ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

        สดร. มีเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็งทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีการประสานความร่วมมือกันทั้ง ทางด้านการวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์ความรู้/ข้อมูลต่างๆ การแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่าง สดร. กับ หน่วยงานเครือข่าย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์ของ สดร. เพื่อทาวิจัยของ นักศึกษาในสถาบันการศึกษา โดยมีนักวิจัยของสดร. ร่วมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รวมถึงการจัดการ ฝึกอบรม สัมมนา หรือกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง


 เครือข่ายและความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกสถาบัน

ปัจจุบัน สดร. มีเครือข่ายความร่วมมือรวมทั้งสิ้น 56 หน่วยงาน จำแนกเป็น เครือข่ายดาราศาสตร์ ระดับชาติ จำนวน 22 หน่วยงาน และเครือข่ายดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ จานวน 34 หน่วยงาน ดังนี้

1) เครือข่ายดาราศาสตร์ระดับชาติ ( 22 หน่วยงาน )

        สดร. มีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านดาราศาสตร์ และมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ อย่างเป็นทางการ กับสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อดำเนินกิจกรรมทางด้านวิจัย พัฒนา และวิชาการร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย

  • มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ มหาวิทยาลัยพะเยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

  • หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดาริ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) สมาคมดาราศาสตร์และ วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศอ.พว.) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ องค์กรสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สถาบันไทย - เยอรมัน

2) เครือข่ายดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ ( 34 หน่วยงาน 18 ประเทศ )

Screen Shot 2562 12 06 at 15.15.47

        ในปีงบประมาณ 2562 สถาบันฯ ได้สร้างความร่วมมือทางวิชาการด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง กับหน่วยงาน ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ มีการสานต่อความร่วมมือที่เกิดมาก่อนหน้าให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อาทิเช่น

  • Instituto Geografico Nacional (Spain) ในการสร้างเครื่องรับสัญญาณแบบ Ku-band holography เพื่อใช้ทดสอบ Surface accuracy ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุ

  • Max Planck Institute for Radio Astronomy (Germany) ในการสร้างเครื่องรับสัญญาณวิทยุ ในช่วง คลื่น L-band และ K-band

  • Jodrell Bank Center for Astrophysics, University of Manchester (UK) ในการสร้าง Universal backend ซึ่งจะใช้ GPU เป็นตัวประมวลผลแทนแบบเดิม

  • Korea Astronomy and Space Science Institute (Korea) ในการฝึกวิศวกรของ สดร. เพื่อสร้าง เครื่องรับสัญญาณความถี่สูงในอนาคต

  • National Astronomical Observatory of Japan (Japan) ในการเตรียมการเข้าร่วมกับเครือข่าย VLBI ต่างๆ และเตรียมการออกแบบและสร้างเครื่องรับสัญญาณวิทยุในช่วงคลื่น C-band

  • Institut d’Optique Graduate School (France) ในการพัฒนาเครื่องมือขั้นสูงต่างๆ ทางด้าน ทัศนศาสตร์

  • Polar Research Institute of China, Chinese Academy of Sciences (China) ในการวิจัยเรื่อง ดาราศาสตร์ที่ขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นพระราชดาริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

  • Yunnan Observatories, Chinese Academy of Sciences (China) ในการวิจัยฟิสิกดาราศาสตร์ หลายโครงการ รวมถึงการติดตั้งใช้งานกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ที่หอดูดาว เกาเหมยกู่

  • University of North Carolina at Chapel Hill (USA) ในการติดตั้งและใช้งานกล้องโทรทรรศน์ PROMPT8 ที่ Cerro Tololo Inter-American Observatory

  • Centre for Astrophysics and Space Science (CASS), CSIRO (Australia) ในความร่วมมือด้าน ดาราศาสตร์วิทยุ

  • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการอบรมครูด้านดาราศาสตร์