สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยภาพดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปีสุดอลังการ คืนมาฆบูชา 19 กุมภาพันธ์ 2562 ชาวไทยให้ความสนใจรอชมทั่วประเทศ 

 

pr20190220 2 01

        นายศุภฤกษ์  คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ดวงจันทร์เต็มดวงโผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออก สังเกตเห็นได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:15 น. ปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ที่ระยะห่างประมาณ 356,836 กิโลเมตร หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี จะมีขนาดใหญ่กว่า 14% และสว่างกว่า 30% สร้างความตื่นตาให้กับประชาชนกว่าพันชีวิตที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มใกล้โลกที่สุดในรอบปี ทั้ง 4 จุดสังเกตการณ์ ได้แก่ หอดูดาว อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา และ บริเวณลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา ต่างพากันชมดวงจันทร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์หลายรูปแบบ จดจ้องรายละเอียดหลุมอุกกาบาตและภูเขาบนดวงจันทร์ พร้อมบันทึกภาพความสวยงามของดวงจันทร์ด้วยความตื่นเต้น 

pr20190220 2 02

pr20190220 2 03

บรรยากาศกิจกรรมสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ณ อุทยานดาราศาสตรสตร์สิรินธร

pr20190220 2 04  pr20190220 2 05  pr20190220 2 06 

(จากซ้ายไปขวา) บรรยากาศกิจกรรมสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา และ บริเวณลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา

        ด้านโรงเรียนเครือข่ายในโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัด ที่รับมอบกล้องโทรทรรศน์จากสดร. ได้นำกล้องโทรทรรศน์มาจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี เชิญชวนนักเรียนและชุมชนรอบข้างร่วมชมดวงจันทร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ คึกคักไม่แพ้กัน

pr20190220 2 07

pr20190220 2 08

        แม้ว่าดวงจันทร์จะโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่อาจไม่ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง สำหรับ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี” ครั้งต่อไปตรงกับวันที่ 8 เมษายน 2563 ห่างประมาณ 357,022 กิโลเมตร นายศุภฤกษ์กล่าว

 

 

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250 
E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.     Website : www.narit.or.th
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @N_Earth   Instagram : @NongEarthNARIT
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313