สดร. เผยภาพ “จันทร์เพ็ญดวงโต คืน 3 ธันวาคม”

4 ธันวาคม 2560
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยภาพดวงจันทร์ช่วงหัวค่ำวันที่ 3 ธันวาคม 2560 เป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ระยะห่างประมาณ 357,973 กิโลเมตร จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หรือมักเรียกว่า “ซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) ภาพดังกล่าวบันทึกไว้เมื่อเวลาประมาณ 19:00 น. ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม
สดร. ชวนชมจันทร์เพ็ญดวงโตคืน 3 ธันวาคมนี้

28 พฤศจิกายน
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยคืนวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกที่ระยะห่าง 357,973 กิโลเมตร จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย หรือมักเรียกว่า “ซูเปอร์ฟูลมูน” (Super Full Moon) ดูได้ด้วยตาเปล่าทั่วประเทศ ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 น. เป็นต้นไป เชิญชวนผู้สนใจเฝ้ารอชมความสวยงามของดวงจันทร์ในคืนดังกล่าว หนุนโรงเรียนในโครงการกระจายโอกาสเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัดฯ ที่รับมอบกล้องจากสดร. จัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แก่นักเรียนและชุมชน “ส่องจันทร์เพ็ญดวงโต” แบบเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์
สดร. จัดประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) ครั้งที่ 4 ระดมเยาวชนทั่วประเทศเสนอผลงานวิจัยดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน 2-3 ธันวาคมนี้ที่ จ.เชียงใหม่

28 พฤศจิกายน 2560
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ จัดการประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) ครั้งที่ 4 (The 4 th Thai Astronomical Conference (Student Session) : TACS2017 ) ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุมสวรรคโลก โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ระดมยุววิจัยทั่วประเทศร่วมนำเสนองานวิจัยดาราศาสตร์ระดับโรงเรียนกว่า 73 โครงงาน เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดาราศาสตร์ผ่านงานวิจัยและการทำโครงงานดาราศาสตร์พื้นฐาน หวังสร้างเครือข่ายและพัฒนายุววิจัยไทยดันสู่เวทีสากล พร้อมจัดเสวนา “เส้นทางสู่ดาวอังคาร...ฝันอันยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ” วันเสาร์ที่ 2 ธันวาคม 2560 เวลา 16:00-17:30 น. เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
LIGO ตรวจพบหลุมดำคู่ขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยตรวจจับได้

24 พฤศจิกายน 2560
ตั้งแต่ปี 2015 LIGO ได้ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงมาแล้ว 6 ครั้ง เป็นการชนกันของหลุมดำ 5 ครั้งและอีกหนึ่งครั้งเป็นการชนกันของดาวนิวตรอน ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 นักดาราศาสตร์ออกมาประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงที่เคยตรวจจับได้เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน จากห้องปฏิบัติการของ LIGO ซึ่งเป็นการชนกันของหลุมดำขนาดเล็กที่สุดเท่าที่นักดาราศาสตร์เคยค้นพบ มันถูกเรียกชื่อว่า GW 170708
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ใกล้เราและอาจมีสิ่งมีชีวิตได้

22 พฤศจิกายน 2560
การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามตอบคำถามที่สำคัญอย่างยิ่งว่า “สถานที่อื่นๆในเอกภพเรามีสิ่งมีชีวิตหรือไม่?” แน่นอนมันเป็นคำถามที่ตอบยากมาก แต่ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมานี้ การศึกษาเรื่องดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะคืบหน้าไปแบบก้าวกระโดด
เนื้อหาอื่นๆ...
- ครั้งแรกของการมาเยือนของดาวเคราะห์น้อยนอกระบบสุริยะ
- สดร. ชวนชมฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18 พ.ย. นี้
- สดร. ตั้งกล้องโทรทรรศน์ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทอดพระเนตรวัตถุท้องฟ้าและทรงถ่ายภาพดาราศาสตร์จากซีกฟ้าใต้ ณ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต
- สดร. ชวนตื่นเช้าชมดาวศุกร์เคียงดาวพฤหัสบดี 13 พฤศจิกายนนี้
- อีกก้าวหนึ่งของการตามล่าหาดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะ