อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ

MOON AIMING THAI-CHINESE HODOSCOPE (MATCH)

cover-image

ที่มา
อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ เป็น 1 ใน 7 อุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์นานาชาติที่รองรับภารกิจโคจรรอบดวงจันทร์ของยานฉางเอ๋อ 7 สำหรับตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูง ได้แก่ โปรตรอน [25 MeV - 100 MeV] อัลฟา [60 MeV - 400 MeV] และอิเล็กตรอน [1.0 MeV - 120 MeV] ภายใต้รังสีคอสมิกในอวกาศ รวมทั้งศึกษาผลกระทบระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ อันเนื่องมาจากอนุภาคที่ตรวจวัดได้ การศึกษาสภาพอวกาศ หรืออนุภาคพลังงานสูงในห้วงอวกาศ เป็นปัจจัยด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มีผลกระทบต่อชีวิต และกิจกรรมของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เช่น พายุสุริยะ ที่ผิวดวงอาทิตย์เกิดการระเบิดลุกจ้า ปลดปล่อยอนุภาคประจุไฟฟ้าออกมาจำนวนมหาศาล ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้ จะรบกวนระบบดาวเทียม การสื่อสาร สภาพการผลิตพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบไฟฟ้าแรงสูง ดังนั้น การศึกษาปัจจัย ตลอดจนแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ จะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยด้านสภาพอวกาศได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
ยานฉางเอ๋อ 7 เป็นหนึ่งในการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการจัดตั้งสถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์ของจีน (International Lunar Research Station: ILRS)  ที่ดำเนินการโดยองค์การอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) เป็นโครงการวิทยาศาสตร์​ขนาดใหญ่ที่มีความท้าทายยิ่ง และเป็นรากฐานของการสำรวจอวกาศห้วงลึกในอนาคต

วัตถุประสงค์ 
เพื่อขับเคลื่อนนักวิจัย และวิศวกรไทยเข้าสู่โครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้นแนวหน้า และมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้ในบริบทใหม่ของโลก ภายใต้โครงการวิจัยระดับนานาชาติ
เพื่อให้ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์ในพันธกิจตรวจวัดสภาพอวกาศ ให้สามารถใช้งานได้จริงในสภาวะอวกาศแบบสุดขั้ว ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างวิศวกรไทย-จีน ตลอดจนการถ่ายทอดทักษะประสบการณ์ ตรรกะการออกแบบอุปกรณ์สำหรับอวกาศยาน  เพื่อใช้เป็นรากฐานสำหรับโจทย์วิจัยและพัฒนาขั้นสูงสุดในการพัฒนาบุคลากรในประเทศ

02 Sino Thai Sensor Package for Space Weather Global Monitoring

ลักษณะเฉพาะของผลงาน
อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ จะติดตั้งไปกับยานโคจรรอบดวงจันทร์ (lunar obiter) ของภารกิจฉางเอ๋อ 7 ซึ่งจะโคจรที่ระดับความสูงประมาณ 200 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ ตัวอุปกรณ์มีน้ำหนักประมาณ 4,900 กรัม ขนาดประมาณ 130 x 110 x 250 มิลลิเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) ประกอบด้วย ตัวตรวจวัดซิลิกอน 7 ชั้น เพื่อจำแนกอัตลักษณ์ของอนุภาคพลังงานสูงแต่ละชนิด ทิศทางของอนุภาคมีประจุ รวมถึงอิทธิพลของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์ที่มีต่ออนุภาคเหล่านี้ แบ่งออกเป็น
ส่วนบน จำนวน 3 ชั้น ศึกษาอนุภาคอิเล็กตรอนจากอวกาศ เพื่อทราบแหล่งกำเนิด (ทิศทาง เวลา ตำแหน่ง พลังงาน และความเข้มของอนุภาค) วางตำแหน่งในทิศทางหันออกจากดวงจันทร์ 
ส่วนกลาง จำนวน 1 ชั้น เป็นผลึกคริสตัล สำหรับรับสัญญาณเชิงแสง เพื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิทัลเข้าสู่ชิปประมวลผล จากนั้นจะแปลงเป็นข้อมูลการวัดเชิงฟิสิกส์ เช่น ตำแหน่ง ความหนาแน่น เวลา เป็นต้น สื่อสารส่งข้อมูลมายังยานฉางเอ๋อ  และส่งกลับมายังโลก
ส่วนล่าง จำนวน 3 ชั้น ศึกษาไอออนสะท้อนจากผิวดวงจันทร์ เพื่อทราบปัจจัยการสะท้อนกลับ (Albedo) วางตำแหน่งในทิศทางชี้เข้าหาดวงจันทร์
 
