นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเก่าแก่ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งมีร่องรอยของเอกภพในยุคแรกเริ่ม

12 มกราคม 2559
ทีมงานนักดาราศาสตร์นานาชาตินำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียค้นพบดาวฤกษ์เก่าแก่ในกาแล็กซีของเราซึ่งมีเบาะแสสำคัญเกี่ยวกับเอกภพในยุคเริ่มแรกรวมทั้งข้อมูลว่าดาวฤกษ์ดวงแรกๆแตกดับไปอย่างไร
ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงตัว
12 มกราคม 2559
กลับมาให้ชมอีกครั้งสำหรับปรากฏการณ์การเรียงตัวของดาวเคราะห์ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2547-2548 ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์พร้อมกันทั้งห้าดวง (ดาวพุธ, ดาวศุกร์, ดาวอังคาร, ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์) เรียงตัวกัน ครั้งถัดไปที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 29 มกราคม 2559 บริเวณขอบฟ้า ทางด้านทิศตะวันออก จนถึงเช้ามืดของสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งถือว่าโอกาสที่ดีสำหรับผู้รอชมปรากฏการณ์ดังกล่าว เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากปรากฏการณ์หนึ่งในทางดาราศาสตร์ และเนื่องจากยังเป็นช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย สภาพอากาศที่เหมาะสมไม่ค่อยมีเมฆ จึงเหมาะแก่การรับชมปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง
วันขึ้นเดือนใหม่ (เดือนที่ 4) เดือนรอบีอุ้ล อาเคร (Rabiul Akhir) ฮ.ศ.1437

11 มกราคม 2559
เนื่องจากวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2558 ที่ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอบิอุล เอาวัล (Rabiul Awal) (เดือนที่ 3) ฮ.ศ.1437 ดังนั้้นวันที่นักดาราศาสตร์อิสลามหรือผู้ที่สนใจที่ติดตามดวงจันทร์ จะออกมาทำการสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (hilal) ในครั้งต่อไปคือ เวลาหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันที่ 29 เดือนรอบิอุล เอาวัล ซึ่งจะตรงกับวันอาทิตย์วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2559 เพื่อที่จะกำหนดวันเวลาเริ่มต้นเดือนใหม่คือ เดือนรอบีอุ้ล อาเคร (Rabiul Akhir) ฮ.ศ. 1437 ซึ่งถ้าผลของการสังเกตการณ์ในวันเวลาดังกล่าวมีผู้คนสามารถเห็นจันทร์เสี้ยวแรก (hilal) ได้ ก็จะนับได้ว่า เวลาหลังจากดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2559 เป็นวันเวลาเริ่มต้นเดือนใหม่ (เดือนที่ 4) คือ วันที่ 1 เดือนรอบีอุ้ล อาเคร (Rabiul Akhir) ฮ.ศ. 1437 แต่ถ้าหากไม่มีผู้ใดที่สามารถเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรก (hilal) เวลาเริ่มต้นเดือนรอบีอุ้ล อาเคร (Rabiul Akhir) ฮ.ศ. 1437 ก็จะเป็นเวลาหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า ของวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2559 ทันที
จรวดฟอลคอน 9 (จรวดลำแรกที่ส่งดาวเทียมแล้วกลับสู่พื้นโลกได้)

8 มกราคม 2559
ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2015 ที่ผ่านมานี้
จรวดฟอลคอน 9 ของบริษัท SpaceX สามารถลงจอดได้สำเร็จใกล้ๆกับฐานส่งจรวดหลังจากถูกส่งขึ้นไปเพื่อปล่อยดาวเทียม 11 ดวงเข้าสู่วงโคจรแล้ว (รูป1)