เล่าเรื่อง

“ศาสตาจารยกิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล”

โดย คุณภาสุรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
บุตรสาว

อาจารย์ระวีทำงานอะไร

          อาจพูดได้ว่าชีวิตส่วนตัวกับการงานของอาจารย์ระวีนั้นแทบจะแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะงานทั้งหลายของอาจารย์ระวีเริ่มต้นจากสิ่งที่อาจารย์ระวีรักที่จะให้ความสนใจ แล้วลงมือทำงานตามที่เห็นสมควรเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วหาหนทางถ่ายทอดความรู้ให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่น สิ่งที่อาจารย์ระวีให้ความสนใจมักจะมีหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจารย์เชื่อว่าเรื่องทุกเรื่องเกี่ยวข้องกันหมด ไม่มีเส้นแบ่งแยกระหว่างงานที่ได้เงินกับงานที่ไม่ได้เงิน

          อาจารย์ระวีมีความสุขเมื่อได้พบเห็นเรื่องแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่กระตุ้นความสนใจ มีความสุขในการทดลอง ค้นคว้า ตลอดจนเผยแพร่ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเหล่านั้นสู่สาธารณะ ครั้นเมื่อรู้สึกว่างานแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นไปแล้ว ก็แล้วกันไป เรื่องที่อยู่ในความสนใจจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เช่น เรื่องเสียงร้องของเหล่านกกางเขนที่บ้าน ซึ่งมีเสียงร้องต่างกันหลายแบบ แม้อาจารย์ระวีจะมิใช่นักชีววิทยาโดยอาชีพ แต่ก็ใช้เวลาเป็นปี ๆ เฝ้าสังเกต และบันทึกเสียง โดยใช้อุปกรณ์คือจานเรดาร์ที่ทำขึ้นเองจากกระทะปรุงอาหาร มีผลงานเป็นเทปคาเซทที่บันทึกเสียงนกกางเขนเต็มตู้ นอกจากนี้ยังสนใจประวัติศาสตร์ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ มีความประทับใจเรื่องความผูกพันระหว่างสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกับฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) เป็นพิเศษ สนใจศึกษาเรื่องจิตวิทยาและการทำงานของสมองมนุษย์ ทำบันทึกส่วนตัวเกี่ยวกับความฝันของตนอย่างต่อเนื่อง สนใจศิลปะ โดยเฉพาะจิตรกรรมและดนตรีคลาสสิก ฯลฯ  อย่างไรก็ตามเรื่องที่สนใจค้นคว้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดคือเอกภพทางกายภาพ และพระพุทธศาสนา ซึ่งอาจารย์ระวีเรียกรวมกันว่า “เรื่องของโลกและชีวิต”

          ในด้านดาราศาสตร์ ในฐานะที่เป็นทั้งงานอาชีพและสิ่งที่รัก อาจารย์ระวีสอนนักศึกษาปริญญาโท,  ทำงานวิจัยเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ อุกกาบาต ดาวหาง เป็นต้น, รับบรรยายเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ตามสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ, ให้ความร่วมมือในการจัดแสดงนิทรรศการกับท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ สำนักข่าวสารอเมริกัน และองค์กรอื่น ๆ แล้วแต่กรณี, เขียนหนังสือ, เขียนตำรา, เขียนบทความเพื่อลงในนิตยสารต่าง ๆ เตรียมบทบรรยายเรื่องเกี่ยวกับดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งออกอากาศเป็นประจำทางสถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิตฯ, เตรียมบทความเพื่อนำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการ เช่นที่ประชุมแห่งราชบัณฑิตยสภา เป็นต้น รวมทั้งศึกษาหาความรู้เพื่อให้สัมภาษณ์ตอบคำถามสื่อมวลชนในยามมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ประชาชนให้ความสนใจ

