ดาวเทียม TSC-1 ดาวเทียมขนาดไมโคร มีน้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม เป็นดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ฝีมือคนไทย ภายใต้โครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย มีภารกิจเพื่อพิสูจน์ทราบเทคโนโลยีที่ออกแบบ และจัดสร้างขึ้นเองภายในประเทศ ติดตั้งอุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์ (Payload) หลัก ได้แก่ กล้องถ่ายภาพหลายช่วงคลื่น (Hyperspectral Imager) และเครื่องมือตรวจวัดสภาพอวกาศ (Space weather) ใช้สำรวจผิวโลกด้วยการบันทึกภาพสเปกตรัมหลายช่วงความยาวคลื่นของทุกพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งจะให้ข้อมูลเชิงลึกถึงลักษณะของสิ่งปกคลุมดิน โดยการวิเคราะห์ทางสถิติและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เช่น ความสมบูรณ์ป่าไม้ ชนิดของวัชพืชในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ชนิดและปริมาณของพืชเศรษฐกิจทั่วประเทศในฤดูกาลต่างๆ หรือแม้แต่การขาดน้ำหรือสารอาหารของพืชเศรษฐกิจในบริเวณเพาะปลูกหนึ่งๆ เป็นต้น ปฏิวัติเกษตรแม่นยำเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ด้วยเทคโนโลยี อันเป็นมิติใหม่ในการสร้าง และใช้เทคโนโลยีอวกาศขั้นสูงมาเป็นข้อมูลตั้งต้นอย่างละเอียดจำเพาะในทุกพื้นที่ ผลักดันนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
ลักษณะเฉพาะของผลงาน
TSC-1 เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ ขนาดประมาณ 120 กิโลกรัม โคจรรอบโลกที่ระดับความสูงประมาณ 500-600 กิโลเมตร ประกอบด้วยอุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์ ดังนี้
- Hyperspectral Imager เป็นอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพหลายช่วงความยาวคลื่น ออกแบบและพัฒนาโดยศูนย์เทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ของ NARIT ใช้องค์ความรู้ทางดาราศาสตร์เข้ามาประยุกต์ภายใต้ข้อกำหนดทางด้านอวกาศ
Grism Based-on Spectrograph Offner Based-on Spectrograph - Space Weather เป็นอุปกรณ์เพื่อตรวจวัดสภาพอวกาศที่มาจากห้วงอวกาศที่มีผลกระทบต่อโลก ออกแบบและพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดล
อุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์ Space Weather - Microsatellite Mass:~120 Kg.
- Dimension: 700mm x 600mm x 400mm
- SSO orbit at 500 - 600 Km.
- Main Payload equipment : Hyperspectral Imaging Camera 30 m GSD
- Minor Payload equipment: Space Weather
- Design, integrate and test in Thailand
- Ground station at NARIT and GISTDA
- Data sending: X-band, S-band , UHF
- Data receiving: S-band , UHF
บริบทในท้องตลาด
ดาวเทียมเป็นสินค้าที่มีความเฉพาะของการนำมาใช้งาน ไม่ได้เป็นสินค้าที่สามารถผลิตแบบ Mass production บริษัทที่ผลิตดาวเทียมทั้งดวงส่วนใหญ่เป็นบริษัทในต่างประเทศ
การต่อยอดนวัตกรรม/ ขยายผลเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
การพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยีอวกาศ สามารถผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมอวกาศภายในประเทศ เพื่อแข่งขันในอุตสาหกรรมอวกาศโลก อีกทั้งเทคโนโลยีอวกาศเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง สร้างองค์ความรู้ให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) สามารถนำไปต่อยอดในเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ทีมพัฒนาผลงาน
ทีมวิศวกร ภายใต้ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
พงศกร มีมาก
วิศวกร โครงการดาวเทียม TSC-1
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
E-mail: [email protected]