เกี่ยวกับโครงการ

logo PNG2 Logo CAAS


การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน
The Conference on Astronomical Activities in School

     สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านดาราศาสตร์ให้กับครู นักเรียน เยาวชน และบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่อง     ได้ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมและสร้างความตระหนักในด้านดาราศาสตร์ อันเป็นประตูสู่การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์

       จากโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ 77 จังหวัด เปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้   ทั่วหล้า ในปีงบประมาณ 2558 - 2564 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ให้กับโรงเรียนในเครือข่ายทั่วประเทศ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 510 โรงเรียน และเพื่อเป็นการส่งเสริมการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ให้เกิดขึ้นในระดับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์สำหรับโรงเรียนขึ้น เพื่อให้โรงเรียนเครือข่ายจากทั่วประเทศได้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน ชุมชน รวมถึงการพัฒนาโครงงานวิจัยทางดาราศาสตร์ในระดับ   พื้นฐานหรือยุววิจัยในโรงเรียน

       การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ของครู ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในห้องเรียน การจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในโรงเรียน ขยายผลไปยังชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ไปจนถึงการเรียนรู้ในรูปแบบชมรมดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นแหล่งรวมครูและนักเรียนที่มีความชอบและใจรักในดาราศาสตร์ โดยอาศัยกิจกรรมดาราศาสตร์เป็นสื่อนำ ทำให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบชมรม ไปจนถึงการศึกษาที่ลึกขึ้นจนก้าวไปสู่การศึกษาในรูปแบบโครงงานหรือยุววิจัยดาราศาสตร์ในโรงเรียน เกิดการเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ กว่า 510 โรงเรียนง ทั่วประเทศ

       สำหรับการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ประจำปี 2564 จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้ มีการขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมที่อยู่นกเหนือกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ จำนวน 510 โรงเรียน รวมถึงมีการเพิ่มกิจกรรมการนำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียนจากครูผู้ที่จัดกิจกรรมอย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง ทำให้ครูที่เข้าร่วมการประชุมได้รับแนวคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนของตนต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การจัดกิจกรรมดาราศาสตร์
  2. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในระดับโรงเรียน
  3. เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในโรงเรียนและชุมชนอย่างแพร่หลาย
  4. เพื่อให้กลุ่มเครือข่ายดาราศาสตร์ในระดับโรงเรียนเกิดความตื่นตัวในการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์
  5. เพื่อส่งเสริมและต่อยอดให้เกิดการเรียนรู้และศึกษาดาราศาสตร์ในรูปแบบโครงงาน

กลุ่มเป้าหมาย

  1. ครู และผู้ดำเนินกิจกรรมดาราศาสตร์ จากโรงเรียนเครือข่ายโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ (ได้รับมอบกล้องฯ ในปี พ.ศ. 2558 - 2565 จำนวน 560 โรงเรียน)
  2. ครู และผู้ดำเนินกิจกรรมดาราศาสตร์ ที่สนใจแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในโรงเรียน

ขอบเขตและการพิจารณาเข้าร่วมการประชุมฯ

ครูที่สนใจสามารถเข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ได้ทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ดังนี้

รูปแบบที่ 1 : การนำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน”   จำนวน 60 ผลงาน

1.1 กิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน:

       คือกิจกรรมดาราศาสตร์ที่จัดขึ้นโดย ครู นักเรียน หรือสมาชิกชมรมดาราศาสตร์ มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาทักษะความรู้ ความสนใจ และความเข้าใจทางด้านดาราศาสตร์แก่ นักเรียนในโรงเรียน/ต่างโรงเรียน  เช่น การสร้างสื่อ/อุปกรณ์ดาราศาสตร์, กิจกรรมงานวันวิทยาศาสตร์, ค่ายดาราศาสตร์, กิจกรรมดูดาว,  การสร้างแหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ในโรงเรียน หรือการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในรูปแบบอื่นๆ

