การเข้าร่วมโครงการขนาดใหญ่ (Large Infrastructure) กับหน่วยงานภายนอกทั้งภายในและต่างประเทศ

images 1

        โครงการ CTA เป็นโครงการมูลค่า 400 ล้านยูโร เกิดจากความร่วมมือของ 25 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา High Energy Astroparticles โครงการนี้จะทำการติดตั้งหมู่ กล้องโทรทรรศน์รังสีเชอเรนคอฟ ทั้งในซีกโลก เหนือ ที่เกาะลาปาลมา (La Palma) ประเทศ สเปน และในซีกโลกใต้ ที่เซอร์โรพารานาล (Cerro Paranal) ประเทศชิลี การเข้าร่วมโครง การขนาดใหญ่นี้ของประเทศไทยจะเปิดโอกาส ให้บุคลากรของประเทศในระดับต่างๆ ได้พัฒนา

images

        ศักยภาพและสามารถทาการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ในระดับแนวหน้า (Frontier Science) ให้เท่าเทียมกับ ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทีมวิศวกรจะได้มีโอกาสพัฒนาเทคโนโลยี ที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทย ทั้งนี้ สดร. ได้เสนอการพัฒนาเครื่องเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ตามมาตรฐานที่โครงการ CTA จำเป็นต้องใช้ ในรูปแบบของ In Kind Contribution (IKC) เนื่องจาก สดร. ได้ทำการพัฒนาเครื่องเคลือบ กระจกแบบสปัตเตอริง (Sputtering) ร่วมกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.) เพื่อใช้เคลือบกระจกสะท้อนแสง ของกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวแห่งชาติ

        ผลการดำเนินงานในปี 2562 สดร. ร่วมกับ สซ. ได้ทำการออกแแบบเครื่องเคลือบกระจกโดยแบ่งออกเป็น สองส่วน ได้แก่ ส่วนที่ใช้ทำความสะอาดกระจกแบบโรโบติก และห้องเคลือบสปัตเตอริงแบบสายพาน ซึ่งระบบนี้จะ ช่วยให้การเคลือบทาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากกระจกสะท้อนแสงของหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชอเรนคอฟ มีรวมกัน มากกว่า 6000 ชิ้น การพัฒนาเครื่องเคลือบนี้ คาดว่าจะเสร็จสิ้นและเริ่มใช้งานได้ ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป

Screen Shot 2562 12 09 at 10.21.14