ที่มา
ตัวตรวจวัดการวางตัวของอวกาศยานด้วยทิศทางของแสงอาทิตย์ (Digital Sun Sensor) คือ อุปกรณ์ตรวจวัดสําคัญในการสังเคราะห์พิกัดการวางตัว และระบบนำร่องของอวกาศยาน (Attitude Determination) ร่วมกับตัวตรวจวัดความเร็วเชิงมุมแบบสัมพัทธ์ (Gyroscope) โดยอาศัยพีชคณิตเชิงเส้นเพื่อการคำนวนตําแหน่งการวางตัวของดาวเทียมในระบบพิกัดสามมิติ โดยอ้างอิงทิศทางของแสงจากดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนฉากรับแสงผ่านระบบทัศนกลไก (Opto-Mechanical Ssytem) นับเป็นหนึ่งในระบบย่อยที่สำคัญในการสนับสนุนพันธกิจอวกาศยาน อาทิ การปรับทิศทางดาวเทียมเพื่อถ่ายภาพทรัพยากรโลก ระบบประจุพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบสื่อสารดาวเทียม
ในงานวิจัยและพัฒนานี้ ได้หยิบยกทฤษฎีรูรับแสง (Pinhole Model) และคํานวณค่าความยาวโฟกัส (Focal length) ตามระยะตกกระทบที่เหมาะสมกับตรวจวัดสัญญาณภาพแบบ CMOS เพื่อกำหนดขอบเขตการรับสัญญาณหรือ FoV (Field of View) โดยมีหน่วยประมวลผลสัญญาญภาพแบบดิจิทัล (Digital Image Processing) บรรจุระเบียบวิธีตรวจจับวัตถุ (Object Detection) เพื่อคำนวนตำแหน่งความเข้มของแสงที่ตกกระทบจากดวงอาทิตย์ผ่านกระบวนการแปลงพิกัดด้วยพีชคณิตของออยเลอร์ เป็นพื้นฐานในการคำนวนตําแหน่งการวางตัวของดาวเทียม สัญญาณที่ตรวจวัดได้จากตัวตรวจวัดดังกล่าวจะเข้าสู่กระบวนการ Sensor Fusion ร่วมกับตัวตรวจวัดความเร็วเชิงมุมแบบสัมพัทธ์ผ่านตัวกรองแบบคาลแมน (Kalman Filter) เพื่อประมาณค่าการวัดที่เหมาะสมที่สุด จึงจะสามารถสังเคราะห์พิกัดการวางตัวของวัตถุอวกาศนั้นๆได้
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษากลไกการพัฒนาตัวตรวจวัดการวางตัวของอวกาศยานด้วยทิศทางของแสงอาทิตย์ ในระดับต้นแบบเชิงวิศวกรรม โดยบรูณการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมทัศนศาสตร์และเทคโนโลยีเมคาทรอนิกส์ในการพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าสูงและพึ่งพาตนเองด้านอวกาศและความมั่นคงของประเทศในอนาคต
ลักษณะเฉพาะของผลงาน
ระบบตัวตรวจวัดการวางตัวของอวกาศยานด้วยทิศทางของแสงอาทิตย์ ถูกพัฒนาขึ้นให้มีลักษณะโครงสร้างในปริมาตรที่จํากัดได้ในขนาดประมาณ 25 x 25 x15 มิลลิเมตร (กว้าง x ยาว x สูง มีขอบเขตการรับสัญญาณ [-60, 60] องศาตามแนวแกนและใช้พลังงานไฟฟ้า 3 W
ในระดับต้นแบบเชิงวิศวกรรม ตัวตรวจวัดดังกล่าวติดตั้งบนระบบแขนกลความแม่นยำสูงเพื่อสอบเทียบทิศทางการวางตัวแบบสมบูรณ์
บริบทในท้องตลาด
มีจำหน่ายในต่างประเทศ
มูลค่าปัจจุบันในท้องตลาด
5,000,000 บาท
ราคาต้นทุน
สำหรับต้นแบบเชิงวิศวกรรม ประมาณ 500,000 บาท
การต่อยอดนวัตกรรม/ขยายผลเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีนี้ สามารถต่อยอดนวัตกรรมในสาขาอื่นๆ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ร่วมกับแผงพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์นำร่องอากาศยาน และระบบขีปณาวุธ ระบบหุ่นยนต์ และอากาศยานไร้คนขับ
ทีมพัฒนาผลงาน
- Project manager
Dr. Peerapong Torteeka
NARIT - System Engineer
Shariff Manuthasna
NARIT - GNC Engineer
Thanayuth Panyalert
NARIT - Aerospace Engineer
Popefa Charoenvicha
NARIT - Aerospace Engineer
Tanawish Masri
NARIT - Mechatronics Engineer
Pakorn Khonsri
NARIT - Engineering Advisor
Dr. Potiwat Ngamkajornwiwat
PIM - Internship Engineer
Sorravit Prasitvarakul
PIM - Internship Engineer
Ratthanan Sakunthaksin
RMUTL - Internship Engineer
Thamakorn Thongyod
KMUTT
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ดร. พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ Project Manager
E-mail: [email protected] หรือ [email protected]