เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา นาซาประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบจรวดฉุกเฉินที่จะใช้ในโครงการสำรวจดวงจันทร์อาร์ทิมิส
| |ยานอวกาศจูโนพบปริมาณน้ำ 0.25 % ของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy เรื่องความคืบหน้าการสำรวจปริมาณน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีจากยานอวกาศจูโน (Juno) พบว่ามีปริมาณน้ำมากถึง 0.25 % ของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
| |พบก้อนอนุภาคเคลื่อนที่ออกจากกาแล็กซี M87 ด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง
หลุมดำเป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก เมื่อสสารใด ๆ เข้าใกล้หลุมดำมากพอ สสารจะตกลงในจานรวมมวล (Accretion Disk) ที่หมุนวนอย่างรุนแรง แต่จะมีอนุภาคบางส่วนที่ถูกเหวี่ยงออกไปตามแนวสนามแม่เหล็กในรูปแบบของลำอนุภาคพลังงานสูง เรียกว่า “เจ็ท” (Jet) ซึ่งภายในเจ็ทจะมีกลุ่มก้อนอนุภาคกระจายอยู่แบบไม่ต่อเนื่องกัน
| |นาซาสร้างแผนที่การกระจายตัวของน้ำแข็งใต้พื้นผิวของดาวอังคาร
ในปี พ.ศ. 2567 นาซามีโครงการที่จะส่งมนุษย์กลับขึ้นไปดวงจันทร์อีกครั้งก่อนที่จะส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารเป็นลำดับต่อไป แต่ยังไม่แน่ชัดว่าจะไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณใดบนดาวอังคารกันแน่ จนล่าสุด มีงานวิจัยตีพิมพ์ใน Geophysical Research Letters สามารถทำแผนที่การกระจายตัวของน้ำแข็งที่ระดับความลึก 2.5 เซนติเมตรภายใต้พื้นผิวดาวอังคารได้ จะเป็นข้อพิจารณาที่สำคัญในการเลือกตำแหน่งที่จะส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคารในอนาคต
| |ท่วงทำนองจากสนามแม่เหล็กโลก
ลูซีล เทิร์ก (Lucile Turc) อดีตนักวิจัยจากองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency: ESA) และทีมวิจัย พบท่วงทำนองคล้ายบทเพลง หลังจากนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับจากภารกิจคลัสเตอร์ (Cluster) กลับมาวิเคราะห์ใหม่อีกครั้ง
| |เตรียมทดสอบระบบของยานอวกาศโอไรออนก่อนปฏิบัติภารกิจนำมนุษย์กลับไปเยือนดวงจันทร์
24 พฤศจิกายน 2563 เวลาประมาณ 16:35 น. ตามเวลาท้องถิ่นตะวันออกของสหรัฐฯ เครื่องบินบรรทุกซูเปอร์กัปปี (Super Guppy) ขนส่งยาน MPCV (Orion Multi-Purpose Crew Vehicle) ยานบรรทุกนักบินอวกาศอเนกประสงค์ของยานอวกาศโอไรออน จากศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) ไปยัง สนามบินแมนส์ฟิลด์ ลาห์ม (Mansfield Lahm) รัฐโอไฮโอ มีประชาชนเกือบ 1,500 คน มารอต้อนรับ
| |2020 AV2 ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวศุกร์
วงโคจรของดาวเคราะห์น้อย 2020 AV2 เทียบกับวงโคจรของดาวเคราะห์วงใน (ดาวพุธและดาวศุกร์) ภาพโดย SSD JPL/NASA
วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563 นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ “2020 AV2” โคจรอยู่ระหว่างดาวพุธและดาวศุกร์ มีระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์มากที่สุดประมาณ 0.5 หน่วยดาราศาสตร์ และกลายเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีวงโคจรเล็กกว่าวงโคจรของดาวศุกร์
| |LIGO ยืนยันตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงจากดาวนิวตรอนชนกัน
6 มกราคม 2563 เว็บไซต์หอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วง LIGO ยืนยันว่าสัญญาณคลื่นความโน้มถ่วงที่ตรวจพบเมื่อเดือนเมษายน 2562 เป็นผลมาจากดาวนิวตรอนชนกัน และพบว่ามวลผลลัพธ์หลังการชนมีค่ามากกว่าที่คาดการณ์ไว้
| |ดาวเทียมเทสส์เปิดมุมมองซีกฟ้าใต้
ดาวเทียมเทสส์มีกล้องทั้งหมด 4 ตัว และอุปกรณ์ถ่ายภาพ CCD ทั้งหมด 16 ตัว ในปีแรกนี้ CCD แต่ละตัวบันทึกภาพไปแล้วทั้งหมด 15,347 ภาพ ใช้เวลาเปิดหน้ากล้องภาพละ 30 นาที แบ่งศึกษาท้องฟ้าเป็น 13 ส่วน แต่ละส่วนใช้เวลาถ่ายภาพรวมประมาณ 1 เดือน
| |นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่าดาวศุกร์อาจมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่
ภาพ “ภูเขาไฟไอดันน์ (Idunn Mons)” บนพื้นผิวดาวศุกร์ ถ่ายโดยกล้องสเปกโทรมิเตอร์ถ่ายภาพความร้อนในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นและอินฟราเรด (VIRTIS) จากยานอวกาศวีนัสเอกซ์เพรส (Venus Express) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) พื้นที่สีส้มแดงแสดงให้เห็นหลักฐานว่าอาจมีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นและพร้อมที่จะระเบิดได้ตลอดเวลา
| |ครั้งแรกในประวัติศาสตร์กับการศึกษา “พัลซาร์” ที่แม่นยำมากที่สุด
การศึกษา “พัลซาร์” ที่แม่นยำมากที่สุดครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 12 ธันวาคม 2562 นาซาเผยผลงานวิจัยล่าสุด สามารถวัดขนาดและมวลของ “พัลซาร์” ได้แม่นยำที่สุด และระบุ “จุดร้อน” ที่เกิดขึ้นบนผิวดาวได้เป็นครั้งแรก อาจเปลี่ยนความเข้าใจที่มีต่อหนึ่งในวัตถุที่ลึกลับที่สุดในเอกภพนี้อย่างสิ้นเชิง
| |พบซากยาน “วิกรม” ของอินเดียบนดวงจันทร์แล้ว
3 ธันวาคม 2562 นาซาเผยแพร่ภาพถ่ายจากยาน “ลูนาร์ รีคอนเนสเซนส์” พบร่องรอยการพุ่งชนของยานวิกรมบนผิวดวงจันทร์ เศษชิ้นส่วนกระจัดกระจายออกไปหลายกิโลเมตร
| |