ความร่วมมือ

JUNO

โครงการเจียงเหมินอันเดอร์กราวด์นิวทริโน

cover-image
01 CTA 1

โครงการเจียงเหมินอันเดอร์กราวด์นิวทริโน (Jiangmen Underground Neutrino Observatory : JUNO) เป็นห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาด้านฟิสิกส์พลังงานสูงและดาราศาสตร์อนุภาค เพื่อศึกษาอนุภาคนิวทริโน ตั้งอยู่ใต้ดินมีความลึก 700 เมตร มีความสูงกว่าอาคาร 10 ชั้น ในเขตเมืองเจียงเหมิน มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน  ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 71 สถาบัน จาก 16 ประเทศ ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2564 

ประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดย NARIT ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งภาคีไทย-จูโน เพื่อออกแบบ และสร้างอุปกรณ์ชดเชยสนามแม่เหล็กโลก (Earth Magnetic Field Compensation Coil) สำหรับหักล้างสนามแม่เหล็กโลกในบริเวณที่ตั้งการทดลอง และเพิ่มประสิทธิภาพของตัวตรวจจับอนุภาค อุปกรณ์นี้มีผลอย่างมากต่อความสำเร็จของโครงการจูโน เนื่องจากนิวทริโนเป็นอนุภาคมูลฐานที่มีในธรรมชาติ ความเร็วเท่าแสง มีมวลน้อยตรวจจับได้ยาก เพื่อให้สามารถตรวจจับและวัดมวลของอนุภาคนี้ได้ จึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ชดเชยสนามแม่เหล็กโลก ช่วยให้เครื่องตรวจวัดทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