่ายออกมาให้เหมาะสมกับภาพ portraits ชุดนี้ โดยภาพดวงอาทิตย์ ได้ใช้อุปกรณ์พิเศษเป็น Hydrogen Alpha filter ในการถ่าย เพื่อให้เห็นถึงพื้นผิว จุดมืด และเปลวสุริยะของดวงอาทิตย์ ส่วนดวงจันทร์ ซึ่งเป็นวัตถุอีกสิ่งที่สามารถถ่ายได้จากโลกของเรา ผู้ถ่ายเลือกเอาดวงจันทร์ในวันที่ดวงจันทร์ไม่เต็มดวง เพราะจะได้เห็นรายละเอียดความคมชัดของผิวดวงจันทร์ได้อย่างชัดเจน

 

วันที่ถ่ายภาพ             : 9 กรกฎาคม 2021 เวลา 01:00 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : Aurora Sky Roof Observatory ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

สภาพท้องฟ้า             : ท้องฟ้ามีเมฆสลับ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : Celestron 9.25" Schmidt-Cassegrain 2350mm F10 บนขาตั้งกล้อง ตามดาว Skywatcher EQ6 pro + ZWO ASI 290 mono +televue 2.5X และ FC60 + Daystar quark chromosphere Hydrogen Alpha Filter และ Canon 6D

ความไวแสง               : -

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : Video shot ละ 30 วินาที ในทุกสี RGB

ขนาดหน้ากล้อง          : 9.25 นิ้ว

ความยาวโฟกัส          : 2350mm x2.5

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : F10 x2.5

เทคนิคการถ่ายภาพ     : สำหรับดาวเคราะห์ ดวงพฤหัส ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดาวพุธ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ใช้โปรแกรม Fire capture ถ่ายเป็น Video เป็น shot shot ละ 30 วินาที ในทุกสี ทุก filter RGB ในทุกออฟเจค ยกเว้นดาวศุกร์ ที่ถ่ายด้วย Filter IR และ UV โดยถ่ายเป็น frame filterละ 15000 frame ส่วนรูปดวงจันทร์ถ่ายผ่านกล้องขนาด 9.25นิ้ว ผ่านกล้อง DSLR Canon6D โดยถ่ายเป็นวีดีโอ ถ่ายเสร็จในไป Stack ในโปรแกรม Autostakert แล้ว เพิ่ม wavelet ใน Registax5 แล้วนำไปเข้าโปรแกรม Winjupos หลังจากนั้นนำทุกภาพจากทุกฟิวเตอร์กลับเข้าไปแต่งภาพในโปรแกรม                            Photoshop ต่อไป สำหรับรูปดวงอาทิตย์ ถ่ายผ่านกล้อง Takahashi FC60 350mm  F5.9 + IR Cutoff และ Daystar quark chromosphere Hydrogen Alpha Filter โดยถ่ายเป็นวีดีโอจำนวน 5000 frame ถ่ายเสร็จในไป Stack ในโปรแกรม Autostakert แล้ว เพิ่ม wavelet ใน Registax5 หลังจากนั้นนำทุกภาพดวงอาทิตย์ กลับเข้าไปแต่งภาพ แก้ไขสี ในโปรแกรม Photoshop ต่อไป

ฟิลเตอร์                    : Daystar quark chromosphere Hydrogen Alpha Filter - IR cutoff - IR and UV filter

ฟิล์ม                        : -

 

 

วัตถุในระบบสุริยะ  :  รางวัลชมเชย

3 วัตถุในระบบสุริยะ 04

ชื่อภาพ           :   C/2021 A1 Leonard (Jan 3rd, 2022)

ผู้ถ่ายภาพ        :   นายนราธิป  รักษา

          ดางหาง C/2021 A1 Leonard ที่ปรากฏบนท้องฟ้าเวลาช่วงหัวค่ำ วันที่ 03/01/2565

วันที่ถ่ายภาพ             : 3 มกราคม 2022 เวลา 18:50 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : อ.นาแก จ.นครพนม

สภาพท้องฟ้า             : ปรอดโปร่ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : QHY268C / ES102mm FCD100 CF / Stellarvue 0.8X Reducer

ความไวแสง               : gain 60

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 60sec x 25, gain 60 /-10C / BIN1x1/Bias, Flat calibrated, No dark

ขนาดหน้ากล้อง          : 102mm

ความยาวโฟกัส          : 570mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : F7 + Stellarvue 0.8X Reducer

เทคนิคการถ่ายภาพ     : ใช้โปรแกรม SGPro ในการวางแผน จัดวางองค์ประกอบล่วงหน้า และถ่าย Multiple Exposer เพื่อทำ Median Stack เพิ่ม Signal-to-noise ratio

