ภาพดาวพฤหัสบดีที่เห็นนี้ ถ่ายด้วยกล้อง JunoCam ซึ่งติดตั้งไปกับยานอวกาศจูโน ที่ระดับความสูง 8,000 กิโลเมตรเหนือผิวดาวพฤหัสบดี วงกลมสีดำที่ปรากฏ คือ เงาของดวงจันทร์ไอโอขณะเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี ทำให้เกิดเงาตกกระทบบนพื้นผิวดาวเคราะห์ คล้ายกับที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านหน้าโลกทำให้เกิดเงามืด หรือที่เราเรียกกันว่า สุริยุปราคา เหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือเป็นการเกิด “สุริยุปราคาบนดาวพฤหัสบดีจากดวงจันทร์ไอโอ”
| |กาแล็กซีกำลังจะชนกัน !!
ในภาพคือ UGC 2369 เป็นกาแล็กซีคู่ที่มีแรงโน้มถ่วงร่วมกัน มีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ทั้งสองกาแล็กซีเคลื่อนที่เข้าใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ แก๊สและฝุ่นที่ถ่ายโอนระหว่างสองกาแล็กซีทำให้เกิดลวดลายคล้ายสะพานเชื่อมต่อกัน
| |นักวิทยาศาสตร์พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ไม่ควรมีอยู่จริง!
นักวิทยาศาสตร์พบดาวเคราะห์แก๊สนอกระบบสุริยะขนาดใหญ่โคจรรอบดาวแคระแดง ห่างจากโลก 30 ปีแสง ด้วยวิธีวัดความเร็วในแนวเล็ง (radial velocity method) โดยวัดการส่ายของดาวฤกษ์แม่รอบจุดศูนย์กลางมวลของระบบ ซึ่งตามทฤษฎีการกำเนิดดาวเคราะห์แล้ว ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงนี้ไม่ควรมีอยู่จริง
| |นักดาราศาสตร์ค้นพบดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์เพิ่มอีก 20 ดวง แซงหน้าแชมป์เก่าดาวพฤหัสบดี ราชาแห่งวงแหวน ราชาแห่งดวงจันทร์
7 ตุลาคม 2562 - นักดาราศาสตร์ค้นพบดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์เพิ่มอีก 20 ดวง จากเดิม 62 ดวง รวม 82 ดวง ส่งผลให้ดาวเสาร์ขยับขึ้นมาครองตำแหน่งดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์บริวารมากที่สุด แซงแชมป์เก่าอย่างดาวพฤหัสบดีที่มีดวงจันทร์บริวาร 79 ดวง
| |นักดาราศาสตร์เผยสาเหตุกระแสลมกรดหยุดนิ่งในชั้นบรรยากาศดาวเสาร์
นักดาราศาสตร์เผยโครงสร้างภายในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ที่ระดับความลึกมากกว่า 8,500 กิโลเมตร สงบนิ่งต่างจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกที่เกิดกระแสลมกรด (Jet Streams) ตลอดเวลา อาจเป็นเพราะมีของเหลวหนืดในชั้นบรรยากาศ
| |ภาพล่าสุดของ "แสงแรก" จากกล้องโทรทรรศน์จันทรา
ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราของนาซา ถ่ายภาพปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในเอกภพได้มากมายหนึ่งในภาพที่โดดเด่นที่สุดคือ ภาพ “แสงแรก” แสดงให้เห็นซากซูเปอร์โนวาของ แคสซิโอเปีย เอ (Cassiopeia A) มีชื่อเล่นว่า แคส เอ (Cas A) เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2542
| |นักดาราศาสตร์พบดาวหางดวงใหม่ คาดเป็นวัตถุนอกระบบสุริยะดวงที่สอง
“C/2019 Q4 (Borisov)” ดาวหางดวงใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบและกลายเป็นจุดสนใจอย่างมากในวงการดาราศาสตร์ เพราะมันอาจเป็นวัตถุที่มาจากนอกระบบสุริยะลำดับถัดจาก โอมูอามูอา (Oumuamua) ซึ่งปัจจุบันเป็นวัตถุนอกระบบสุริยะหนึ่งเดียวที่เรารู้จัก
