10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:52 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานสำรวจดาวอังคารสัญชาติจีน “เทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1)” ปรับลดความเร็ว และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จ ตามหลังยานโฮปของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไปติด ๆ เริ่มต้นก้าวแรกสู่การสำรวจดาวอังคารของประเทศจีน
| |“โฮป” ความหวังของชาวอาหรับ โคจรรอบดาวอังคารสำเร็จแล้ว !
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลาประมาณ 22:57 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานสำรวจดาวอังคาร “โฮป (Hope)” ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จุดเครื่องยนต์เพื่อลดความเร็วลง และเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้สำเร็จ สร้างประวัติศาสตร์เป็นหน่วยงานอวกาศลำดับที่ 5 ของโลกที่สามารถส่งยานไปสำรวจดาวอังคารได้สำเร็จ
| |NGC 6946 กาแล็กซีดอกไม้ไฟ
ภาพนี้เป็นภาพกาแล็กซี NGC 6946 ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของ NASA และ ESA แสดงให้เห็นรายละเอียดที่สวยงาม และสภาพแวดล้อมของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีได้อย่างชัดเจน
| |ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่หายไป … ราวกับไม่เคยมีอยู่
ในช่วงปี ค.ศ.2001 ถึง 2011 นักดาราศาสตร์ได้เก็บข้อมูลสเปกตรัมของกาแล็กซีขนาดเล็กที่อยู่ห่างจากโลกออกไป 75 ล้านปีแสง ที่รู้จักกันในชื่อ “กาแล็กซีแคระคินแมน (Kinman Dwarf Galaxy)” เนื่องจากกาแล็กซีนี้มีขนาดเล็กและอยู่ไกลมาก จึงไม่สามารถศึกษาดาวฤกษ์แต่ละดวงในที่อยู่ในกาแล็กซีนี้ได้ ทำได้เพียงศึกษาสเปกตรัมโดยรวมของทั้งกาแล็กซี แต่อย่างไรก็ตาม ดาวฤกษ์ที่สว่างมากและมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากดาวดวงอื่น จะปรากฏเอกลักษณ์อย่างเด่นชัดบนสเปกตรัมของกาแล็กซี
| |ปริศนาการเกิดดวงจันทร์ขนาดเล็กของดาวพลูโต
เป็นที่ทราบกันว่าดาวเคราะห์แคระ “พลูโต” ประกอบด้วยดวงจันทร์ทั้งหมด 5 ดวง ได้แก่ ดวงจันทร์แครอน (Charon) ซึ่งเป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่สุดของพลูโต และดวงจันทร์ขนาดเล็กอีก 4 ดวง ได้แก่ ดวงจันทร์ไฮดรา (Hydra) นิกซ์ (Nix) เคอร์เบอรอส (Kerberos) และสติกซ์ (Styx) ผลจากการศึกษาที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าระบบดวงจันทร์ของพลูโตเกิดจากวัตถุขนาดใหญ่พุ่งชนพลูโตแล้วหลุดกระเด็นออกมาเป็นดาวบริวารทั้ง 5 ดวง
| |ภูมิทัศน์บนดาวพลูโต
ภาพพื้นผิวของดาวพลูโต ดาวเคราะห์แคระดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากโลกของเรากว่า 5,000 ล้านกิโลเมตร ที่ถูกส่งกลับมายังโลกจากยานสำรวจอวกาศนิวฮอไรซอนส์ ภายหลังยานสำรวจอวกาศลำนี้ได้เข้าทำภารกิจสำรวจดาวเคราะห์แคระพลูโตในระยะใกล้สุดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
| |นาซาขยายเวลาปฏิบัติภารกิจของยานสำรวจดาวเคราะห์ 2 ลำ
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซา ตัดสินใจขยายระยะเวลาปฏิบัติภารกิจของยานสำรวจดาวเคราะห์ 2 ลำ เนื่องจากมีผลงานการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ได้แก่ จูโน (JUNO) และ อินไซต์ (InSight) สองภารกิจที่กระตุ้นให้เกิดคำถาม และเพิ่มเติมความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุริยะอย่างมหาศาล
| |การเดินทางระหว่างดวงดาวคืบหน้าไปอีกขั้น! การทดสอบการขับเคลื่อนแผ่นกราฟีนด้วยความดันแสงประสบความสำเร็จ
นักวิทยาศาสตร์พบวัสดุที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนด้วยความดันแสงมากกว่าแผ่นไมลาร์ซึ่งเคยใช้กับยานอวกาศ LightSail 1 และ LightSail 2 อาจเป็นแนวทางใหม่ในการขับเคลื่อนยานอวกาศในอนาคต
| |ปริศนาดาวเคราะห์ประเภท “ดาวพฤหัสบดีร้อน (Hot Jupiter)”
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี แต่มีอายุน้อยกว่าและโคจรใกล้กับดาวฤกษ์ดวงแม่มาก ซึ่งเรียกดาวเคราะห์ประเภทนี้ว่า ดาวพฤหัสบดีร้อน (Hot Jupiter) การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยตอบข้อสงสัยของนักวิทยาศาสตร์ได้ว่าดาวเคราะห์ประเภทนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
| |ภาพ “เนบิวลาดาวเคราะห์” ที่สมบูรณ์แบบจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ภาพเนบิวลาดาวเคราะห์ NGC 6302 และ NGC 7027 ในหลากหลายช่วงคลื่น จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ช่วยให้นักวิจัยศึกษากลไกความซับซ้อนของลำอนุภาคพลังงานสูง และกลุ่มแก๊สที่ฟุ้งกระจายออกมาจากใจกลางเนบิวลาทั้งสอง
| |นักบินอวกาศตรวจพบรูรั่วบนสถานีอวกาศนานาชาติด้วย “ใบชา”
สถานีอวกาศนานาชาติเผชิญปัญหาการสูญเสียความดันภายใน เนื่องจากมีการรั่วไหลของอากาศ ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา
| |แผนที่กาแล็กซีทางช้างเผือกล่าสุด บ่งชี้ว่าโลกเคลื่อนที่เข้าใกล้หลุมดำเร็วกว่าเดิม
นักดาราศาสตร์ สดร. ร่วมทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ เก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุแทรกสอดระยะไกล VERA ของประเทศญี่ปุ่น พบว่าโลกเคลื่อนที่เร็วขึ้น ด้วยอัตรา 7 กิโลเมตรต่อวินาที และเข้าใกล้หลุมดำมวลมหาศาลใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกมากขึ้น ที่ระยะสั้นกว่าเดิมประมาณ 2,000 ปีแสง แต่อย่างไรก็ตามโลกของเราจะยังไม่ถูกดูดเข้าสู่หลุมดำได้โดยง่าย ผลการวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ลงใน Publications of the Astronomical Society of Japan เมื่อสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา
| |