ฟิลเตอร์                    : Astronomik L2 UV/IR cut

ฟิล์ม                        : -

 

 

ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์

วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์  :  รางวัลชนะเลิศ

4 วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ 01

ชื่อภาพ         :  Yellowstone Hot Spring

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายวิศณุ  บุญรอด

          อุทยานแห่งชาติ Yellowstone ในรัฐ Montana ประเทศสหรัฐอเมริกามีบ่อน้ำพุร้อนมากมายอันเนื่องมากจากเป็นบริเวณที่มีลักษณะเป็นภูเขาไฟที่ยังคงตื่นตัวอยู่ ด้วยความห่างไกลจากเมืองใหญ่และอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 2,400 เมตร ทำให้ท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นสามารถสังเกตเห็นดวงดาวได้อย่างชัดเจน บ่อน้ำร้อนที่อยู่ในภาพคือบ่อน้ำร้อนที่ชื่อว่า Black Pool ในตอนกลางวันจะเห็นน้ำร้อนในบ่อเป็นสีฟ้าสดใส เนื่องจากความร้อนในบ่อที่มีน้ำร้อนประกอบกับยามค่ำคืนอุณหภูมิจะลดต่ำลงอย่างมาก ทำให้บ่อน้ำร้อนที่ปะทะกับอากาศเย็นปล่อยไอน้ำออกมาในปริมาณมากและต่อเนื่อง การถ่ายภาพต้องถ่ายภาพต่อเนื่องหลายๆ ภาพ จากนั้นมาเลือกใบที่มีไอน้ำบดบังน้อยที่สุด แล้วนำภาพเหล่านั้นไปใช้เทคนิค Median stacking เพื่อลดนอยส์และยังสามารถลดไอน้ำที่บดบังได้อีกด้วย

วันที่ถ่ายภาพ              : 12 กรกฎาคม 2018 เวลา 23:16 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : Yellowstone National Park, USA

สภาพท้องฟ้า             : ท้องฟ้ามืดสนิท ไร้เมฆ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : Nikon D810, Nikkor 14-24 f/2.8 G ED

ความไวแสง               : 10,000

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 15 วินาที x 12 ภาพ

ขนาดหน้ากล้อง          : f2.8

ความยาวโฟกัส : 14 mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : -

เทคนิคการถ่ายภาพ      : Median Stacking, Light Painting

ฟิลเตอร์                    : -

ฟิล์ม                        : -

 

 

วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

4 วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ 02

ชื่อภาพ         :  Long Twilight

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายวชิระ  โธมัส

          น้ำตกฝายเย็น(ผาลาด) อ.ลอง จ.แพร่ เป็นนำตก unseen แห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ แต่เดิมเป็นน้ำตกทางธรรมชาติที่มีขนาดไม่สูงใหญ่ แต่เมื่อมีการสร้างอ่างเก็บน้ำ ที่อยู่เหนือน้ำตกไป ทำให้น้ำตกนี้จะมีน้ำไหลลงมาเฉาพะช่วงปลายฤดูฝนเท่านั้น เนื่องจากน้ำจากอ่างเก็บน้ำมีมากจนล้นออกมา - ดังนั้นเราจะจะสารมรถเห็นน้ำตกที่สวยงามนี้ในช่วงปลายปี เท่านั้น การจะมาถ่ายทางช้างเผือกที่นี่ก็ต้องอาศัยจังหวะ และปริมาณของน้ำเช่นกัน - เพราะต้องรอช่วงที่ใจกลางทางช้างเผือกจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก - และต้องดูจังหวะที่ปริมาณน้ำของน้ำตกไม่มากเกินไป จะไม่สามารถยืนถ่ายหน้าน้ำตกได้ หรือ ถ้ามีน้อยเกินไปก็จะไม่สวยงามพอ

วันที่ถ่ายภาพ             : 6 พฤศจิกายน 2021 เวลา 19:00 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : น้ำตกฝายเย็น(ผาลาด) อ.ลอง จ.แพร่

สภาพท้องฟ้า             : มืด โปร่งใส

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : กล้องดิจิตอล Nikon D750 / เลนส์ Sigma 14mm

ความไวแสง               : 1600

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 60วินาที

ขนาดหน้ากล้อง          : -

ความยาวโฟกัส          : 14mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : f/1.8

เทคนิคการถ่ายภาพ     : ตั้งกล้องถ่ายทางช้างเผือกบนมอร์ตามดาว 1 ใบ และถ่ายถ่ายช้างหน้าโดยไม่เปิดมอร์เตอร์ตามดาวอีก 1 ใบ โดยที่ใช้ค่าการถ่ายเดียวกัน ถ่ายต่อเนื่องกัน โดยไม่ขยับขาตั้งกล้องไปไหนเลย / ก่อนจะนำมา blend กันในโปรแกรม Photoshop

