นักวิจัยพบอนุภาคถูกปลดปล่อยออกจากพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู (Bennu) จากภาพถ่ายของยาน “โอไซริสเร็กซ์ (OSIRIS-Rex)” ขณะยานเดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยเบ็นนูเพียงสัปดาห์แรก
| |10 เรื่องเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ที่นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้จากยาน SDO ขององค์การนาซา
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา องค์การนาซาฉลองครบ 10 ปี ที่ยาน “Solar Dynamics Observatory (SDO)” ปฏิบัติภารกิจในอวกาศ ที่ผ่านมา ยาน SDO ศึกษากระบวนการสร้างและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ บนดวงอาทิตย์ เรียกว่า “สภาพอวกาศ (space weather)” รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ในอวกาศที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุริยะและโลกของเรา
| |C/2019 Y4 (ATLAS) ดาวหางที่กำลังสว่างจนอาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในปี 2563 ชวนจับตา "ดาวหาง C/2019 Y4 (ATLAS)" อาจสว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเดือน เม.ย. 63
“C/2019 Y4 (ATLAS)” เป็นดาวหางที่กำลังโคจรเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน และมีค่าความสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักดาราศาสตร์กำลังจับตาดาวหางดวงนี้ เนื่องจากมีโอกาสสว่างจนสามารถมองเห็นดาวหางดวงนี้ได้ด้วยตาเปล่า
| |ชื่อของไวรัสโคโรนามาจากดวงอาทิตย์
ทุกวันนี้ไม่มีใครไม่รู้จักกับไวรัสโคโรนา แต่ทราบไหมว่าแท้จริงแล้วที่มาของชื่อนั้น มาจากชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ เมื่อมองไวรัสผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พบว่ามีลักษณะคล้ายกับบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศนอกสุดของดวงอาทิตย์ ลักษณะปุ่มยื่นออกมาของไวรัส (viral spike (S) peplomers) เป็นโปรตีนที่กระจุกตัวอยู่บนผิวไวรัส ทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดการตอบสนองของโฮสต์ (host tropism) ซึ่งคำว่า“corona” ในภาษาละติน แปลว่า “มงกุฎ” หรือ “รัศมี” นั่นเอง
| |อัพเดทผลการสำรวจด้านไกลของดวงจันทร์จากยาน “ฉางเอ๋อ 4”
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences ; CAS) รายงานผลการศึกษาล่าสุดของยานฉางเอ๋อ 4 พบว่าใต้พื้นผิวที่ยานลงจอดมีลักษณะแบ่งเป็นชั้นหินขรุขระและชั้นดินละเอียด บ่งชี้ถึงการพุ่งชนที่รุนแรงในอดีต
| |ฝนเหล็กหลอมเหลวบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
จะเกิดอะไรขึ้นหากฝนที่ตกลงมาไม่ใช่หยดน้ำฝนแต่กลายเป็นหยดของโลหะเหล็ก ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องประหลาดหรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังไซไฟสักเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ WASP-76b
| |เรียกข้าว่า “เพอร์เซเวียแรนส์”
ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563 องค์การนาซาแถลงชื่ออย่างเป็นทางการของยาน “Mars 2020 Rover” คือ “เพอร์เซเวียแรนส์” พร้อมที่จะส่งไปสำรวจดาวอังคารกลางปีนี้
| |นาซาเผยแพร่ภาพพาโนรามาบนดาวอังคารที่คมชัดที่สุด
นาซาเผยแพร่ภาพถ่ายจากยานคิวริออซิตี นับเป็นภาพถ่ายพาโนรามาที่คมชัดที่สุดจากดาวอังคารที่บริเวณ “Glen Torridon” โดยยานใช้เวลาถ่ายภาพนี้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 จนถึง 1 ธันวาคม 2562 นับเป็นภาพถ่ายรวมกันทั้งสิ้นมากกว่า 1,000 ภาพ
| |ความคืบหน้าล่าสุดของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ WFIRST
3 มีนาคม พ.ศ. 2563 นาซาอนุมัติโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศ “WFIRST” เตรียมเริ่มพัฒนาและทดสอบฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการปฏิบัติภารกิจศึกษาเอกภพ
| |นาซาทดสอบจรวดฉุกเฉินของยานอวกาศโอไรออน
เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา นาซาประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบจรวดฉุกเฉินที่จะใช้ในโครงการสำรวจดวงจันทร์อาร์ทิมิส
| |ยานอวกาศจูโนพบปริมาณน้ำ 0.25 % ของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Nature Astronomy เรื่องความคืบหน้าการสำรวจปริมาณน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดีจากยานอวกาศจูโน (Juno) พบว่ามีปริมาณน้ำมากถึง 0.25 % ของโมเลกุลในชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี
| |พบก้อนอนุภาคเคลื่อนที่ออกจากกาแล็กซี M87 ด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง
หลุมดำเป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก เมื่อสสารใด ๆ เข้าใกล้หลุมดำมากพอ สสารจะตกลงในจานรวมมวล (Accretion Disk) ที่หมุนวนอย่างรุนแรง แต่จะมีอนุภาคบางส่วนที่ถูกเหวี่ยงออกไปตามแนวสนามแม่เหล็กในรูปแบบของลำอนุภาคพลังงานสูง เรียกว่า “เจ็ท” (Jet) ซึ่งภายในเจ็ทจะมีกลุ่มก้อนอนุภาคกระจายอยู่แบบไม่ต่อเนื่องกัน
| |