ข่าวทั้งหมด ข่าวดาราศาสตร์

นักถ่ายภาพดาราศาสตร์พบปรากฏการณ์ประหลาดบนดวงอาทิตย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับน้ำตก ที่มีความสูงมากกว่า 100,000 กิโลเมตร

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 3569

Read more ...

NASA ได้ทำวิดีโอจำลองหลุมดำยักษ์กว่า 10 แห่ง เปรียบเทียบขนาดกับระบบสุริยะของเรา หลุมดำที่ได้ชื่อว่าเป็น Supermassive นั้นมันใหญ่แค่ไหนกันแน่ รับชมได้ในวิดีโอนี้เลย

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 1252

Read more ...

26 เมษายน 2023 หอดูดาวซีกฟ้าใต้แห่งยุโรปหรือ ESO เผยแพร่ภาพหลุมดำยักษ์หรือ Supermassive Black Hole ที่ใจกลางกาแล็กซี M87 แสดงให้เห็นทั้งเงาของหลุมดำและลำอนุภาคพลังงานสูงที่หลุมดำปลดปล่อยออกมาในภาพเดียวกัน ซึ่งเป็นภาพในช่วงคลื่นวิทยุ นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถบันทึกภาพทั้งโครงสร้างของหลุมดำและลำอนุภาคพลังงานสูงได้ในคราวเดียวกัน ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจกลไกการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานของหลุมดำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 1503

Read more ...

22 มีนาคม 2023 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด ตรวจพบ “ยูราซิล (Urasil)” ในตัวอย่างดินของดาวเคราะห์น้อยริวงู (Ryugu) ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานของ RNA รวมถึงยังตรวจพบกรดนิโคตินิก (Nicotinic acid, Niacin) หรือวิตามินบี 3 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น ช่วยสนับสนุนสมมติฐานที่ทำนายว่า องค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลกนั้น มีการก่อตัวขึ้นในวัตถุอวกาศอื่น ๆ ในระบบสุริยะ และเมื่อวัตถุเหล่านี้พุ่งชนโลก จึงทำให้โลกของเรามีวัตถุดิบมากพอที่จะก่อตัวไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรารู้จักในปัจจุบันนี้ได้

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 473

Read more ...

วันที่ 6 เมษายน 2023 องค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA เปิดเผยภาพถ่ายดาวยูเรนัสจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ที่ปรากฏภาพของเมฆในชั้นบรรยากาศ วงแหวนสุดคมชัดถึง 11 ชั้น และดวงจันทร์ขนาดใหญ่อีก 6 ดวง

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 516

Read more ...

เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ประกาศรายชื่อนักบินอวกาศที่จะกลับไปเยือนดวงจันทร์เป็นกลุ่มแรก จำนวน 4 คน ในภารกิจอาร์ทีมิส 2 (Artemis 2) หลังจากเว้นช่วงสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์มานานกว่า 50 ปี นับตั้งแต่โครงการอะพอลโล ซึ่งภารกิจอาร์ทีมิส 2 นี้ จะพานักบินอวกาศเดินทางไปยังดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2024

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 628

Read more ...

“อวกาศ” เปรียบเสมือนน่านน้ำสากลที่ใหญ่ที่สุด ที่ปัจจุบันมีการส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากนานาประเทศทั่วโลก เพื่อประโยชน์ทั้งทางด้านการสำรวจทรัพยากร การศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ของโลก การติดต่อสื่อสารทางไกล ไปจนถึงด้านความมั่นคงของชาติหรือทางการทหาร ทำให้ภายในปี ค.ศ.2022 มีดาวเทียมที่ยังคงปฏิบัติภารกิจและโคจรอยู่รอบโลกมากกว่า 5,000 ดวง และด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดมากขึ้นในทุก ๆ วัน นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ภายในปี ค.ศ.2030 จะมีดาวเทียมโคจรอยู่รอบโลกมากถึง 60,000 ดวง

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 1546

Read more ...