| |นักดาราศาสตร์ตรวจพบโมเลกุล “น้ำ” บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้เป็นครั้งแรก
12 กันยายน 2562 - นักดาราศาสตร์ตรวจพบโมเลกุลน้ำในชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ “K2-18b” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต นับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรกที่มีทั้งน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิต
| |ดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 กำลังเข้าใกล้โลก(ไม่ชนแน่นอน)
2000 QW7 เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงล่าสุดที่กำลังจะโคจรเข้าใกล้โลกในวันที่ 14 กันยายน 2562 เวลา 23:54 น. ตามเวลาสากล โดยช่วงเวลาดังกล่าวดาวเคราะห์น้อยอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางประมาณห้าล้านกิโลเมตร หรือ ประมาณ 14 เท่าของระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์ เช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นที่เข้ามาใกล้และผ่านไปโดยไม่เกิดการชนได ๆ สิ่งที่ทำให้ 2000 QW7 ได้รับความสนใจคือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 650 เมตร ใกล้เคียงกับความสูงของตึก บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (Burj Khalifa) อาคารที่สูงที่สุดในโลกในประเทศดูไบ
| |การสังเกตดวงจันทร์จันทร์เสี้ยวแรก (Hilal) เพื่อกำหนดเดือนรอมฎอน (Ramadan) ปี 2562 ฮ.ศ.1440
เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562 ตรงกับวันที่ 1 เดือนซะบาน (Shaban) (เดือนที่ 8) ฮ.ศ. 1440 ดังนั้น ชาวไทยมุสลิมต้องออกมาสังเกตการณ์ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (Hilal) ครั้งต่อไปในช่วงเย็นวันที่ 29 เดือนซะบาน (เดือนที่ 8) ฮ.ศ. 1440 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เพื่อกำหนดวันเวลาเริ่มต้นเดือนใหม่ เดือนใหม่ที่กำลังจะมาถึง ถือเป็นเดือนที่สำคัญมากของชาวไทยมุสลิม เนื่องจากจะเป็นวันเริ่มต้นการถือศีลอดเดือนรอมฎอน หรือวันที่ 1 เดือนรอมฎอน (Ramadan) (เดือน 9) ฮ.ศ. 1440
| |นักฟิสิกส์พบโมเลกุลไอออนฮีเลียมไฮไดรด์ กุญแจสู่ความเข้าใจเอกภพยุคแรกเริ่ม
เอกภพของเราถือกำเนิดขึ้นเมื่อราวๆ 13,000 ล้านปีก่อน ในระยะแรกๆ เอกภพมีเพียงอะตอมเดี่ยวๆ แต่หลังจากนั้นราว 10,000 ปีนับจากจุดที่เอกภพถือกำเนิด อุณหภูมิของเอกภพเริ่มลดต่ำลงมากพอที่อะตอมเริ่มมารวมตัวกันเป็นโมเลกุลแรก นั่นคือ ไอออนฮีเลียมไฮไดรด์ ซึ่งเกิดจากอะตอมของธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียม ( HeH+)
| |ยานอวกาศ Trace Gas Orbiter เปิดเผยการค้นพบทั้งสามเรื่องบนดาวอังคาร
ExoMars Trace Gas Orbiter (เรียกย่อๆว่า TGO) เป็นยานอวกาศในโครงการเอกโซมาร์สที่ถูกส่งไปโคจรรอบดาวอังคารมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 แล้ว โดยยานอวกาศลำนี้เป็นความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรปและองค์การอวกาศรัสเซีย จุดประสงค์หนึ่งของโครงการนี้คือ การหาร่องรอยและความเป็นไปได้ของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
| |