          นอกจากนี้งานสำคัญอีกอย่างคือการพัฒนาอุปกรณ์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์สำหรับใช้ในการศึกษาและวิจัย ซึ่งทำกันที่ตึกโรงงานฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เลนส์, กล้องดูดาว, กล้องดูดวงอาทิตย์ และอุปกรณ์เกือบทั้งหมดที่ใช้จึงสร้างและประกอบขึ้นจากฝีมือแรงงานของช่างไทยล้วน ๆ ภายใต้การออกแบบและควบคุมดูแลของอาจารย์ระวี 

 

อาจารย์ระวีทำงานอย่างไร

          อาจารย์ระวีติดต่อสื่อสารด้วยเครื่องโทรศัพท์รุ่นเก่า ในวัยชราเมื่อมีโทรศัพท์มือถือก็ไม่ชอบใช้ เครื่องพิมพ์ดีดขนาดเล็ก (แบบกระเป๋าหิ้ว) ก็มีไว้สำหรับใช้เฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น อาจารย์ชอบทำงานเขียนโดยใช้ดินสอ AB หรือปากกาหมึกซึมคัดลายมือบรรจงลงบนกระดาษ A4 ที่ขาวสะอาด แต่การเขียนนั้นใช้เวลาน้อยกว่าการใช้ความคิดพิจารณาจนรู้ชัดถึงเนื้อหาและลำดับในการนำเสนอ  ประกอบกับอาจารย์ชอบลงมือเขียนในขณะที่สมองแจ่มใสที่สุด ไม่อ่อนเพลีย ง่วงหงาว งุนงง ห้องทำงานของอาจารย์ระวีจึงมีมุมแอบ ๆ สำหรับเอนหลังนอนสมาธิ, ฟังเพลงเซ็น หรือดนตรีคลาสสิก หรือนอนหลับสักงีบทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นห้องทำงานที่ตึกโรงงานฟิสิกส์ จุฬาฯ, ธรรมสถานจุฬาฯ หรือที่บ้าน อาจารย์พูดเสมอว่าการรักษาจิตใจให้แจ่มใสเป็นภารกิจสำคัญส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงานให้ได้ผลดี

 

rawi 20200828 03

ภาพห้องทำงานเก่า ตึกฟิสิกส์ ๑

เป็นภาพมุมหนึ่งของการนั่งทำงานของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ระวี ภาวิไล

 

          นอกจากที่สำหรับนอนแล้ว ห้องทำงานของอาจารย์ระวียังต้องมีที่สำหรับชงกาแฟและวางขนมขบเคี้ยว มีตู้เย็นขนาดเล็กเอาไว้เก็บฟิล์มถ่ายรูป รวมทั้ง นม กับ ช็อกโกแลต (ของโปรด) ห้องทำงานที่โรงงานฟิสิกส์มีเตาไฟฟ้าและอุปกรณ์ครัวสำหรับทำอาหารเช้าด้วย (ไข่ดาว กับ เบคอน)

  rawi 20200828 11

ห้องทำงานที่ชั้น ๓ ตึกโรงงานฟิสิกส์

เป็นภาพมุมหนึ่งของห้องทำงานศาสตราจารย์กิตติคุณ ระวี ภาวิไล

 ข้างหลังภาพจะเห็นเตาไฟฟ้าที่สำหรับปรุงอาหารเช้า

 

          นอกจากนี้ในห้องยังมีโต๊ะไฟสำหรับดูฟิล์มสไลด์ และที่สำคัญคือมีหนังสือและเอกสารมากมายจนล้นชั้นออกมาตั้งวางอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งห้อง สำหรับหนังสือที่กำลังอยู่ในความสนใจมากที่สุดจะกองอยู่บนโต๊ะทำงาน

