ที่มา
อุปกรณ์วิจัยหรือตัวตรวจวัดในพันธกิจวิทยาศาสตร์ที่ติดตั้งไปพร้อมกับอวกาศยานในหลายพันธกิจ มักได้รับผลกระทบจากสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจากตัวกระทำการ (Actuator) ที่ติดตั้งไปกับระบบตัวถังของอวกาศยาน (Spacecraft Bus System) อาทิ อุปกรณ์สื่อสารที่ใช้สัญญาณวิทยุกำลังสูง และระบบควบคุมการทรงตัวของดาวเทียมโดยใช้แรงบิดสนามแม่เหล็ก ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเสถียรภาพและความแม่นยำของข้อมูลการวัดในห้วงอวกาศ ปัจจุบัน จึงคิดค้นและพัฒนา “ระบบกลไกต่อขยายเชิงกล” (Deployable Mechanism) ขยายตัวเพื่อปลดปล่อยอุปกรณ์วิจัยออกจากระบบตัวถัง ตามพฤติกรรมการคืนรูปของวัสดุวิศวกรรมเมื่ออวกาศยานถูกนำส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศเป็นที่เรียบร้อย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากสัญญาณรบกวนดังกล่าว มุ่งเน้นการออกแบบระบบโครงถักคืนรูปแบบวงกลม (Coilable boom) ด้วยวัสดุวิศวกรรมโลหะแบบยืดหยุ่นชนิด Nickel Titanium Alloy รวมถึงการอกแบบโครงสร้างทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าวภาคพื้น ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการคืนรูปภายใต้สภาวะอวกาศเสมือน วิเคราะห์ประสิทธิ์ภาพของระบบโครงถักด้วยทฤษฎีด้านวิศวกรรมโครงสร้าง เพื่อทดสอบความคงทนและเสถียรภาพของระบบเชิงวิศวกรรม นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจะเปิดโอกาสให้นักวิจัยและวิศวกร ร่วมพัฒนาระบบย่อยภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ (Internaiontal Lunar Research Station: ILRS) ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการออกแบบระบบกลไกต่อขยายอุปกรณ์ปฏิบัติพันธกิจสำหรับอวกาศยาน ด้วยระบบโครงถักและทดสอบในสภาวะอวกาศเสมือน รวมทั้งความคงทน เสถียรภาพ และพฤติกรรมการคืนรูปของวัสดุโลหะยืดหยุ่น
2. เพื่อทดสอบกระบวนการติดตั้ง สมมุติฐานเชิงวิศวกรรมและกระบวนการทดสอบ ประกอบและปรับปรุง แนวทางดําเนินงานในการพัฒนากลไกต่อขยายอุปกรณ์ปฏิบัติพันธกิจสำหรับอวกาศยาน
ลักษณะเฉพาะ
- ระบบถูกพัฒนาขึ้นให้มีลักษณะโครงสร้างที่สามารถจัดเก็บในปริมาตรที่จํากัดได้ในขนาดประมาณ 220 x 220 x 200 มิลลิเมตร (กว้าง x ยาว x สูง) มีหน่วยติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบ ณ ตำแหน่งปลายของระบบกลไกต่อขยาย และเพื่อสร้างสภาวะอวกาศเสมือน ที่ไร้น้ำหนัก และแรงเสียดทาน ระบบจึงติดตั้งบนรางเลื่อนไร้แรงเสียดทานในแนวระดับ และกลไกรักษาสมดุลถ่วงน้ำหนัก
- ความยาวของระบบโครงถักเมื่อกลไกถูกปลดปล่อยไม่เกิน 1.6 เมตร และความยาวหลังบีบอัดไม่เกินร้อยละ 10 ของความยาวทั้งหมด
- มีการวิเคราะห์ และจําลองแรงตามแนวแกนของระบบโครงถัก จากแรงภายในและภายนอกของระบบ
- การปล่อยโครงถักด้วยความเร็ว และการหน่วงคงที่ สามารถเก็บข้อมูลค่าความเร็วเชิงมุม และแรงบีบอัด เพื่อนํามาวิเคราะห์ความคงทนและเสถียรภาพของระบบโครงถัก
- การวางตัวของระบบด้วยเซนเซอร์ที่สามารถตรวจวัด ทิศทาง มุมความเร็ว และความเร่ง
บริบทในท้องตลาด
ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด
มูลค่าปัจจุบันในท้องตลาด
มากกว่า 5,000,000 บาท
ราคาต้นทุน
ประมาณ 1,000,000 บาท
การต่อยอดนวัตกรรม/ขยายผลเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีนี้ สามารถต่อยอดนวัตกรรมในสาขาอื่นๆ เช่น ระบบกลไกปลดปล่อยเรือใบสุริยะ (Solar sail) กลไกต่อขยายในอุตสาหกรรมสิ่งทอสมัยใหม่ระบบกลไกหุ่นยนต์แบบขนาน
ทีมพัฒนาผลงาน
- Project manager
Dr. Peerapong Torteeka
NARIT - System Engineer
Shariff Manuthasna
NARIT - GNC Engineer
Thanayuth Panyalert
NARIT - Aerospace Engineer
Popefa Charoenvicha
NARIT - Aerospace Engineer
Tanawish Masri
NARIT - Mechatronics Engineer
Pakorn Khonsri
NARIT - Mechanical Engineer
Samattachai Tanun
NARIT - Mechanical Engineer
Auychai Laoyang
NARIT - Mechanical Engineer
Teerawat Kuha
NARIT - Mechanical Engineer
Worawat Somboonchai
NARIT - Mechanical Engineer
Likhit Maimun
NARIT - Mechanical Engineer
Peeradon Ooktan
NARIT - Engineering Advisor
Dr. Potiwat Ngamkajornwiwat
PIM - Internship Engineer
Artitaya Manosri
PIM - Internship Engineer
Papop Phuttipongsit
CMU
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ Project Manager
E-mail: [email protected] หรือ [email protected]