       ผู้ส่งผลงานต้องนำเสนอ กิจกรรมเด่นหรือกิจกรรมที่น่าสนใจเพียง 1 กิจกรรม เช่น วัตถุประสงค์ ผู้เข้าร่วม รูปแบบ/เนื้อหาในกิจกรรม ผลที่ได้รับ จุดเด่น ผลการดำเนินกิจกรรม ความแปลกใหม่/ความน่าสนใจของกิจกรรม ฯลฯ รวมทั้ง กิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนในภาพรวมตลอด 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา (พ.ค. 65 - เม.ย. 66)

1.2 กิจกรรมดาราศาสตร์สู่ชุมชน:

       คือกิจกรรมดาราศาสตร์ที่จัดขึ้นโดย ครู นักเรียน หรือสมาชิกชมรมดาราศาสตร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือคนในชุมชนมีส่วนร่วม กระตุ้นให้เกิดความสนใจทางด้านดาราศาสตร์ เช่น กิจกรรมสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์, กิจกรรมตามปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ในพื้นที่ชุมชน/พื้นที่ห่างไกล, การจัดกิจกรรมดูดาวในช่วงงานเทศกาลต่างๆ, กิจกรรมดาราศาสตร์สู่ชุมชน หรือ การจัดนิทรรศการดาราศาสตร์

       ผู้ส่งผลงานต้องนำเสนอ กิจกรรมเด่นหรือกิจกรรมที่น่าสนใจเพียง 1 กิจกรรม เช่น วัตถุประสงค์ ผลการดำเนินกิจกรรม จำนวนผู้เข้าร่วม วัตถุท้องฟ้า รูปแบบการจัดกิจกรรม จุดเด่น ความคิดสร้างสรรค์ และ ความน่าสนใจของกิจกรรม ฯลฯ รวมทั้ง กิจกรรมดาราศาสตร์สู่ชุมชนในภาพรวมตลอด 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา (พ.ค. 65 - เม.ย. 66)

1.3 กิจกรรมศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน:

       คือกิจกรรมการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบโครงงานดาราศาสตร์ โดยครูทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนตามระยะเวลาที่ศึกษาโครงงาน เพื่อแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียนโดยการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

       ผู้ส่งผลงานต้องนำเสนอแผนการดำเนินโครงงานดาราศาสตร์ในช่วง 1 ปีการศึกษาที่ผ่านมา (พ.ค. 65 - เม.ย. 66) และนำเสนอโครงงานที่น่าสนใจมาอธิบายตัวอย่างโครงงานดาราศาสตร์ถึงภาพรวมของการดำเนินการและผลที่นักเรียนได้รับจากการทำโครงงานฯ เช่น บทบาทของครูที่ปรึกษาโครงงาน การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ แนวคิดการศึกษาโครงงาน การวางแผนศึกษา ปัญหา/อุปสรรค และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโครงงานดาราศาสตร์ ฯลฯ

รูปแบบที่ 2 : นำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”  จำนวน  3 - 5 กิจกรรม          

       คือการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้แนวทางการสอนดาราศาสตร์สำหรับครู ด้วยกิจกรรมเชิงปฎิบัติการทางดาราศาสตร์ เช่น STEM, Active learning หรือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนดาราศาสตร์อื่นๆในห้องเรียน โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจและพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์มากขึ้น

       ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ ต้องนำเสนอและ สาธิตกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ให้แก่ผู้เข้ากิจกรรม รวมทั้งอธิบายขั้นตอนของกิจกรรมโดยละเอียด เช่น วัตถุประสงค์ อุปกรณ์ ระยะเวลากิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย และขั้นตอนการเรียนรู้ เป็นต้น

รูปแบบที่ 3 : เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน (แบบไม่นำเสนอผลงาน)   จำนวน 40 คน

       การประชุมนี้เปิดโอกาสให้ครูที่สนใจเข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำไปพัฒนาการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนต่อไป

รูปแบบการนำเสนอผลงาน

รูปแบบที่ 1 : การนำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน”

