What's up in the sky July - 2025 ท้องฟ้าเดือนกรกฎาคม 2568
18 กรกฎาคม 2568
นักดาราศาสตร์ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วง จากการรวมตัวของหลุมดำที่มวลมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2025 เว็บไซต์ของสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech) ในสหรัฐฯ เผยว่า โครงการ LIGO-Virgo-KAGRA หรือ “LVK” สามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงซึ่งเป็นผลมาจากการรวมตัวกันของหลุมดำได้ และเมื่อคำนวณค่ามวลของหลุมดำพบว่า มวลรวมสุดท้ายของการรวมตัวกันคือ 225 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ นับเป็นการรวมตัวกันของหลุมดำที่มวลมากที่สุดเท่าที่เคยตรวจพบ โดยเหตุการณ์นี้ถูกตั้งชื่อว่า “GW231123”
17 กรกฎาคม 2568
นักดาราศาสตร์จับภาพ “จุดเริ่มต้นการก่อตัวของดาวเคราะห์” ครั้งแรก
ทีมนักวิจัยจากนานาชาติได้ค้นพบดาวเคราะห์ในจังหวะเริ่มก่อตัวรอบดาวดวงอื่นเป็นครั้งแรก พวกเขาได้สังเกตการณ์พื้นที่ที่สสารก่อกำเนิดดาวเคราะห์กระจุกตัวกัน และกำลังจะก่อตัวไปเป็นดาวเคราะห์ในอนาคต ซึ่งพบว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นแร่ธาตุร้อน ๆ ที่เพิ่งเริ่มแข็งตัว การค้นพบครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการสังเกตการณ์ระบบดาวเคราะห์ในระยะแรกเริ่มของการก่อตัว และอาจเป็นกุญแจที่จะไขประตูสู่อดีตของระบบสุริยะของเรา
16 กรกฎาคม 2568
เปิดภาพถ่ายซูเปอร์โนวา SN 2025rbs แบบชัดเจนยิ่งขึ้น จากกล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติของ NARIT ปรากฏเป็นจุดแสงสว่างใหม่ในกาแล็กซี NGC 7331 อยู่ห่างจากโลก 45.6 ล้านปีแสง
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา ดร. สมาพร ติญญนนท์ นักวิจัยด้านจักรวาลวิทยาและฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง ใช้กล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติ ขนาด 0.7 เมตรของ NARIT ณ หอดูดาวเซียรา รีโมท สหรัฐอเมริกา บันทึกภาพของซูเปอร์โนวาใหม่ SN 2025rbs หลังการค้นพบครั้งแรก
15 กรกฎาคม 2568
นักดาราศาสตร์ไทย ใช้กล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติ จับภาพซูเปอร์โนวาใหม่ ภายในเวลาเพียง 2.5 ชั่วโมงหลังการค้นพบแรก
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา ดร. สมาพร ติญญนนท์ นักวิจัยด้านจักรวาลวิทยาและฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูง ใช้กล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติ ขนาด 0.7 เมตร ของ NARIT ณ หอดูดาวเซียรา รีโมท สหรัฐอเมริกา บันทึกภาพของซูเปอร์โนวาใหม่ SN 2025rbs ภายในระยะเวลาเพียง 2.5 ชั่วโมงหลังการค้นพบครั้งแรกโดยโครงการ GOTO ซูเปอร์โนวาดังกล่าวอยู่ห่างจากโลกประมาณ 45.6 ล้านปีแสง ภายในกาแล็กซี NGC 7331
14 กรกฎาคม 2568
สรุปแล้ว ดาวพฤหัสบดีช่วยปกป้องโลกจากการพุ่งชนของดาวเคราะห์น้อยจริงหรือไม่ ?
ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์มองว่า “ดาวพฤหัสบดี” ดาวเคราะห์ดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เป็นเสมือนผู้ปกป้องโลกจากวัตถุขนาดเล็กไม่ให้พุ่งเข้าหาโลก แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยใหม่ ๆ กลับเสนอว่าอาจไม่เป็นเช่นนั้น
12 กรกฎาคม 2568
“Planet X” ดาวเคราะห์ปริศนาดวงที่ 9 มีจริงหรือไม่ ?
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 Konstantin Batygin และ Mike Brown นักดาราศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech) ในสหรัฐฯ เผยแพร่งานวิจัยที่แสดงหลักฐานบ่งชี้ถึงดาวเคราะห์ที่มีขนาดประมาณ 2-4 เท่าของขนาดโลก ในบริเวณระบบสุริยะชั้นนอก ทั้งนี้ ผลการวิจัยยังคงเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น ซึ่งนักดาราศาสตร์ทั้งสองคนนี้ไม่ได้สังเกตการณ์จนค้นพบดาวเคราะห์จริง ๆ
10 กรกฎาคม 2568
ต้อนรับกระแสอันร้อนแรงของฮีโร่สุดไอคอนนิคอย่าง “ซูเปอร์แมน” ที่มาพร้อมกับผ้าคลุมสีแดง
จักรวาลของเราก็ไม่แพ้จักรวาลดีซี เพราะเราก็มี “ผ้าคลุมไหล่” เหมือนกัน แม้จะไม่ใช่ผ้าคลุมของซูเปอร์ฮีโร่ แต่นี่คือ… ภาพ “เนบิวลาผ้าคลุมไหล่” จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) เส้นใยแก๊สจากซากซูเปอร์โนวากำลังสยายออกกลางอวกาศอย่างตระการตาราวกับผ้าคลุมที่กำลังพริ้วไหวในห้วงจักรวาล
09 กรกฎาคม 2568
ดาวพฤหัสบดีอาจเคยใหญ่กว่าปัจจุบันนี้ถึง 2 เท่า
ในช่วงนานมาแล้วก่อนที่ดาวพฤหัสบดีจะกลายเป็นดาวเคราะห์ยักษ์ใหญ่สุดในระบบสุริยะอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ดาวพฤหัสบดีเคยใหญ่กว่าและมีสนามแม่เหล็กที่เข้มกว่านี้มาก โดยงานวิจัยในครั้งนี้ได้ให้ผลลัพธ์ที่แสดงถึงการก่อตัวของดาวพฤหัสบดีในช่วงแรกเริ่ม
04 กรกฎาคม 2568
4 กรกฎาคม 2568 โลกไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ไม่ได้เป็นวงกลมสมบูรณ์ ทำให้ในแต่ละปี โลกจะมีจุดที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (Perihelion) และจุดที่ห่างไกลที่สุด (Aphelion)