Stellar Astrophysics
กลุ่มวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์ดาวฤกษ์ ศึกษาดาวฤกษ์และระบบที่เกี่ยวข้องกับดาวฤกษ์ ได้แก่ ดาวแปรแสง ระบบดาวคู่ ประชากรดาวฤกษ์ในกาแล็กซี และรวมไปถึงสสารระหว่างดาวฤกษ์ โดยการสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลกและกล้องโทรทรรศน์อวกาศ รวมถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายคุณสมบัติและวิวัฒนาการของดาวฤกษ์และกาแล็กซี
นอกจากนี้ กลุ่มวิจัยยังศึกษาสสารระหว่างดาวฤกษ์ผ่านงานวิจัยด้านเคมีดาราศาสตร์ ด้วยการทดลองในห้องปฏิบัติการร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโมเลกุลโครงสร้างซับซ้อนในอวกาศ และต้นกำเนิดของโมเลกุลที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต
การศึกษาการสั่นของดาวยุบขยาย จากการไหวกระเพื่อมของดาวฤกษ์ผ่านการสังเกตการณ์ทางโฟโตเมตรีที่มีความแม่นยำ และสเปคโทรสโกปีคุณภาพสูง ซึ่งผลจากการศึกษาสามารถนำไปคำนวณหาค่าตัวแปรขององค์ประกอบต่างๆ ของดาวฤกษ์ที่สามารถใช้ในการอธิบายโครงสร้างภายในและสมบัติของดาวฤกษ์ในช่วงวัฒนาการต่างๆได้ โดยในโครงการวิจัยนี้จะเป็นการมุ่งเน้นในการศึกษาการสั่นของดาวยุบขยายประเภท A-F ผ่านทางสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก และกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง
กลุ่มวิจัยประชาการดาวฤกษ์ศึกษาคุณสมบัติของดาวฤกษ์ในระบบดาว เช่น กระจุกดาวทรงกลม และกาแล็กซี เพื่อทำความเข้าใจในประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการของระบบดาวเหล่านั้น นอกจากนี้กลุ่มวิจัยยังใช้เทคนิคทาง machine learning เพื่องานวิจัยด้านประชากรดาวฤกษ์ เช่น การใช้ machine learning เพื่อจำแนกประเภทของดาวแปรแสง และการใช้ machine learning เพื่อค้นหากระจุกดาวทรงกลมในกาแล็กซีอื่น
การศึกษาระบบดาวคู่และดาวแปรแสงต่าง มุ่งเน้นการเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ความเข้าใจวิวัฒนาการของระบบดาวฤกษ์เดี่ยว รวมถึงที่มาของดาวเดี่ยวพิเศษประเภทต่างๆ เช่น Blue stragglers, Fast rotating single stars, Most massive star ที่คาดว่ามาจากการหลอมรวมกันของดาวในระบบดาวคู่ (Binary merger) นอกจากนี้ ปัญหาการเกิด O’Connell effect หรือกราฟแสงที่มีความไม่สมมาตรในระบบดาวคู่แบบแตะกัน (Contact binary) และระบบ RS CVn เป็นต้น โดยปัจจุปัญหาทั้งหมดนี้ยังไม่มีคําอธิบายที่ถูกต้องสมบูรณ์
โครงการวิจัยนี้ศึกษาสสารระหว่างดาวฤกษ์ผ่านการทดลองซึ่งจำลองสภาวะอวกาศขึ้นในห้องปฏิบัติการร่วมกับการสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเกิดขึ้นของโมเลกุลโครงสร้างซับซ้อนในสภาวะอวกาศ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับจุดกำเนิดของโมเลกุลที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตในยุคแรกเริ่มของระบบดาวเคราะห์ ที่อาจส่งผลต่อความซับซ้อนทางเคมีบนดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง
ทีมวิจัย
เขมษินันท์ กุลศรีวิวัฒน์
[email protected]วัชร ใจกล้า
[email protected]เมธาวุฒิ ศิริโสม
[email protected]ความร่วมมือ