6 กุมภาพันธ์ 2023 องค์การ NASA เผยว่า กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (JWST) ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่โดยบังเอิญภายในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก กลายเป็นวัตถุขนาดเล็กที่สุดที่ JWST สามารถสังเกตการณ์ได้ แสดงให้เห็นถึงความทรงพลังของ JWST ที่ไม่เพียงแต่สามารถมองลึกเข้าไปในเอกภพได้ไกลกว่ากล้องอื่น แต่ยังสามารถค้นพบวัตถุขนาดเล็กภายในระบบสุริยะของเราได้อีกด้วย

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 1395

Read more ...

24 กุมภาพันธ์ 2023 องค์การ NASA เผยแพร่ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบดินจากดาวเคราะห์น้อยริวงู (Ryugu) ที่ยานฮายาบูสะ-2 บินไปเก็บตัวอย่างกลับมายังโลกได้สำเร็จ พบว่า ดินตัวอย่างมีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์อยู่จำนวนมาก เป็นหลักฐานสำคัญสนับสนุนทฤษฎีที่คาดการณ์ไว้ว่า สารเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลกนั้น อาจเกิดจากดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้พุ่งชนโลกในอดีตกาล

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 1247

Read more ...

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2023 Minor Planet Center เผยแพร่ข้อมูลการค้นพบดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีเพิ่มอีก 12 ดวง ทำให้ขณะนี้ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารรวมทั้งสิ้น 92 ดวง แซงหน้าดาวเสาร์ที่มีดวงจันทร์บริวาร 83 ดวง ทวงตำแหน่งดาวเคราะห์ที่มีจำนวนดวงจันทร์เยอะที่สุดในระบบสุริยะกลับคืนอีกครั้ง

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 5334

Read more ...

22 กุมภาพันธ์ 2023 ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา เผยให้เห็นหลุมดำยักษ์ 2 คู่ในกาแล็กซีแคระ ที่กำลังมุ่งหน้าพุ่งชนกัน นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถติดตามการชนกันของหลุมดำยักษ์ได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ก่อนที่หลุมดำจะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว ช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจวิวัฒนาการของหลุมดำยักษ์ในช่วงแรกเริ่มของเอกภพได้มากยิ่งขึ้น

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 3257

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ร่วมทีมนักวิจัยนานาชาติสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ก่อนกำเนิดมวลมาก G358-MM1 โดยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ด้วยเทคนิค Very Long Baseline Interferometry (VLBI) สร้างแผนที่จานดาวฤกษ์ก่อนกำเนิด เผยให้เห็นถึงโครงสร้างแขนเกลียวรอบดาวฤกษ์ก่อนกำเนิดที่ศูนย์กลางจำนวนสี่แขนโดยรอบ ยืนยันทฤษฎีการก่อตัวของดาวฤกษ์ก่อนกำเนิด ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 : https://www.nature.com/articles/s41550-023-01899-w

| Category: ข่าวดาราศาสตร์ | Hits: 1982

Read more ...

NASA ค้นพบดาวเคราะห์คล้ายโลกเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ในระบบที่คล้ายกับระบบสุริยะ ภาพถ่ายดวงจันทร์ยูโรปาที่คมชัดที่สุดจากยานจูโน เก็บตกวันปีใหม่ รู้หรือไม่ ดาวอันคารก็มีวันปีใหม่ ! นักดาราศาสตร์พบเมฆลึกลับในอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง JWST สังเกตการณ์ระลอกคลื่นในอวกาศ จนพบว่าเป็นกลุ่มฝุ่นสารอินทรีย์ที่ถูกผลักด้วยแสงจากดาวฤกษ์ นักวิจัยพบว่าน้ำบนดาวอังคารอาจระเหยช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ยาน Parker Solar Probe เผยภาพพื้นผิวดาวศุกร์ในช่วงคลื่นที่ตามนุษย์มองเห็น 1 ดาว 18 ดวง ภาพแรกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์ ภาพใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกอันโกลาหล จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ MeerKAT ครั้งแรกของโลก! นักวิจัย สดร. ค้นพบระบบดาวเคราะห์น้อยที่มีดวงจันทร์บริวาร 3 ดวง
Page 1 of 15