ที่มา
กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เมตร สามารถรับสัญญาณคลื่นความถี่ได้ในช่วงตั้งแต่ 300 MHz ถึง 115 GHz มีกำลังขยายสัญญาณวิทยุสูง เพื่อค้นหาสัญญาณจากวัตถุท้องฟ้าที่มีกำลังงานต่ำมาก และอาจมีกำลังงานน้อยกว่าสัญญาณจากโทรศัพท์มือถือถึง 1015 เท่า จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวัง และป้องกันสัญญาณรบกวนที่อาจเกิดขึ้น อันจะมีผลต่อการเก็บข้อมูลที่นำมาศึกษาวิจัยได้
NARIT จึงออกแบบและพัฒนาระบบเฝ้าระวังสัญญาณรบกวนวิทยุขึ้น เพื่อให้ทราบแหล่งที่มาของสัญญาณรบกวนในทุกทิศทาง (360 องศา) และลดข้อผิดพลาดขณะทำงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลคลื่นวิทยุที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทราบถึงที่มาของสัญญาณวิทยุโดยรอบพื้นที่หอสังเกตุการณ์ดาราศาสตร์วิทยุ และสามารถระบุทิศทางแหล่งที่มาของสัญญาณที่คาดว่าเป็นสัญญาณรบกวนที่อาจส่งผลกระทบต่อภาครับสัญญาณของกล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาติ
ลักษณะเฉพาะของผลงาน
- สามารถบันทึกข้อมูลสัญญาณวิทยุได้ในทิศทาง 360 องศาในแนวระนาบและสามารถเคลื่อที่ในมุมเงย 0 ถึง 90 องศา
- ระบบรับสัญญาณแบบจานสะท้อนสามารถตรวจวัดกำลังงานและทิศทางที่แม่นยำ
- สามารถบันทึกข้อมูลสัญญาณที่ได้ตั้งค่าไว้อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลสัญญาณวิทยุ ทิศทางและช่วงเวลาที่บันทึก
- สามารถปรับย่านความถี่ที่ต้องการบันทึกข้อมูลสัญญาณวิทยุจากการเลือกใช้เครื่องมือตรวจวัดทางไฟฟ้าที่เหมาะสมกับงาน
- สามารถสร้างเป็นแผนที่ของกำลังของสัญญาณวิทยุในรูปแบบมุมมองแบบนก (Bird’s eye view) หรือแบบซีกโลก (Hemisphere) ที่ช่วยให้มองเห็นถึงองค์รวมของสัญญาณวิทยุโดยรอบ
บริบทในท้องตลาด
ปัจจุบันระบบเฝ้าระวังสัญญาณรบกวนวิทยุแบบสำเร็จรูปยังไม่มีจำหน่ายทั้งภายในและนอกประเทศ เนื่องจากลักษณะการทำงานเป็นรูปแบบเฉพาะในส่วนงานนั้นๆ ทว่า การเฝ้าระวังสัญญาณรบกวนวิทยุ และการตรวจวัดสัญญาณวิทยุต้องมีการดำเนินการในทุกๆพื้นที่ ที่มีการใช้งานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุเนื่องจากกิจการวิทยุดาราศาสตร์เป็นกิจการที่เน้นการใช้งานในรูปแบบการรับสัญญาณเท่านั้น โดยทั่วไประบบเฝ้าระวังฯ ที่สามารถพบได้ในท้องตลาดจะมีการรับสัญญาณในย่านแคบกว่ากิจการวิทยุดาราศาสตร์ เช่น กิจการโทรคมนาคม กิจการวิทยุนำทาง หรือกิจการอื่นๆที่การใช้งงานคลื่นความถี่วิทยุ
มูลค่าปัจจุบันในท้องตลาด
เนื่องจากระบบเฝ้าระวังสัญญาณรบกวนวิทยุ เป็นระบบที่มีการใช้งานเฉพาะกิจการวิทยุดาราศาสตร์และไม่มีการแสดงราคาหรือมูลค่าทางการตลาด เนื่องจากความยืดหยุนของช่วงความถี่วิทยุ ยิ่งมีการใช้งานที่ความถี่สูงยิ่งต้องใช้ต้นทุนที่สูงขึ้นตามลำดับ
ราคาต้นทุน
ต้นทุนการพัฒนาประมาณ 3,000,000 บาท สำหรับตรวจวัดสัญญาณสัญญาณวิทยุที่ย่านความถี่ 1 – 18 GHz
การต่อยอดนวัตกรรม/ขยายผลเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
ระบบเฝ้าระวังสัญญาณรบกวนวิทยุยังอยู่ในขั้นพัฒนาจึงยังไม่สามารถระบุมูลค่าและทิศทางในเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน ทว่าด้วยคุณสมบัติการระบุทิศทางและกำลังงานของสัญญาณวิทยุในทิศทางโดยรอบจึงมีความเหมาะสมต่อผู้ที่มีความสนใจทางด้านการใช้งานคลื่นวิทยุในทุกๆด้าน เช่น นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ตลอดจนสามารถนำไปใช้งานตรวจวัดเชิงพาณิซย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสัญญาณวิทยุและสัญญาณรบกวน
ทีมพัฒนาผลงาน
นายทรงกลด ปัญญาวารินทร์ วิศวกรวิจัย
นายนายณัฐพงษ์ ดวงฤทธิ์ วิศวกร
นายภานุพันธ์ ดุมคำ วิศวกร
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์วิศวกรรมเทคโนโลยีดาราศาสตร์วิทยุ
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053 121 268 ต่อ 804