          เนื่องจากสมัยที่อาจารย์ระวีทำงานยังไม่ถึงยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจนสามารถสังเกตุการณ์ทางดาราศาสตร์ผ่านจอคอมพิวเตอร์ และควบคุมการใช้อุปกรณ์สังเกตการณ์ต่าง ๆ ด้วยคีย์บอร์ด อาจารย์ระวีจึงต้องใช้มากกว่ากึ่งหนึ่งของเวลาทำงานอยู่กลางแจ้ง ณ สถานีสังเกตการณ์บนดาดฟ้าตึกฟิสิกส์บ้าง หอดูดาวของท้องฟ้าจำลองบ้าง หรือตามสถานที่ต่าง ๆ ที่ไปตั้งสถานีสำรวจชั่วคราวบ้าง จนมีผิวสีเข้มเกรียมแดดอยู่เสมอเพราะงานที่ทำอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ซึ่งต้องทำกันตอนแดดเปรี้ยง ๆ

 

ห้องทำงานทั้งที่บ้านและที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ของอาจารย์ระวีมีลักษณะพิเศษอย่างไร

          อาจารย์ระวี มีบุคลิกภาพเป็นคนเรียบง่าย สมถะ รักครอบครัว ไม่ให้ความสำคัญกับความโก้หรู แม้ห้องจะถูกใช้เป็นสถานที่รับแขก หรือให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนบ่อย ๆ ก็ไม่สนใจที่จะประดับประดาเพื่อโอ้อวดสถานภาพหรือรสนิยม อาจารย์มีห้องทำงานเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับเป็นสถานที่ซึ่งทำงานได้อย่างสะดวกสบายตัวสบายใจโดยแท้จริง ปกติทั้งห้องและโต๊ะทำงานดูออกจะรกในสายตาของคนทั่วไป แต่อาจารย์มักจะหงุดหงิดเมื่อมีคนหวังดีมาช่วยจัด บ่นว่าหาของไม่เจอ เวลามีแขกอาจารย์พอใจที่จะจัดเองพอเป็นการให้เกียรติผู้มาเยือน และเพื่อความรื่นรมย์ในการพบปะสนทนา

 

อาจารย์ระวีใช้โต๊ะทำงานทำอะไร

          อ่านหนังสือ, เขียนหนังสือ, ทำงานต่าง ๆ, บันทึกเสียงสำหรับนำไปออกรายการวิทยุ, ต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือน, รับประทานอาหารเช้าและของว่าง, จิบกาแฟ, พูดโทรศัพท์ เป็นต้น

 

rawi 20200828 08

 

ประวัติ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ระวี ภาวิไล

พ.ศ. 2468 – 2560

          “…บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมนั้น มีความเป็นอยู่สามัญสะอาด สงบเย็น รู้รอบ รู้พร้อม รู้ทันตัวเอง ดำรงชีวิตเรียบง่าย อยู่ในโลกอย่างรู้เท่าทันโลก ไม่เป็นทาสของโลก ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึง ไม่เป็นพิษภัยแก่ใคร รักโลกและสรรพสิ่งโดยไม่ติดข้องอาลัย เห็นความตายในทุกขณะชีวิต เห็นชีวิตนิรันดร์อันรุ่นโรจน์ในความตาย อยู่กับโลก เคลื่อนไหวไปพร้อมกับโลก โดยรู้แจ้งชัดถึงระทมของผู้คน ได้ละแล้วซึ่งความติดใจและความอยากอีก ได้ลิ้มรสแห่งชีวิตและความตายสมบูรณ์ เพราะได้พากเพียรปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุดแล้ว  ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ว่าอยู่ที่แห่งใดในสกลโลก”

 

อุดมคติที่กำหนดชีวิต

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ระวี ภาวิไล

 

          ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ระวี ภาวิไล เป็นบุตรลำดับที่ 2 ของนายวัน ภาวิไล ม.ล. หญิง สุหร่าย ภาวิไลเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2468

rawi 20200828 07

 

          เริ่มเข้าเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษาที่โรงเรียนหุตะวณิช

           

rawi 20200828 02

rawi 20200828 09

จบมัธยมหก ณ โรงเรียนสวนกุหลาบ และเข้าศึกษาต่อในระดับ ม. 7 และ 8 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

rawi 20200828 01

สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,

 

rawi 20200828 06

rawi 20200828 04

ปริญญาโททางฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด (The University of Adelaide) และปริญญาเอกทางดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (The Australian National University : ANU)