การต่อยอดนวัตกรรม/ขยายผลเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาอุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์รังสีภาคพื้น เครื่องมือวัดเชิงรังสีทางการแพทย์ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเร่งอนุภาค

ทีมพัฒนาผลงานฝ่ายไทย

  1. Senior Payload Scientist 
    ศาสตราจารย์ ดร. เดวิต รูฟโฟโร
    ม. มหิดล
  2. Project manager 
    ดร. พีรพงศ์  ต่อฑีฆะ
    NARIT
  3. System Engineer 
    นายชารีฟ มนูทัศน์
    NARIT
  4. GNC  Engineer 
    นายธนายุทธ  ปัญญาเลิศ
    NARIT 
  5. Aerospace Engineer 
    นายภพฟ้า  เจริญวิชา
    NARIT
  6. Aerospace Engineer 
    นายธนวิชญ์  ม้าศรี
    NARIT
  7. Mechatronics Engineer 
    นายภากร คลอนศรี
    NARIT
  8. Payload Electrical Engineer 
    นางสาวสัณห์ฤทัย บุรมย์
    NARIT
  9. Astrophysics Scientist 
    ผศ.ดร.วฤทธิ์ มิตรธรรมศิร
    MU
  10. Astrophysics Scientist 
    อ.ดร.เพชระ ภัทรกิจวานิช
    MU
  11. Payload Scientist 
    ดร.กุลภา ไชยวงค์คต
    MU
  12. Payload Engineer 
    ดร.กุลนันทน์ ภูประสิทธิ์
    MU
  13. Payload Electrical Engineer 
    นายกช อามระดิษฐ์ 
    MU
  14. Experimental Physicist  
    นางสาวจิดาภา ละครวัฒน์
    MU
  15. Experimental Physicist  
    นาย สรวิศ จินดารัตชกุล
    MU
  16. Physicist 
    ดร.ชนกนันท์ บางเลี้ยง 
    RMUTT
  17. Mechanical Engineer 
     นายสมรรถชัย ธะนันต์
    NARIT
  18. Mechanical Engineer 
    นายอวยชัย เลาย่าง
     NARIT
  19. Mechanical Engineer 
    นายธีระวัฒน์ คูหา
     NARIT
  20. Mechanical Engineer
    นายวรวัฒน์ สมบูรณ์ชัย
    NARIT
  21. Mechanical Engineer
    นายลิขิต หมายหมั้น
    NARIT
  22. Mechanical Engineer
    นายพีรดนย์ อกตัน
    NARIT

ทีมพัฒนาผลงานฝ่ายจีน

  1. Senior Payload Scientist 
    Prof. Zhang Shenyi 
    NSSC
  2. Payload Mechanical Engineer
    Prof. Shen Guohong
    NSSC
  3. Senior Payload Engineer and System Manager
    Prof. He Xu
    CIOMP
  4. Embedded System Engineer
    Prof. Zhang Ning
    CIOMP
  5. Structural Engineer
    Prof. Zhao Haojiang
    CIOMP
  6. Thermal Control System Engineer
    Prof. Huang Yong
    CIOMP
  7. Nuclear Engineer
    Prof. Yang Dong
    Jilin University


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ   Project Manager
E-mail: [email protected] หรือ [email protected]