สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดประเด็น “10 เรื่องดาราศาสตร์น่าติดตามในปี 2564” เผยเทรนด์ปีหน้า เน้นพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูงสู่สังคม จับตา 2 ภาคีสำคัญ ภาคีความร่วมมือวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังแก้ปัญหา PM2.5 และ ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย วางแพลตฟอร์มดันไทยสู่วงการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศ พร้อมเดินหน้า ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย’ หนุนแหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ เตรียมเปิดนิทรรศการดาราศาสตร์โซนใหม่และจัตุรัสวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ และชวนติดตามปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญตลอดปี
ข่าวประชาสัมพันธ์
20 - 23 ธันวาคมนี้ จับตา “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนติดตามปรากฏการณ์สำคัญ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์” ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี วันที่ 20 - 23 ธันวาคม 2563 มองด้วยตาเปล่าจะเห็นเสมือนเป็นดาวดวงเดียวกัน หากมองผ่านกล้องโทรทรรศน์กำลังขยายไม่เกิน 200 เท่า จะเห็นดาวเคราะห์สองดวงจะปรากฏอยู่ในช่องมองภาพเดียวกัน เป็นปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยาก สดร. เตรียมจัดสังเกตการณ์ 4 จุดหลักที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา
สดร. เผยภาพ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืน 13 ถึงเช้า 14 ธันวาคม 2563
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ฝนดาวตกเจมินิดส์” เหนืออ่างเก็บน้ำห้วยลาน ต. ออนใต้ อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ คืนวันที่ 13 ถึง รุ่งเช้า 14 ธันวาคม 2563 บันทึกในช่วงเวลาประมาณ 21:00 - 02:30 น. นับเป็นฝนดาวตกส่งท้ายปีนี้ อัตราการตกเฉลี่ยสูงสุดเป็นไปตามคาด มากถึงประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง สามารถสังเกตเห็นดาวตกที่เป็นลูกไฟ (Fireball) และดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) เป็นแนวยาวพาดผ่านท้องฟ้า
เต็มตา! ฝนดาวตกเจมินิดส์ส่งท้ายปี 63 ชาวไทยฮือฮาแห่ชมคึกคัก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยบรรยากาศชมฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ธันวาคม ชาวไทยทั่วประเทศสนใจติดตามชมฝนดาวตกกันคึกคัก จุดสังเกตการณ์หลักที่อ่างเก็บน้ำห้วยลาน ประชาชนนับพันร่วมโต้รุ่ง นอนนับดาวตก ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น เริ่มเห็นตั้งแต่ก่อนสองทุ่ม เป็นลูกไฟสว่างพาดผ่านทัองฟ้า หอดูดาวภูมิภาคโคราช ฉะเชิงเทราคนแน่นขนัดเช่นกัน
ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร ปีที่ 3
สดร. ชวนโต้รุ่งชม “ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืน 13 ถึง รุ่งเช้า 14 ธันวาคม ณ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน เชียงใหม่ - หอดูดาวภูมิภาคโคราช และฉะเชิงเทรา
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนชมฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ถึงรุ่งเช้า 14 ธันวาคม 2563 คาดปีนี้มีอัตราการตกเฉลี่ยมากถึง 150 ดวงต่อชั่วโมง โอกาสดี ไร้แสงจันทร์รบกวน สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคทั่วไทย แนะชมในที่มืดสนิท เตรียมตั้งจุดสังเกตการณ์ เชิญชวนผู้สนใจโต้รุ่งนอนนับฝนดาวตก 3 จุดหลัก ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยลาน ต. ออนใต้ อ. สันกำแพง จ. เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมาและฉะเชิงเทรา
นักวิจัย สดร. ร่วมทีมค้นพบน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ ค้นพบน้ำบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ KELT-11b จากการสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเทสส์ และกล้องโทรทรรศน์อื่น ๆ ทั่วโลก รวมถึงกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.5 เมตร ณ หอดูดาวแห่งชาติ บนดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ งานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Astronomical Journal ฉบับที่ 160 เลขที่ 6 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา
สดร. ชวนจับตา 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ส่งท้ายปี 2563 “ฝนดาวตกเจมินิดส์” และ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี”
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนจับตา 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์สำคัญส่งท้ายปี “ฝนดาวตกเจมินิดส์” คืน 13 ถึงรุ่งเช้า 14 ธ.ค. 63 คาดมีอัตราการตกเฉลี่ยมากถึง 150 ดวงต่อชม. ปีนี้โอกาสดี ไม่มีดวงจันทร์รบกวน แนะชมในที่มืดสนิท และ “ดาวพฤหัสบดีเคียงดาวเสาร์ใกล้ที่สุดในรอบ 397 ปี” 20 - 23 ธ.ค. 63 ปรากฏใกล้กันมากเสมือนเป็นดวงเดียว สังเกตด้วยตาเปล่าได้ทุกภูมิภาคทั่วไทย
"ภาพจันทรุปราคาเงามัว" ครั้งสุดท้ายของปี 63
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เก็บภาพจันทรุปราคาเงามัว เหนือฟ้าเมืองเชียงใหม่ ในช่วงหัวค่ำวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 บันทึกภาพ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นจันทรุปราคาเงามัวครั้งสุดท้ายของปี ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดในช่วงเวลาประมาณ 14:32 - 18:53 น. ตามเวลาประเทศไทย ในไทยสังเกตได้ตั้งแต่ดวงจันทร์โผล่พ้นขอบฟ้า เวลาประมาณ 17:49 น. จนถึงเวลาประมาณ 18:53 น. มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เกิดจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน ไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืด ดวงจันทร์จึงไม่เว้าแหว่ง ยังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่มีความสว่างลดลงเท่านั้น
ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร ปีที่ 3
ตามที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศรับสมัครนักเรียนและนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมอบรมผู้ช่วยวิทยากร ปีที่ 3 กำหนดให้มีการจัดกิจกรรม ระหว่างวันที่ 13 - 14 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมคุ้มไทรงาม แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา นั้น ขณะนี้คณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 30 คน และ สำรอง 20 คน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
30 พฤศจิกายน เกิด “จันทรุปราคาเงามัว” ครั้งสุดท้ายของปี 63
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยค่ำวันที่ 30 พ.ย. 63 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว ประเทศไทยสังเกตได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าถึงเวลา 18:53 น. ดวงจันทร์เต็มดวงจะสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย สังเกตได้ทั่วประเทศ แต่มองด้วยตาเปล่าได้ไม่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกแค่บางส่วน ไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืด ประกอบกับตำแหน่งดวงจันทร์ในช่วงหัวค่ำยังอยู่ใกล้กับขอบฟ้า
สดร. มอบรางวัลสุดยอด “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ประจำปี 2563
21 พฤศจิกายน 2563 - นนทบุรี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบรางวัลประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2563 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2563 อาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร. พีรเดช ทองอำไพ ประธานกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มาเป็นประธานมอบรางวัล