 

rawi 20200828 05

ปี พ.ศ. 2502  สมรสกับนางอุไรวรรณ คำมณเฑียร มีธิดาและบุตร 3 คน คือ ภาสุรี ภาสกร (นิรันดร์) และ อรุณ ภาวิไล

 

rawi 20200828 10

ศาสตาจารย์กิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล เริ่มเป็นอาจารย์โดยประจำอยู่แผนกฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2529

 

          ผลงานทางด้านดาราศาสตร์เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ เคยร่วมประชุมและรับเชิญทำงานวิจัยในต่างประเทศเกือบ 20 ครั้ง มีผลงานค้นคว้าวิจัยทางดาราศาสตร์ ลงพิมพ์ในนิตยสารต่างประเทศและเป็นที่อ้างอิงของนักดาราศาสตร์สำคัญของโลก

          ศึกษาค้นคว้าทางศาสนาและปรัชญา เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม อาทิ คุณค่าชีวิต รู้สึกนึกคิด ชีวิตดีงาม ดาวหาง ความสงัด (ศาสนากับปรัชญา) เพ่งพินิจเรื่องชีวิต เป็นต้น

          เคยเป็นนายกสมาคมดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย ค้นคว้าเรื่องการกำเนิดของจักรวาล วิจัยเรื่องอุกกาบาตที่ตกในประเทศไทย

          เป็นราชบัณฑิตแห่งราชบัณฑิตยสภา

          เป็นผู้อำนวยการคนแรกของธรรมสถานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          เป็นบรรณาธิการในคณะบรรณาธิการของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ

          เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติทำหน้าที่รัฐสภา พ.ศ. 2517-2518

          เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศชื่อ 9 ศิลปินแห่งชาติ ประจำพุทธศักราช 2549  โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์

 

rawi 20200828 12

 

ผลงานวิจัย

พ.ศ. 2495

วิทยานิพนธ์ปริญญาโททางฟิสิกส์ เสนอต่อมหาวิทยาลัย อาดิเลด ประเทศออสเตรเลีย เรื่อง An Investigation into the Design and Performance of a High Frequency Single Side-band Transmitter and Receiver employing Audio Wideband Phaseshift Networks  in Balanced Modulator Circuits as a Means of Sideband and Carrier Suppression.

พ.ศ. 2507

บทความซึ่งเป็นผลงานวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์ ร่วมกับนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ออสเตรเลีย Rawi Bhavilai, Norton, D.G., Giovanelli R.G., 1964, Astrophys. J., 141, 274. Title : The Double Limb in H-alpha.

พ.ศ. 2507      

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทางดาราศาสตร์ เสนอต่อมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เรื่อง “The Structure and Dynamics of the Solar Chromosphere

พ.ศ. 2508      

บทความซึ่งเป็นผลงานวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์ Rawi Bhavilai, 1965, Monthly Notices of The Royal Astronomical Society, London, 130, 411. Title : “The Structure of the Solar Chromosphere, I., Indentification of Spicules on the Disk”.

พ.ศ. 2509      

บทความผลงานวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์ ร่วมกับผู้อื่น R.Bhavilai & Exell, R.H.B., 1966. The Fine Structure of The Solar Atmosphere, Ed. K.O. Kiepenheure, Publ. Franz Steiner Verlag, Weisbaden. Title : Photometry of the H-aplha Disk Chromosphere.

พ.ศ. 2509      

บทความผงานวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์ R. Bhavilai, 1966. The Fine Structure of the Solar Chromosphere, Ed. K.O. Kiepenheure, Publ. Franz Steiner Verlag, Weisbaden. Title : Time Changes in the H-alpha Chromophere.

พ.ศ. 2511      

บทความผลงานวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์ Bhavilai, R. : 1968. Solar Phys. 5, 471. Title : The Bright Streaks in the H-alpha Chromosphere.

