ข่าวดาราศาสตร์


ไม่ใช่แค่โลกที่ไหว ดวงจันทร์ก็แผ่นดินไหวได้เหมือนกัน

ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1969 แสดงให้เห็น Buzz Aldrin นักบินอวกาศในภารกิจ Apollo 11 กำลังยืนอยู่ข้าง Lunar Seismometer อุปกรณ์ตรวจวัดแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์ ซึ่งสามารถตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้ลึกถึง 100 กิโลเมตรใต้พื้นผิวดวงจันทร์

Aldrin Seismometer Apollo11 960

ข้อมูลจากเครื่องมือดังกล่าวในช่วงปี ค.ศ. 1972-1977 ระบุว่า มีการตรวจพบ "แผ่นดินไหวบนดวงจันทร์" (Moonquakes) มากถึง 62 ครั้ง โดยแรงสั่นสะเทือนทำให้ก้อนหินแข็งสั่นไหวอยู่นานหลายนาที ขณะที่แผ่นดินไหวบนโลกจะมีระยะเวลาการสั่นสะเทือนที่สั้นกว่า เนื่องจากเป็นหินที่อ่อนนุ่มกว่า 

อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวบนดวงจันทร์ที่ตรวจจับได้เหล่านี้ ไม่ได้มีความรุนแรงมากพอที่จะเป็นอันตรายต่อสถานีที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศอย่าง NASA’s Artemis Base Camp ซึ่งมีแผนจะตั้งอยู่บนดวงจันทร์ในอนาคต

สำหรับสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์ ยังคงเป็นปริศนาที่นักดาราศาสตร์ยังต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป โดยมีสมมติฐานว่า แรงไทดัลจากโลกอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเกิดแผ่นดินไหวบนดวงจันทร์ 

หากทั้งโลกและดวงจันทร์ยังไหว มนุษย์ตัวน้อย ๆ อย่างเราทำไมจะไม่ไหว จริงไหม ? 

เรียบเรียง : ภิญญภา ประเสริฐ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

อ้างอิง https://apod.nasa.gov/apod/ap250406.html
https://science.nasa.gov/moon/moonquakes/