ฟิลเตอร์                    :

ฟิล์ม                        : -

 

 

วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์  :  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

4 วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ 03

ชื่อภาพ         :  ทางช้างเผือก ณ จุดชมวิวเนิน 103 ดอยผาตั้ง

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายปฐมพงศ์  จันทโชติ

          จุดชมวิวเนิน 103 ดอยผาตั้ง เป็นจุดชมวิวในฝันที่อยากจะมายืนเพื่อถ่ายรูปคู่กับกาแลกซีทางช้างเผือกในช่วงต้นปี Foreground 16 mm f/4 6 sec iso 800 Milkyway Tracker On : Sky Watcher Star Adventurer 16 mm f/4 120 sec iso 2500 x10 Median stack

 

วันที่ถ่ายภาพ             : 13 กุมภาพันธ์ 2022 เวลา 04:50 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : เนิน 103 ดอยผาตั้ง จ.เชียงราย

สภาพท้องฟ้า             :

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : Sony A7 Mark2 , FE 16-35mm f/4, Skywatcher star adventurer

ความไวแสง               : 800-2500

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 20 นาที

ขนาดหน้ากล้อง          : f4

ความยาวโฟกัส          : 16 mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : -

เทคนิคการถ่ายภาพ     : Stacking & Blending

ฟิลเตอร์                    :

ฟิล์ม                        : -

 

 

วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์  :  รางวัลชมเชย

4 วิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ 04

ชื่อภาพ         :   ทางช้างเผือกกับปะการังพ้นน้ำ เกาะสุรินทร์

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายราเชนทร์  วงษ์เพิก

          ทางช้างเผือกกับปะการังพ้นน้ำ เกาะสุรินทร์ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในวันที่น้ำทะเลลดระดับลงต่ำมากๆ จะเห็นปะการังโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำได้แบบนี้

วันที่ถ่ายภาพ             : 4 มีนาคม 2022 เวลา 05:15 น.

สถานที่ถ่ายภาพ         : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อ.คุระบุรี จ.พังงา

สภาพท้องฟ้า             : ฟ้าโปร่ง มีเมฆบางส่วน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : Fuji XT4 + XF8-16mm F2.8

ความไวแสง               : 2500

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 10 sec

ขนาดหน้ากล้อง          : F 2.8

ความยาวโฟกัส          : 8 mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : 1.5

เทคนิคการถ่ายภาพ     : Long Exposure

ฟิลเตอร์                    : No

ฟิล์ม                        : No

 

 

ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก

ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก  :   รางวัลชนะเลิศ

5 ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก 01

ชื่อภาพ           :  2565 6 14 ปัญจสุริยา

ผู้ถ่ายภาพ        :  นายไกรสร  ไชยทอง

          อาทิตย์ทรงกลดแบบซับซ้อน (complex sun halos) ประกอบด้วย 1.วงกลมพาร์ฮีลิก (parhelic circle) 2.พาร์ฮีเลียน 120 องศา (120-degree parhelion) 3.พาร์ฮีเลียน (parhelions)

วันที่ถ่ายภาพ              : 14 มิถุนายน 2022 เวลา 09:37 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : อ.เบญจลักษ์

สภาพท้องฟ้า             : ปลอดโปร่ง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : insta360 one x2

ความไวแสง               : N/A

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : N/A

ขนาดหน้ากล้อง          : N/A

ความยาวโฟกัส : N/A

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : N/A

เทคนิคการถ่ายภาพ      : กล้อง 360 องศา

ฟิลเตอร์                    : -

ฟิล์ม                        : -

 

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก  :   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

5 ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก 02

ชื่อภาพ           :  Moondogs

ผู้ถ่ายภาพ        :  นายสุภฉัตร  วรงค์สุรัติ

          ปรากฏการณ์บรรยากาศที่สร้างขอบสีรุ้งหรือส่วนโค้งของแสงที่ด้านใดด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ แต่ดวงจันทร์ก็สามารถมีปรากฎการณ์นี้ได้เช่นกัน หรือที่เรียกว่าดวงจันทร์จำลอง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าพาราเซเลเน่ ? Moondogs ไม่ได้ถูกพบบ่อยเท่ากับ Sundogs.