พ.ศ. 2512      

บทความผลงานวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์ อ่านเสนอต่อที่ประชุม Conference on the Chromosphere Corona Transition Region การประชุม Observational Problems and Results Concerning H-alpha Disk Structures and Limb Structures

พ.ศ. 2513      

บทความผลงานวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์ ร่วมกับนักดาราศาสตร์สหรัฐ White, O.R., and Rawi Bhavilai, 1970. Astrophysical Letters, 5, 137. Title : Comments on the Discovery of the Dark Band in the H-alpha Solar Chromosphere.

พ.ศ. 2519      

ผลงานวิจัย “Chromospheric Fine Structures Near the Solar Limb in H-alpha” อ่าน เสนอในที่ประชุมนักดาราศาสตร์นานาชาติ ที่ประเทศออสเตรเลีย 3 กันยายน 2519 บทความตีพิมพ์ในรายงานของการประชุมนั้น

พ.ศ. 2519      

ผลงานวิจัยโดยทุนรัชดาภิเศกสมโภช ซึ่งได้รับติดต่อกัน 3 ปี คือ 2515-2517 เรื่อง “โครงสร้างละเอียดของโครโมสเฟียร์ดวงอาทิตย์”

 

การเขียนตำราและหนังสือ

  1. เขียนตำรา “ดาราศาสตร์” สำรหับใช้ในมัธยมปลาย พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2502 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2504
  2. เขียนตำรา “ดาราศาสตร์และอวกาศ” สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา บริษัทศึกษิตสยาม จัดพิมพ์ มีนาคม 2522
  3. เป็นผู้แปลและเรียบเรียงร่วมในคณะผู้จัดทำ “สารานุกรมวิทยาศาสตร์” ของสาขาครูวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2508
  4. เขียนเรื่อง “ดวงอาทิตย์” ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 1 หน้า 1-21 ตีพิมพ์ พ.ศ. 2516
  5. เขียนเรื่อง “ท้องฟ้ากลางคืน” ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 1 หน้า 40-67 ตีพิมพ์ พ.ศ. 2516
  6. เขียนหนังสือเรื่อง “ดาวหาง” เป็นผลงานค้นคว้าและวิจัยรวมอยู่ด้วย ตีพิมพ์ พ.ศ. 2516

 

งานบริการวิชาการ

          บรรยายเรื่อง “วิทยาศาสตร์” ทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต เดือนละครั้ง (ทุก 4 สัปดาห์ ระหว่างปี พ.ศ. 2513 – 2523) และเริ่มอีกครั้ง เมื่อ ตุลาคม 2538

 

บทความวิชาการ

          บทความสรุปรวมผลการวิจัย และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ระวี ภาวิไล เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปสู่สังคม

          (ก) บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารของสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่าง พ.ศ. 2498 – 2504 (ตัวเลขเรียงกัน แสดง เล่มที่-หน้า-พุทธศักราช ของวารสาร)

