หลักสูตรในการอบรม

teacher intermediate 2567 banner

        ในการจัดกิจกรรมอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาตร์ขั้นกลาง เป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ครูเกิดทักษะการเรียนรู้ทางดาราศาสตร์เกิดการเรียนรู้ข้อมูลทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้เน้นให้มีการจัดอบรมสัมนาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ

ภาคบรรยาย  

        ให้ความรู้แก่ครูในหัวข้อที่กำหนด ภาพเคลื่อนไหว ซอฟ์แวร์ทางดาราศาสตร์และข้อมูลใหม่ๆทางด้านดาราศาสตร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ส่งเสริมให้ครูสามารสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ และจัดการเรียนการสอนด้วยตัวเอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ดาราศาสตร์


ภาคปฏิบัติ    

        แบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ซอฟ์แวร์ดาราศาสตร์ สืบค้นข้อมูลวัตถุท้องฟ้า วางแผนการทำกิจกรรมบรรยายสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ภาคกลางคืน การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เพื่อประกอบสื่อการสอน การใช้กล้องโทรทรรศน์เพื่อการสังเกตการณ์ และเพื่อประกอบกิจกรรมดูดาวภาคกลางคืน การสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ การตั้งกล้องโทรทรรศน์ด้วยตนเอง การหาวัตถุท้องฟ้า การทดลองทำโครงงานดาราศาสตร์ตัวอย่าง ทักษะและเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การสรุปอธิปรายผลของแต่ละกลุ่ม


หัวข้อในการอบรม

หน่วยที่ 1
ทรงกลมท้องฟ้า

1

ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะทรงกลมท้องฟ้า ระบบพิกัดทางดาราศาสตร์ ระบบฐานกล้องโทรทรรศน์ ระบบเวลาทางดาราศาสตร์ ลักษณะการเคลื่อนที่ของทรงกลมท้องฟ้า ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์ ระบุตำแหน่งของจุดอิควินอกซ์ จุดโซลติส การระบุขอบเขตกลุ่มดาว กลุ่มดาวจักราศี การเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การวิเคราะห์ การอภิปราย การอธิบายและสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับนักเรียนต่อได้
 
หน่วยที่ 2
การใช้กล้องโทรทรรศน์และฝึกสังเกตการณ์ท้องฟ้า

2

การหาทิศ การบอกระยะทางเชิงมุม เข้าใจหลักการทำงาน คุณสมบัติ กำลังรวมแสง กำลังการแยกภาพ กำลังขยาย ทางยาวโฟกัส อัตราส่วนทางยาวโฟกัส ขอบเขตของภาพ ระบบฐานยึดกล้องโทรทรรศน์ เลนส์ตา และการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ในระบบต่าง ๆ การปรับระดับฐานยึดกล้องโทรทรรศน์ การทำ Polar Alignment การใช้ Setting Circle การปรับกล้องเล็งและกล้องหลัก และเทคนิคการหาวัตถุท้องฟ้า เช่น  Star Hopping เป็นต้น รวมไปถึงการเลือกซื้อกล้องโทรทรรศน์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
 
หน่วยที่  3
การเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์และการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางดาราศาสตร์

3

แนะนำการใช้งานอุปกรณ์การถ่ายภาพดาราศาสตร์อย่างง่าย อุปกรณ์ถ่ายเทประจุ (Charge-Coupled Device; CCD) อุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างง่าย เช่น กล้องเว็ปแคม และกล้องดิจิตอล D-SLR เพื่อถ่ายภาพดาราศาสตร์ในความยาวคลื่นที่สามารถมองเห็นได้ด้วยดวงตามนุษย์ โดยการใช้เทคนิคต่าง ๆ ในการถ่ายถ่ายภาพเก็บข้อมูลเชิงดาราศาสตร์ การถ่ายภาพเพื่อนำไปทำสื่อการสอน การประมวลผลภาพถ่ายทางดาราศาสตร์โดย การต่อเส้นแสงดาว ไปจนถึงการถ่ายภาพดาราศาสตร์เพื่อนำไปสู่การทำโครงงานดาราศาสตร์
 
หน่วยที่ 4
การวางแผนการดูดาว ปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ และการสืบค้นข้อมูลทางดาราศาสตร์

4

ศึกษาและวางแผนการดูดาว ตรวจสอบเวลาการ ขึ้น-ตก ของวัตถุท้องฟ้า เฟสของดวงจันทร์และเวลาขึ้นและตก ทดลองการวางแผนทำกิจกรรมดูดาว เมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ หาวัตถุที่น่าสนใจ คำนึงถึงปัจจัยจ่างๆ ที่ส่งผลต่อการจัดเตรียมกิจกรรมดูดาวอย่างประสบผลสำเร็จ เฟสของดวงจันทร์ ความสว่าง สถานที่ ลมฟ้าอากาศ แสงจากเมือง อายุและพื้นฐานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อุปกรณ์ วัตถุที่สามารถสังเกตได้ รวมไปถึงแนะนำแหล่งข้อมูลความรู้ทางดาราศาสตร์ ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ  เช่น เว็บไซต์องค์กร NASA ในส่วนของการการเรียนการสอน , ESA ,ESO ฯลฯ เพื่อนำไปประกอบการเรียนการสอนหรือวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
 
หน่วยที่ 5 
การทำโครงงานทางดาราศาสตร์

5

แนะนำแนวทางในการนำไปสู่การเป็นที่ปรึกษา และจัดให้เกิดการทำโครงงานดาราศาสตร์ในโรงเรียน สาธิต และทดลองการทำโครงงานดาราศาสตร์ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง กิจกรรมภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ทั้งขั้นตอนการเก็บข้อมูล การทดลอง และการวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการตั้งคำถาม และทดสอบสมมติฐานตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ และสาธิตโครงงานดาราศาตร์ ที่เป็นลักษณะทั้งการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บข้อมูล การทำการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์