ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศเรื่อง ผลการตัดสินการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ หัวข้อ "มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์" ประจำปี 2563

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดฉาก! สัปดาห์วิทยาศาสตร์ “NARIT SCIENCE WEEK 2020” พร้อมกันครั้งแรก 4 ภูมิภาค เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา สงขลา 17-23 สิงหาคม 2563 เวลา 09:00-17:00 น. พิเศษ! คืนวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม เวลา 18:00-22:00 น. จัดดูดาวท้องฟ้าจริง เข้าร่วมฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย และเพิ่มช่องทางร่วมกิจกรรมแบบออนไลน์สไตล์ New Normal ผ่าน NARIT Facebook Live 

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนน้อง ๆ เยาวชน และประชาชนที่สนใจเที่ยวงาน “NARIT SCIENCE WEEK 2020” สัปดาห์วิทยาศาสตร์สำหรับคนรักดวงดาว 17 - 23 สิงหาคม 2563 ทั้ง 4 ภูมิภาค เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา สงขลา เรียนรู้และสนุกกับกิจกรรมดาราศาสตร์หลากหลายรูปแบบ พิเศษ! ชมดาวบนท้องฟ้าจริงผ่านกล้องโทรทรรศน์ คืนวันเสาร์ 22 สิงหาคม 2563  และยังสามารถรับชม NARIT Facebook live : SciWeek 2020 รวมหลากหลายไอเดียกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ และร่วมพูดคุยกับนักดาราศาสตร์ ได้ทางหน้าเพจเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติเต็มอิ่มตลอดทั้งสัปดาห์

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย ดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับประเทศไทย ครั้งที่ 2 ของปี ช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน เริ่มจากเหนือสุดของประเทศเปลี่ยนตำแหน่งเคลื่อนลงทางใต้เรื่อยๆ สำหรับชาวกรุงเทพฯ ตรงกับวันที่ ในวันที่ 15 สิงหาคมนี้ เวลาประมาณ 12:22 น. หากยืนกลางแดดช่วงเวลาดังกล่าว เงาของร่างกายจะตกอยู่ใต้เท้าพอดี

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  ชี้แจงเสียงดังสนั่น ช่วงเย็นวันที่ 6 สิงหาคม 2563 อาจเกิดจากดาวตกขนาดใหญ่พุ่งผ่านท้องฟ้าด้วยความเร็วสูง เคยเกิดมาแล้วหลายครั้งในไทยและทั่วโลก ไม่พบรายงานความเสียหายหรือได้รับบาดเจ็บ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก เป็นเหตุการณ์ที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมกลับมาเปิดให้บริการอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตามปกติหลังคลายล๊อคดาวน์ในภาวะเฝ้าระวังโควิด-19 เริ่มสิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ให้บริการทุกวันอังคาร - วันอาทิตย์ พิเศษ! สงขลาจัดกิจกรรม NARIT Public Night ดูดาวผ่านกล้องโทรทรรศน์ทุกคืนวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. 

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เก็บภาพ “ดาวหางนีโอไวส์” คืนใกล้โลกที่สุด ห่างจากโลกประมาณ 103 ล้านกิโลเมตร ปรากฏสว่างบนท้องฟ้าพร้อมหางฝุ่นยาวกว่าสิบองศา เห็นด้วยตาเปล่า ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สดร.) เผยภาพ ดาวหางนีโอไวส์ เหนือฟ้าเชียงใหม่ ชี้ค่ำนี้ 23 กรกฎาคม 2563 จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด สังเกตได้ช่วงหลังดวงอาทิตย์ตก ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นโอกาสสุดท้ายที่จะได้เก็บภาพดาวหางดวงนี้ก่อนที่ความสว่างจะเริ่มลดลงและแสงดวงจันทร์จะเริ่มรบกวน 

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดสังเกตการณ์ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” คืน 21 กรกฎาคม 2563 ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง เชียงใหม่ โคราช ฉะเชิงเทรา สงขลา ในรูปแบบ New Normal ประชาชนทั่วประเทศแห่ชมราชาแห่งวงแหวนกันอย่างคึกคัก ปลายปีนี้ชวนจับตาอีกปรากฏการณ์สำคัญ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เคียงกันใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี

Read more ...

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยคนไทยมีลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ ประมาณวันที่ 18-23 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากโคจรออกห่างดวงอาทิตย์มากขึ้นและกำลังเข้าใกล้โลก  อีกทั้งยังสว่างมากพอที่จะสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ปรากฏในช่วงค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกถึงประมาณสามทุ่ม หากฟ้าใสไร้เมฆ ลุ้นชมด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย

 

pr20200720 2 01

pr20200720 2 02

 

นายศุภฤกษ์  คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ได้รับความสนใจจากนักดาราศาสตร์และผู้คนบนโลก เนื่องจากปรากฏสว่างเหนือน่านฟ้าหลายประเทศ ต่างพากันติดตามและบันทึกภาพดาวหางดังกล่าวเผยแพร่ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก 

ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางคาบยาว จากข้อมูลล่าสุดพบว่าโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลาประมาณ 6,767  ปี ค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศไวส์ (Wide-field Infrared Survey Explorer : WISE) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นอินฟราเรด ในโครงการสำรวจประชากรดาวเคราะห์น้อยและวัตถุใกล้โลก ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 เคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ที่ระยะห่าง 43 ล้านกิโลเมตร และจะเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกที่สุด ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 ที่ระยะห่าง 103 ล้านกิโลเมตร

 

pr20200720 2 03

pr20200720 2 04

 

นายศุภฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเทศไทย ในช่วงครึ่งแรกของเดือนกรกฎาคม 2563 ดาวหางนีโอไวส์ จะปรากฏในช่วงรุ่งเช้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ตำแหน่งใกล้ขอบฟ้ามาก และยังเพิ่งโคจรผ่านจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด จึงถูกแสงอาทิตย์กลบ สังเกตได้ค่อนข้างยาก แต่ในช่วงครึ่งหลัง ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป จะดาวหางนีโอไวส์จะเปลี่ยนมาปรากฏในช่วงหัวค่ำ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และความสว่างจะลดลงเรื่อยๆ แต่ยังคงสว่างในระดับที่ยังสามารถสังเกตการณ์ได้ด้วยตาเปล่า จึงเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้ยลโฉมและบันทึกภาพความสวยงามของดาวหางดวงนี้

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด คือช่วงวันที่ 18-22 กรกฎาคม 2563 เนื่องจากดาวหางเคลื่อนที่ห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควรแล้ว และคาดว่าจะมีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ 5 แม้เป็นช่วงแสงสนธยาก็มีโอกาสที่จะมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า หากท้องฟ้าบริเวณขอบฟ้าใสเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 21 กรกฎาคม เป็นคืนเดือนมืดไร้แสงจันทร์รบกวน เป็นโอกาสเหมาะที่จะเฝ้าสังเกตการณ์ดาวหางนีโอไวส์ด้วยตาเปล่า ส่วนวันที่ 23 กรกฎาคม แม้เป็นช่วงที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด แต่จากข้อมูลพบว่าดาวหางจะมีค่าค่าความสว่างลดลง รวมทั้งในคืนดังกล่าวตรงกับคืนดวงจันทร์ขึ้น 2 ค่ำ อาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย ทั้งนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนที่มีเมฆมาก บริเวณใกล้ขอบฟ้ามีเมฆปกคลุมค่อนข้างหนา จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการสังเกตการณ์ดาวหางดังกล่าว  และหลังจากนั้นความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้  นายศุภฤกษ์กล่าว

 

pr20200720 2 05

 

ตามที่นักดาราศาสตร์ได้คำนวณค่าอันดับความสว่างปรากฏของดาวหางนีโอไวส์ ขณะนี้ได้ผ่านช่วงสว่างมากที่สุดไปแล้ว  แต่จากการสังเกตการณ์จริงพบว่าความสว่างไม่ได้ลดลงดังเช่นที่คำนวณไว้  จึงส่งผลดีต่อผู้สังเกตบนโลกที่จะยังคงมองเห็นดาวหางปรากฏสว่าง นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2563 ที่ผ่านมา Planetary Science Institute's Input/Oput facility  ยังพบว่า ดาวหางนีโอไวส์ปรากฏหางฝุ่นและหางไอออนแยกออกจากกันอย่างชัดเจน  สำหรับหางไอออนนั้นพบว่าเป็นหางโซเดียม จะสามารถสังเกตเห็นเฉพาะดาวหางที่สว่างมากๆ เท่านั้น ดังเช่น ดาวหางเฮล-บอปป์ (Hale–Bopp) และ ดาวหางไอซอน (ISON) และจากการศึกษาในย่านรังสีอินฟราเรดพบว่านิวเคลียสของดาวหาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 กิโลเมตร มีขนาดใกล้เคียงกับดาวหางสว่างในอดีตอย่าง ดาวหางเฮียกูตาเกะ (Hyakutake) และดาวหางคาบสั้นอื่นๆ อีกหลายดวง 

สำหรับชาวไทยที่สนใจชมและถ่ายภาพดาวหางดวงนี้ สามารถติดตามได้ในช่วงวันและเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม 2563 ยังเป็นวันที่ดาวเสาร์โคจรมาใกล้โลกที่สุดในรอบปี สดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์วงแหวนดาวเสาร์ในคืนใกล้โลกที่สุดในรอบปี 4 จุดสังเกตการณ์ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลาตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ร่วมลุ้นชมดาวหางนีโอไวส์ ในวันดังกล่าวด้วย ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.facebook.com/NARITPage นายศุภฤกษ์ กล่าวปิดท้าย

 

 

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

โทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250

E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.    Website : www.narit.or.th

Facebook : www.facebook.com/NARITpage

Twitter : @NARIT_Thailand,  Instagram : @narit_thailand

Call Center กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทร. 1313

 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผย 21 กรกฎาคม 2563 "ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี”  ปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นานตลอดคืนถึงรุ่งเช้า หากฟ้าใสไร้ฝนสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคทั่วไทย เตรียมตั้งกล้องโทรทรรศน์ ส่องวงแหวนของดาวเสาร์ ณ 4 จุดสังเกตการณ์หลักที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น. เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

Read more ...

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปีอวดโฉมชัดเหนือฟ้าเชียงใหม่ ชวนชม "ดาวศุกร์สว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในปี 2563" เช้ามืด 8 ก.ค. นี้ เชิญชวนส่งผลงานเข้าประกวด “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ประจำปี 2563  เชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2563 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” สดร. เผยชาวไทยสนใจชม “สุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย” คึกคักทั่วประเทศ 21 มิถุนายนนี้ ชม "สุริยุปราคาบางส่วน" ใน "วันครีษมายัน" กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี สดร. แนะวิธีชม “สุริยุปราคาบางส่วน” 21 มิถุนายน นี้ อย่างปลอดภัยไร้กังวล สดร. พร้อมเปิดอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร หอดูดาวภูมิภาคโคราช ฉะเชิงเทรา  พร้อมมาตรการด้านสุขอนามัย เสริมความมั่นใจแก่ผู้มาใช้บริการ เริ่ม 19 มิถุนายน นี้ 21 มิถุนายน นี้ ชวนชมสุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย จันทรุปราคาเงามัว เช้ามืด 6 มิ.ย. 63
Page 10 of 21