  1. “เกี่ยวกับการใช้ความคิด” 5-22-2491
  2. “จักรวาลและชีวิตบนดวงดาวอื่น” 1-5-2498
  3. “ความเชื่อมั่นที่ยังไม่ได้พิสูจน์ในวิชาวิทยาศาสตร์” 12-23-2497
  4. “ความรู้บางประกาศเกี่ยวกับดวงจันทร์” 1-6-2502
  5. “กล้องดาราศาสตร์” 4-1-2504
  6. “การสำรวจดาวพระศุกร์” 4-17-2504
  7. “การคำนวณเบื้องต้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดาวเทียม บันทึกเรื่องเครื่องมือที่ใช้สำรวจ โดยบรรจุในดาวเทียม” 11-10-2500
  8. “ดาวอังคาร” 7-1-2499 และต่อ 8-23-2499
  9. “ดาวหาง” 12-1-2491
  10. “ปาฐกถาของ ดร.อาเธอร์ เอช คอมพ์ตัน” 3-29-2497
  11. “ปฏิกรณ์ปรมาณู” 8-50-2498
  12. “เรื่องของพลังงานปรมาฯชิดเทอร์โมนิวเคลียร์” 5-39-2501
  13. “ปรากฏการณ์ของแสงสว่าง” 6-31-2498
  14. “แสงอาทิตย์คือพลังงานปรมาณู” 3-1-2491
  15. “ไฟฟ้ากระแส” 4-33-2501
  16. “เครื่องมือค้นหาแหล่งแร่จากทางอากาศ” 10-1-2497
  17. “เรือบังคับด้วยวิทยุ” 11-9-2496
  18. “กล้องโทรทัศน์วิทยุของอังกฤษ” 2-16-2501
  19. “วิทยาศาสตร์ให้ความเข้าใจแก่มนุษย์เพียงไร” 4-8-2490
  20. “วิทยาศาสตร์ให้ความเข้าใจแก่มนุษย์เพียไร ตอน 2” 5-44-2490
  21. “คำชี้แจงเรื่องสุริยุปราคาวงแหวน” 2-2-2501
  22. “เรื่องประหลาดและยุ่งๆ ของอีเลคตรอน” 10-29-2491
  23. “โลกทัศน่ของไลนสไตน์” 4-1-2498
  24. “หอดูดาว ภูเขาสตรอนโล” 9-603-2505
  25. “ประวัติการวิจัยเรื่องดวงอาทิตย์” 7-503-2506
  26. “นักวิทยาศาสตร์กับปรัชญาทางพุทธศาสนา” 1-9-2508
  27. “วัตถุท้องฟ้าซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดรังสีคอสมิก” 7-560-2508

          (ข) บทความซึ่งเป็นผลงานร่วมกับผู้อื่นลงในวารสารวิทยาศาสตร์

  1. “โครงการไปสู่โลกพระจันทร์” ร่วมกับ เสนาะ ตันบุญยืน ภิยโย ปันยารชุน 10-793-2528
  2. “ชีวิตบนโลกอื่น” ร่วมกับ เสนาะ ตันบุญยืน สิปปนนท์ เกตุทัต 7-487-2508
  3. “ดวงอาทิตย์” ร่วมกับ เสนาะ ตันบุญยืน สิปปนนท์ เกตุทัต 2-143-2508 และต่อ 4-267-2508
  4. “แผ่นดินไหว” ร่วมกับ สุภาพ ภู่ประเสริฐ ภิยโย ปันยารชุน ทิว ศุภจรรยา 10-834-2509
  5. “การแยกตัวของทวีป” ร่วมกับ สุภาพ ภู่ประเสริฐ ภิยโย ปันยารชุน ทวีศักดิ์ ปิยกาญจน์
    11-925-2509
  6. “ยุง” ร่วมกับ คลุ้ม วัชโรบล ม.ร.ว. ชนาญวัต เทวกุล เพญศรี ไววณิชยกุล
  7. “สุริยุปราคา” ร่วมกับ น.อ. สมชาย ชั้นสุวรรณ ร.น. กำจัด มงคลกุล

          (ค) บทความที่เขียนลงพิมพ์ในวารสาร “วิทยาศาสตร์ ก้าวหน้า” ในปี 2508 – 2509 (บอกชื่อเรื่อง เล่มที่ของวารสาร วัน เดือน ปี และหน้า)

