นักดาราศาสตร์ค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในอวกาศที่อาจเกิดจากดาวฤกษ์ถูกฉีกออกด้วยแรงโน้มถ่วงมหาศาล นับเป็นหนึ่งในหลักฐานสำคัญที่อาจบ่งชี้ถึง “หลุมดำมวลปานกลาง (Intermediate Mass Black Holes, IMBHs)”
| |ภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีในช่วงคลื่นอินฟราเรดความละเอียดสูงที่สุดที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก
ภาพถ่ายดาวพฤหัสบดีในช่วงคลื่นอินฟราเรด (ความยาวคลื่น 4.7μm) บันทึกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 โดยกล้องโทรทรรศน์เจมิไนนอร์ท (Gemini North telescope) ตั้งอยู่บนภูเขาไฟมัวนาเคีย รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “ลัคกี้อิมเมจิง” (Lucky Imaging) ซึ่งเป็นวิธีการบันทึกภาพของดาวพฤหัสบดีในรูปแบบวิดีโอ แล้วใช้ซอฟต์แวร์เลือกเอาส่วนที่ดีที่สุดของแต่ละเฟรมของวิดีโอออกมารวมกันอีกทีเพื่อให้ได้ภาพคมชัดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากโลกของเรามีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่และมีมวลอากาศไหลเวียนไปมา ส่งผลให้แสงจากดาวเคราะห์ที่เดินทางผ่านเข้ามาในบรรยากาศโลกถูกหักเหไปมา เราจึงเห็นรายละเอียดบนดาวเคราะห์ชัดบ้าง เบลอบ้าง ภาพตัวดาวเคราะห์เองก็บิดเบี้ยวและสั่นไหวไปมา นักดาราศาสตร์จึงใช้เทคนิคนี้ในการบันทึกภาพของดาวพฤหัสบดี
| |นาซาประกาศวัตถุเป้าหมายสำหรับการส่งยานไปเบี่ยงเบนการโคจรของดาวเคราะห์น้อย
นาซาประกาศให้ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยดีดิมอส (65803 Didymos) เป็นเป้าหมายของโครงการเบนวิถีโคจรดาวเคราะห์น้อยคู่ (The Double Asteroid Redirection Test) หรือ “DART” โดยมีกำหนดการปล่อยขึ้นสู่อวกาศในช่วงเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2564 ภารกิจหลักคือการทดสอบเทคโนโลยีที่จะใช้ป้องกันโลกจากการพุ่งชนของวัตถุนอกโลก
| |รู้หรือไม่ นาซากำลังจะส่งเฮลิคอปเตอร์ไปเยือนดาวเคราะห์ดวงอื่นเป็นลำแรก
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ประกาศกำหนดการปล่อยจรวดเพื่อส่ง “Mars 2020 Rover” หรือ “เพอร์เซเวียแรนส์ (Perseverance)” มุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 20:15 น. ตามเวลาประเทศไทย
| |ประเทศแถบตะวันออกกลางกับ “ความหวังสู่ดาวอังคาร” ในการส่งยานมุ่งหน้าสำรวจดาวเคราะห์แดง
ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีหลายดินแดนที่พยายามส่งยานไปสำรวจดาวอังคาร ได้แก่ รัสเซีย สหรัฐฯ ยุโรป อินเดีย จีน และญี่ปุ่น แต่ยังมีชาติเอเชียชาติอื่นที่จะส่งยานหุ่นยนต์ไปสำรวจดาวอังคารในอนาคตอันใกล้ นั่นคือ “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์” ชาติอาหรับจากภูมิภาคตะวันออกกลาง
| |ค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ถูกมองข้าม
นักวิทยาศาสตร์ค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเบื้องต้นด้วยระบบอัตโนมัติจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ โดยวิธีการเคลื่อนที่ผ่านหน้า (Transit Method) ซึ่งเป็นวิธีวัดแสงที่ลดลงของดาวฤกษ์แม่เมื่อมีดาวเคราะห์ผ่านหน้า แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าการตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์จะถูกต้อง? ทีมงาน “Kepler False Positive Working Group” ได้ช่วยกันแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจจะทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะบางดวงตกหล่นจากการตรวจหา
| |NASA และ SpaceX สร้างประวัติศาสตร์ส่งมนุษย์สู่อวกาศจากแผ่นดินอเมริกาสู่ ISS สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี
31 พฤษภาคม พ.ศ.2563 เวลา 2:22 น. (ตามเวลาประเทศไทย) จรวดฟัลคอน 9 ในภารกิจ Demo-2 ถูกปล่อยออกจากฐานปล่อยจรวด ณ ศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งนักบินอวกาศชาวสหรัฐฯ 2 คน ได้แก่ โรเบิร์ต เบห์นเคิน และดักลาส เฮอร์ลีย์ ขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติ นับเป็นการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศจากแผ่นดินสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี และยังเป็นครั้งแรกที่ส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดของบริษัทเอกชน
| |แอนาเล็มมาของดวงจันทร์
แอนาเล็มมา คือ รูปร่างที่โค้งเป็นเลข 8 ได้มาจากการถ่ายภาพตำแหน่งดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ที่เวลาเดียวกันในแต่ละวัน ตลอดระยะเวลา 1 ปี เกิดจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และมีแกนหมุนรอบตัวเองที่เอียง ดวงอาทิตย์จึงมีตำแหน่งปรากฏเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
| |นักดาราศาสตร์คาดว่า ในหลุมดำอาจประกอบด้วยวงแหวนโฟตอนจำนวนมาก
หากยังจำกันได้ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อีเวนต์ฮอไรซัน (Event Horizon Telescope : EHT) บันทึกภาพหลุมดำได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยเทคนิคการแทรกสอดระยะไกล (very-long baseline interferometry : VLBI) การศึกษาด้วยวิธีนี้จะใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุหลายแห่งที่กระจายอยู่ทั่วโลกทำงานร่วมกัน จนมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับกล้องที่มีขนาดใหญ่เท่ากับขนาดของโลกทั้งใบ ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความละเอียดสูงมาก
| |ไขปริศนาความร้อนบนดาวเสาร์
ข้อมูลจากยานแคสสินี (Cassini) ช่วยให้นักดาราศาสตร์ไขปริศนาความร้อนในชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์และดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่น
| |เสาแห่งการกำเนิด
ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นเพียงช่วงเล็ก ๆ ของรังสีที่วัตถุรอบตัวเราปล่อยออกมา เราเรียกรังสีส่วนนี้ว่าแสงที่มนุษย์มองเห็นได้
| |นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวแคระขาวแบบยุบ-ขยายตัวในระบบดาวคู่ดวงแรก
ดวงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงตามวิวัฒนาการตลอดช่วงอายุ และมีจุดจบคือกลายเป็น “ดาวแคระขาว” ซึ่งเป็นจุดจบแบบเดียวกันกับดาวฤกษ์เกือบ 97 เปอร์เซ็นต์ในกาแล็กซีทางช้างเผือก ล่าสุดมีการค้นพบใหม่ที่อาจเติมเต็มชะตากรรมสุดท้ายของดวงอาทิตย์ได้
| |