ผู้เข้าร่วมต้องจัดเตรียมการนำเสนอผลงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1. การนำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentaion) จัดเตรียมสไลด์สำหรับนำเสนอกิจรรมดาราศาสตร์ (เวลานำเสนอ 5 นาที)
    2. การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) จัดเตรียมข้อมูลโปสเตอร์นำเสนอกิจกรรมดาราศาสตร์ (ผู้นำเสนอต้องจัดเตรียมมาเอง)

รูปแบบที่ 2 : นำเสนอกิจกรรมอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”

    • ผู้นำเสนอเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมมอบรม (Workshop) จัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม พร้อมกับดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียนให้กับผู้เข้าร่วมการประชุม โดยมีเวลานำเสนอและดำเนินกิจกรรม 1 ชั่วโมง/กิจกรรม

กำหนดการรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

       ผู้สนใจเข้าร่วม “การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน” สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมและการรับสมัครได้ที่ www.NARIT.or.th/index.php/CAAS โดยผู้ที่สนใจเข้าร่วมในแต่ละกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าลงทะเบียน ซึ่งมีกำหนดการรับสมัคร ดังนี้

รูปแบบที่ 1 : ผู้นำเสนอผลงาน “กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน”

                  

> ลงทะเบียน ส่งผลงานกิจกรรมดาราศาสตร์

       

จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2566

 

> ประกาศผลการคัดเลือก

 

10 พฤษภาคม 2566

 

> ส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ (Full Paper)

 

26 พฤษภาคม 2566

รูปแบบที่ 2 : ผู้นำเสนอกิจกรรมการอบรม (Workshop) “กิจกรรมการเรียนรู้ดาราศาสตร์ในชั้นเรียน”

                

> ลงทะเบียน กิจกรรมการอบรมฯ

        

จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2566

> คัดเลือกและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

 

8 - 12 พฤษภาคม 2566

> ประกาศผลการคัดเลือก

 

26 พฤษภาคม 2566

รูปแบบที่ 3 : ผู้เข้าร่วมฟังการนำเสนอผลงาน (แบบไม่นำเสนอผลงาน)

                

> ลงทะเบียน

      

จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2566

       ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาคัดเลือกหัวข้อนำเสนอผลงาน (รูปแบบที่ 1) โดยคัดเลือกจากบทคัดย่อ (Abstract) ที่ส่งมา และจะประกาศผล ใน วันอังคาร ที่  11  เมษายน 2566 เพื่อแจ้งให้กับผู้ผ่านการคัดเลือกส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อไป

วันเวลาและสถานที่จัดกิจกรรม

                วันที่จัดการประชุม            ระหว่างวันที่ 9 - 11  มิถุนายน 2566

                สถานที่จัดกประชุม           บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

       ผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทุกท่าน (รูปแบบที่ 1 และ 2) จะได้รับเกียรติบัตรเพื่อแสดงว่าท่านได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงาน “การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน” ทั้งนี้ ผลงานที่มีความโดนเด่นและได้รับการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการ โดยพิจารณาจาก รายงานฉบับสมบูรณ์ การนำเสนอแบบบรรยาย การนำเสนอแบบโปสเตอร์ หรือ การนำกิจกรรม Workshop จะได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

หมายเหตุ

  1. ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการนำเสนอผลงาน (เฉพาะรูปแบบที่ 1 และ 2) จะได้รับการสนับสนุนค่าอาหาร ที่พัก ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ระหว่างวันที่ 9 - 11 มิถุนายน 2566 ยกเว้น ค่าเดินทางจากภูมิลำเนามายังสถานที่จัดประชุม จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหรือเบิกจ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัด
  2. ผู้เข้าร่วมฟังการนำเสนอ (รูปแบบที่ 3 : แบบไม่นำเสนอผลงาน) สามารถเข้าร่วมการประชุมได้โดยไม่เสียค่าลงทะเบียนและค่าอาหารระหว่างการประชุม ยกเว้นค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าที่พักและค่าเดินทางจากภูมิลำเนา ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองหรือเบิกจ่ายจากหน่วยงานต้นสังกัด

** ดาวโหลดเอกสารโครงการ “งานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ครั้งที่ 4”