วันที่ถ่ายภาพ              : 17 กรกฎาคม 2022 เวลา 01:45 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : เหนือประเทศอินเดีย

สภาพท้องฟ้า             : มีเมฆเล็กน้อย

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : กล้อง digital Sony

ความไวแสง               : 3200

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 1.5 sec

ขนาดหน้ากล้อง          : f2.8

ความยาวโฟกัส : 16mm

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : 1:1

เทคนิคการถ่ายภาพ      : ตั้ง timer เพื่อให้กล้องไม่สั่น

ฟิลเตอร์                    : -

ฟิล์ม                        : -

 

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก  :   รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

5 ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก 03

ชื่อภาพ         :  Red Sprites

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายภคิน  ทะพงค์

          ไฟล์ทจาก เมล์เบิร์น - กรุงเทพ ถ่ายที่ ความสูง 38,000 ฟุต เหนือสุลาเวสีของอินโดนีเซีย เวลา 01:30 เวลาท้องถิ่นประเทศไทย วันที่ 11 มิถุนายน 2562 เริ่มจากสังเกตเห็นฟ้าแลบอยู่ข้างหน้า จึงพยายามถ่ายภาพตรวจหายอดเมฆ cumulonimbus ใช้ในการประกอบการตัดสินใจร่วมกับภาพเรดาร์ตรวจสภาพอากาศของเครื่องบิน เพื่อที่จะได้นำเครื่องบินหลบออกจากบริเวณที่มีเมฆ จึงได้ภาพนี้มา ในตอนแรกที่ดูภาพคิดว่าเป็นแสงรบกวนจากเงาสะท้อนกระจก แต่เมื่อขยายและมองดูอีกทีจึงสังเกตได้ว่า เคยเห็นปรากฎการณ์นี้จากในหนังสือของอาจารย์บัญชามาแล้ว เมื่อเครื่องลงจอดแล้วจึงค้นหาข้อมูลใน google อีกทีเพื่อยืนยันว่าคือ Red sprites จริงๆ เนื่องจากอยู่บนเครื่องบิน ถ่ายผ่านกระจก และสภาพอากาศโดยรอบมีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลาจากกลุ่มเมฆ ประกอบกับเครื่องอยู่ในระหว่างการเลี้ยว จึงได้ดาวหมุนแบบสั่นไหวเป็นของแถมมาในภาพ

วันที่ถ่ายภาพ              : 11 มิถุนายน 2019 เวลา 01:30 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : ถ่ายจากในเครื่องบิน ไฟล์ทจาก เมล์เบิร์น - กรุงเทพ ความสูง 38,000 ฟุต เหนือสุลาเวสีของอินโดนีเซีย

สภาพท้องฟ้า             : มีเมฆมาก และพายุฝนฟ้าคะนองกระจายโดยรอบ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : กล้อง Canon 6D + Samyang 14/F2.8 manual focus

ความไวแสง               : 25600

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 10 วินาที

ขนาดหน้ากล้อง          : 2.8

ความยาวโฟกัส : 14

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : 5

เทคนิคการถ่ายภาพ      : Long Exposure

ฟิลเตอร์                    : no

ฟิล์ม                        : -

 

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก  :   รางวัลชมเชย

5 ปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก 04

ชื่อภาพ         :  Omega Sun ณ อันซีนสมุทรสาคร

ผู้ถ่ายภาพ      :  นายทรงพล  เทศกิจ

 

          ปรากฏการณ์ Omega Sun สิ่งมหัศจรรย์ที่สร้างสรรค์โดยธรรมชาติ ที่เกิดจากเงาสะท้อนกลับของดวงอาทิตย์จากชั้นบรรยากาศที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันของอากาศและอุณหภูมิของน้ำทะเล และมีศาลาพระกลางน้ำที่เป็นอันซีนสมุทรสาครอยู่ข้างเคียงกันในทะเล จึงเกิดเป็นภาพที่งดงาม ซึ่งภาพนี้ถ่ายได้จากบนเรือที่ออกไปในทะเล

วันที่ถ่ายภาพ             : 12 ธันวาคม 2021 เวลา 06:50 น.

สถานที่ถ่ายภาพ          : ตำบลพันท้ายนรสิงห์ จังหวัดสมุทรสาคร

สภาพท้องฟ้า             : ฟ้าโปร่ง มีเมฆเล็กน้อย

อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายถาพ : กล้องดิจิตอลCanon Eos M50เลนส์Canon EF 70-300mm f/4-5.6 IS II USM

ความไวแสง               : 400

เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : 1/800

ขนาดหน้ากล้อง          : 67mm.

ความยาวโฟกัส : 200mm.

อัตราส่วนความยาวโฟกัส : f12

เทคนิคการถ่ายภาพ      : ใช้สปีดชัตเตอร์ที่สูงเพื่อถ่ายภาพจากบนเรือที่โคลงจากคลื่นในทะเล

ฟิลเตอร์                    : -

ฟิล์ม                        : -

 

| Category: ข่าวประชาสัมพันธ์ | Hits: 4109