ค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน

ค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน หรือที่รู้จักกันในชื่อ ค่าย NAS เป็นค่ายสำหรับเรียนรู้การจัดกิจกรรมในชมรมดาราศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้การจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์สำหรับนักเรียน/นักศึกษา/ครูอาจารย์ ที่มีความสนใจและนำความรู้รวมถึงประสบการณ์ที่ได้รับถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจในสถานศึกษาหรือชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง โดยตลอดระยะเวลาการอบรม ชมรมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้สภาพท้องฟ้าที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ได้สัมผัสกับความสวยงามของหมู่ดาวและวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ ที่หาชมได้ยาก ได้เรียนรู้การทำงานของนักดาราศาสตร์มืออาชีพ ทั้งการศึกษาวัตถุท้องฟ้าและการใช้งานกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงได้ลงมือสัมผัสการทำงานจริงของนักดาราศาสตร์และนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ฝึกการบรรยายให้ความรู้และจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ การใช้งานกล้องโทรทรรศน์กับฐานระบบพิกัดท้องฟ้า การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ เช่น ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ดาวเคราะห์ วัตถุในห้วงอวกาศลึก ภาพถ่ายเส้นแสงดาว เป็นต้น ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางหรือต่อยอดสำหรับกิจกรรมของชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนต่อไป นอกเหนือไปจากความรู้และประสบการณ์ที่จะได้รับตลอดกิจกรรมแล้ว น้อง ๆ จะได้พบและใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อน ๆ ต่างชมรม ต่างโรงเรียน ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ทั้งความสนุกสนานจากกิจกรรมสันทนาการของเพื่อน ๆ และทีมงาน ในค่าย NAS ตลอดระยะเวลา 4 วัน 3 คืน

cover-image

เกี่ยวกับโครงการ

ตามที่ สถาบันวิจัยดาราศาสตรแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานด้านดาราศาสตร์และพัฒนาเทคโนโลยีที่ เกี่ยวข้องของประเทศไทย
มีพันธกิจหลักสำคัญประการคือการให้บริการวิชาการ สร้างนวัตกรรม การเรียนรู้ และสื่อสาร ดาราศาสตร์สู่สังคม เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทั้งนี้สถาบันฯ ได้ดำเนินโครงการค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรม ดาราศาสตร์ในโรงเรียนมาตั้งแต่ปี 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรม
ดาราศาสตร์ในโรงเรียน สร้างความ ตระหนัก และความตื่นตัวทางดาราศาสตร์ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจ และความสนใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

ดังนั้น สถาบันฯ จึงจัดกิจกรรมค่ายดาราศาสตร์สำหรับชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนขึ้น ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร จังหวัดเชียงใหม่และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ภูมิภาค ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา สงขลา และขอนแก่น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานทางดาราศาสตร์ที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์
  2. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ทักษะและประสบการณ์ไปเผยแพร่และจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน
  3. เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชมรมดาราศาสตร์ในแต่ละโรงเรียน
  4. เพื่อกระตุ้น และส่งเสริมการจัดกิจกรรมในชมรมดาราศาสตร์และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนมีความสนใจ วิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

ชมรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนมัธยม ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำกิจกรรมทางดาราศาสตร์ เกณฑ์การพิจารณาจะยึดตามหลักฐานการทำกิจกรรมเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หรือการเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์สู่ชุมชนเป็นหลัก ทั้งหมดจำนวน 10 ชมรม โดยแต่ละชมรมจะสามารถส่งตัวแทนมาเข้าร่วมกิจกรรม 3 คน และครูที่ปรึกษา 1 คน