ภาพถ่ายดาราศาสตร์ฝีมือคนไทย

cover-image

The Jupiter with IO and IO’s Shadow

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทภาพถ่ายวัตถุในระบบสุริยะ การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2564
นายกีรติ คำคงอยู่

3 03.jpg

รายละเอียด
วัน / เดือน / ปี ที่ถ่ายภาพ : 7/8/2020
เวลา ที่ถ่ายภาพ : 0:20:00
สถานที่ถ่ายภาพ : หอดูดาวส่วนตัว Aurora Sky Roof ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก
สภาพท้องฟ้า : ท้องฟ้ามีเมฆมาก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพ (กล้องดิจิทัล, กล้องโทรทรรศน์, ซีซีดี, เลนส์) : Celestron C9.25 + Asi 462 color CCD +Televue 2.5X + Sky watcher Eq6 pro mount
ขนาดหน้ากล้อง : 235 mm (9.25")
เวลาที่ใช้ในการถ่ายภาพ : ถ่ายเป็นวิดีโอต่อเนื่อง 30 วินาที เป็น จำนวน 9 set
ความยาวโฟกัส : 2350 mm x 2.5
อัตราส่วนทางยาวโฟกัส : f/10 x 2.5

เทคนิคการถ่ายภาพ : ถ่ายเหตุการณ์นี้ด้วย file video ในโปรแกรม fire capture แล้วนำไป Stack ในโปรแกรม Autostakkert หลังจากได้ File ที่ Stack แล้ว จึงนำไปเพิ่มความคมชัดในโปรแกรม Registax หลังจากนี้นำภาพที่ได้ เข้า Program Winjipos เพื่อทำการ Derotate ภาพ เพื่อStack ให้เวลาตรงกันเมื่อเสร็จจากจุดนี้นำไปปรับแต่งสีและอื่นๆในโปรแกรม Photoshop

คำบรรยายภาพถ่าย : สำหรับภาพนี้ เป็นภาพของดาวพฤหัสบดีที่มีดาวบริวารกำลังเคลื่อนที่ผ่านดาวพฤหัสบดี ได้แก่ดวงจันทร์ไอโอ ซึ่งเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ 4 ดวง ที่กาลิเลโอเป็นผู้ค้นพบด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่เค้าทำขึ้นเอง เมื่อราว 400 กว่าปีมาแล้ว

การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ที่เคลื่อนผ่านดาวพฤหัสบดีในบางครั้ง ดวงจันทร์อาจอยู่ในระนาบที่แสงของดวงอาทิตย์ส่อง ทำให้เกิดเป็นเงาของดวงจันทร์เคลื่อนผ่านบริเวณพื้นผิวของดาวพฤหัสบดี ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์บนโลก ก็คือ เหมือนดวงจันทร์ของเราเคลื่อนผ่านบังดวงอาทิตย์เมื่อเรามองจากบนโลก ดังนั้น ถ้าเราอยู่บนดาวพฤหัสบดี นี่ก็คือสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นบนดาวพฤหัสบดีนั่นเอง

แม้เงาของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีจะเกิดขึ้นบ่อยๆ แต่ก็สร้างความสวยงามให้กับผู้พบเห็น และเหตุการณ์เหล่านี้ ก็ยังสามารถเห็นได้ด้วยกล้องดูดาวขนาดใหญ่จากบนโลกอีกด้วย