  1. “รังสีเอ็กซ์จากท้องฟ้าและดาวนิวตรอน” 7 ต้น ก.ค. 2508 19-22
  2. “มาริเนอร์ 4 เดินทางไปสำรวจดาวอังคาร” 8, 23 ก.ค. 2508 44-50
  3. “กาแลกซี่จำพวกที่มีใจกลางอัดแน่น” 8 ส.ค. 2508 24-26
  4. “ผลขั้นตั้นจากการสำรวจดาวอังคาร”โดยมาริเนอร์ 4” 9,8 ส.ค. 2508 27
  5. “ผลสำเร็จอันน่าตื่นเต้นของดาราศาสตร์” 10, 23 ส.ค. 2508 49-51
  6. “ผลจากการสำรวจโดยมาริเนอร์ 4 – ดาวอังคารคล้ายดวงจันทร์” 10, 23 ส.ค. 2508 52-53
  7. “การหมุนรอบตัวของดาวพุธ” 8 ก.ย. 2508 49-51
  8. “เยมินี 5” 11 , 8 ก.ย. 2508 51-52
  9. “ดาราศาสตร์ก้าวหน้า” 23 ก.ย. 2508 49-51 และต่อ 13, 8 ต.ค. 2508 46-48
  10. “เยมินี 5 ทำสถิติ” 12, 23 ก.ย. 2508 52-53
  11. “ดาวหาง” 14, 23 ต.ค. 2508 42-48 และต่อ 15, 8 พ.ย. 2508 39-46
  12. “ดาวหาง 1965F อิเคยา-เซกิ” 23 พ.ย. 2508 43-48
  13. “สุริยุปราคาวงแหวน” 16, 23 พ.ย. 2508 43-48
  14. “สังเกตการณ์สุริยุปราคาวงแหวนที่กรุงเทพฯ” 23 พ.ย. 2508” 17, 8 ธ.ค. 2508 43-48
  15. “บันทึกเพิ่มเติม ดาวหาง 1965f อิเคยา-เซกิ” 17, 8 ธ.ค. 2508 49-50
  16. “มนุษย์ออกสู่อวกาศ” 23 ธ.ค. 2508 38-42 และต่อ 19, 8 ธ.ค. 2509 42-49
  17. “เอกภพขยายตัว” 20, 23 ม.ค. 2509 45-48
  18. “ปัญหาและทฤษฎีทางจักรวาลและวิทยา” 2, 8 ก.พ. 2509 10-13
  19. “ดาราศาสตร์วิทยุ” 22, 23 ก.พ. 2509 8-10
  20. “อุปกรณ์ดาราศาสตร์วิทยุขนาด 210 ฟุต ของออสเตรเลีย” 23, 8 มี.ค. 2509 34-39
  21. “การนัดพบในอวกาศ” 24, 23 ส.ค. 2509 47-51
  22. “เรื่องของควอซาร์” 25, 8 เม.ย. 2509 43-48 และต่อ 26, 23 เม.ย. 2509 44-48
  23. “ลักษณะของระดับโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์” 27, 8 พ.ค. 2509 43-44
  24. “สเปกตรัมของแสงอาทิตย์” 28, 23 พ.ค. 2509 52
  25. “เส้นฟรอนโฮเฟอร์และโคโมสเฟียร์ของดวงอาทิตย์” 29, 8 มิ.ย. 2509 42-44

          (ง) บทความที่เขียนลงใน “วารสารราชบัณฑิตยสถาน” และหนังสือของราชบัณฑิต

  1. “จากบิ๊กเปรี้ยงถึงหลุมดำ” ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 ม.ค. – มี.ค. 2534 หน้า 5-12
  2. “อุกาบาตบ้านร่องดู่” บรรยายในการประชุมราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2536 ตีพิมพ์ในวารสารฯ ฉบับผนวก สำนักวิทยาศาสตร์ เล่มที่ 2 เดือน ธ.ค. 2536 และฉบับผนวก สำนักวิทยาศาสตร์ เล่มที่ 3 เดือน ส.ค. 2537
  3. “อเนกอนันตภพ (Universes) ในหนังสือที่ระลึก เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2535 ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์ทูลเกล้าฯถวาย หน้า 426-435

 

ที่มาข้อมูล      

          หนังสือ 90 อายุวัฒนมงคล 90 วสันต์ ศ.กิตติคุร ดร.ระวี ภาวิไล (รายงานผลการวิจัยในโครงการ สกว. โดยชัชวาล ปุญปัน) 2558

          หนังสือที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตาจารย์กิตติคุณ ดร.ระวี ภาวิไล  2560

update 28 สิงหาคม 2563