กล้องถ่ายภาพทั่วท้องฟ้า

Sky Camera

cover-image

ที่มา
การใช้กล้องโทรทรรศน์เพื่อเก็บข้อมูลวัตถุท้องฟ้่าในงานวิจัยดาราศาสตร์ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมของท้องฟ้าบริเวณนั้นว่าเอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์หรือไม่ ดังนั้น การกำหนดที่ตั้งของหอดูดาวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของท้องฟ้าในบริเวณนั้นมาประกอบการตัดสินใจสร้างหอดูดาว หรือติดตั้งกล้องโทรทรรศน์
นอกจากนี้ ในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์จำเป็นต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของท้องฟ้าในบริเวณนั้น อาทิ อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม ฯลฯ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเก็บข้อมูลเพื่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ต้องเก็บข้อมูลต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน กล้องถ่ายภาพทั่วท้องฟ้าทีี่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ไม่ได้ถูกออกแบบเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยดาราศาสตร์ที่ต้องการความแม่นยำสูง นำมาสู่การใช้เทคโนโลยีเมคาทรอนิกส์ ออกแบบ และพัฒนา “กล้องถ่ายภาพทั่วท้องฟ้า” ที่ตอบสนองการทำงานวิจัยดาราศาสตร์อย่างครบวงจร สามารถเชื่อมต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์อย่างชาญฉลาด

สำเนาของ 20240401 162958

วัตถุประสงค์
เพื่อสร้าง “กล้องถ่ายภาพทั่วท้องฟ้า” รองรับการสังเกตการณ์เพื่องานวิจัยดาราศาสตร์

ลักษณะเฉพาะ
ภาพถ่ายมีความคมชัด สีสันสวยงาม ทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถแสดงภาพวัตถุต่าง ๆ บนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน 
ติดตั้งง่ายจบในตัวอุปกรณ์ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมเพิ่มเติม  รองรับระบบเครือข่ายสำหรับการส่งข้อมูลหลากหลายประเภท 
ทนทานต่อสภาพอากาศภายนอก รับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งยวดได้ดีในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก 
สามารถติดตั้งในพื้นที่ที่ทุรกันดาร และระบบอินเทอร์เน็ตแบบสายเข้าไม่ถึง
สามารถส่งออกข้อมูลภาพผ่านในหลายช่องทาง 

2024 04 20  10 00 00 Hdr 0 2024 04 20  04 31 16 0

บริบทในท้องตลาด
อุปกรณ์ลักษณะใกล้เคียงกัน มีจำหน่ายทั่วไป

มูลค่าปัจจุบันในท้องตลาด
ราคาประมาณ 140,000 บาท

ราคาต้นทุน     
ประมาณ 70,000 บาท

การต่อยอดนวัตกรรม/ ขยายผลเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
สามารถรองรับงานวิจัยที่ต้องใช้ข้อมูลสภาพท้องฟ้า อาทิ การศึกษาก้อนเมฆ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การตรวจจับวัตถุแปลกปลอมบนน่านฟ้า ฯลฯ

ทีมพัฒนาผลงาน
 1. นายภควัต ประสิทธิ์ วิศวกร
2. นายกฤษฎา ปาลี วิศวกร
 3. นายจักรพันธ์ กิตกรอง วิศวกร
 4. นางสาวถลัชนันท์ สลัดทุกข์ วิศวกร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
 งานวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์ ศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาวและวิศวกรรม 
E-mail [email protected]