ปัจจุบัน มีโครงการที่สำรวจวัตถุท้องฟ้าขนาดใหญ่ เช่น Vera C. Rubin Observatory ทำให้นักดาราศาสตร์มีความต้องการใช้สเปกโตรกราฟในการจำแนกประเภทของวัตถุท้องฟ้ามากขึ้น เพื่อทำให้ทราบถึงสมบัติของวัตถุท้องฟ้าดังกล่าว NARIT ร่วมกับ Lick Observatory สหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกันพัฒนาสเปกโตรกราฟไวแสงความละเอียดต่ำ (Dual-beam Automatic Rapid Transient Spectrograph : DARTS) เพื่อนำไปติดตั้งกับกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.4 เมตร ที่ Lick Observatory รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
สเปกโตรกราฟไวแสงความละเอียดต่ำ ถูกออกแบบให้สามารถสังเกตการณ์โดยอัตโนมัติ เหมาะสมกับการติดตามวัตถุที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ดาวแปรแสง ดาราจักรกัมมันต์ หรือซูเปอร์โนวา โดยมีความละเอียด 1,000 และใช้ระบบ K-mirror ในการนำแสง ซึ่งการพัฒนาสเปกโตรกราฟไวแสงความละเอียดต่ำร่วมกับ Lick Observatory จะเป็นการเพิ่มศักยภาพของ NARIT ในการพัฒนาอุปกรณ์ทัศนศาสตร์ร่วมกับหอดูดาวชั้นนำระดับนานาชาติ

![]() |
![]() |