ชุดตรวจวัดสภาพอากาศไร้สาย

Wireless Weather Monitoring System

cover-image

ที่มา
“สภาพอากาศ” เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนวิสัยในการมองเห็น รวมทั้งยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ใช้กำหนดการเริ่มต้น และสิ้นสุดการปฏิบัติงานในแต่ละคืน NARIT จึงติดตั้ง “ชุดตรวจวัดสภาพอากาศไร้สาย” ในบริเวณ
หอดูดาวของสถาบันฯ เพื่อตรวจสอบสภาพอากาศและเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับการใช้กล้องโทรทรรศน์ ในระยะแรก ได้จัดหาอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศจากต่างประเทศ แต่ด้วยคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่เฉพาะทาง มีการใช้งานแบบ Real-Time Mesuring และปัจจัยต่างๆ ที่อุปกรณ์ตาม
ท้องตลาดไม่รองรับ จึงเป็นอุปสรรคในการจัดหา ใช้งบประมาณสูง และยังมีข้อจำกัดด้านการซ่อมบำรุง NARIT จึงมีแนวคิดในการเริ่มต้นพัฒนา “ชุดตรวจวัดสภาพอากาศ” เพื่อการประยุกต์ใช้งานที่เหมาะสม และการพัฒนาต่อยอดที่มีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ 
 สร้าง “ชุดตรวจวัดสภาพอากาศ” ที่มีความคงทน มีความแม่นยำ มีความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล มีความสามารถในการวัด และบูรณาการข้อมูลให้อยู่ในหน่วยวัดที่เข้าใจง่าย และเป็นมาตรฐาน สอดคล้องความต้องการของผู้ใช้งาน และมีความสามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์แบบไร่้สาย

Screenshot 2567 12 22 at 22.00.14

ลักษณะเฉพาะของผลงาน

  • ความแม่นยำในการตรวจวัดสูง - การออกแบบด้วยการสื่อสารแบบไร้สายและรองรับการเชื่อมต่อแบบ Multiple Sensor Node ทำให้การตรวจวัดค่าจากเซนเซอร์มีได้มากกว่า 1 ตัว ดังนั้นข้อมูลในการตรวจวัดจึงถูกนำมาประมวลผลเพื่อเพิ่มความแม่นยำได้
  • ระบบแจ้งเตือนการทำงานผิดพลาด - ระหว่างการทำงานอุปกรณ์อาจถูกรบกวนจากสิ่งต่าง ๆ เช่น ฟ้าผ่า กระแสไฟชำรุด การกระแทก การกระทบเทือน ฯลฯ สาเหตุเหล่านี้อาจส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ ดังนั้นการติดตั้งระบบแจ้งเตือนการทำงานผิดพลาดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้การตรวจวัดมีความต่อเนื่องและลดระยะเวลาการตรวจสอบจากช่างผู้ดูแล
  • การตั้งค่าที่สะดวกรวดเร็วไม่ซับซ้อน - การตั้งค่าก่อนการใช้งานเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่ต้องกำหนดให้ถูกต้องก่อนการเริ่มเก็บข้อมูล เนื่องจากการประมวลผลบางอย่างของอุปกรณ์จำเป็นต้องให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูล เช่น ค่าความกดอากาศ ค่าความสูงจากระดับน้ำทะเลก่อนการใช้งาน  การอัพโหลดข้อมูลการตรวจวัดไปยังปลายทาง เป็นต้น ดังนั้นการสร้างเครื่องมือสำหรับตั้งค่าที่สามารถเข้าใจได้ง่ายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
  • เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่ทุรกันดาร - พื้นที่สำหรับการสังเกตการณ์ดาราศาสตร์หลายแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าและเขตห่างไกล เนื่องจากต้องอยู่ในพื้นที่ที่ทัศนวิสัยท้องฟ้าดีปราศจากแสงรบกวนเพื่อสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นตัวอุปกรณ์จึงถูกออกแบบให้วงจรภายในใช้พลังงานน้อยที่สุด รองรับการใช้งานร่วมกับเซลล์ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์  รวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายที่สามารถติดตั้งได้ห่างจากเครื่องแม่ข่ายหลายร้อยเมตร ผู้ใช้งานจึงสามารถกระจายเครื่องลูกข่ายไปในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ในบริเวณกว้าง
  • รองรับการส่งออกข้อมูลที่หลากหลาย - เครื่องแม่ข่ายสามารถส่งออกข้อมูลการวัดผ่านหลายช่องทาง ได้แก่ FTP,  File Sharing,  Cloud Storage, Web Protocol, Database Synchronization และ SDK
  • รองรับการพัฒนาต่อยอด - เครื่องแม่ข่ายสามารถรองรับการพัฒนาต่อยอดผ่านช่องทาง SDK เพื่อปรับเปลี่ยนการตั้งค่าของตัวอุปกรณ์ได้ตามต้องการ สามารถเรียกรับข้อมูลที่จำเป็นสำหรับระบบอัตโนมัติต่าง ๆ และสามารถเพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการวัดได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
1662605648781

บริบทในท้องตลาด
อุปกรณ์ที่มีจำหน่ายทั่วไป รองรับการเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ตรวจวัดเพียงแค่ 1 ตัวต่อ 1 ชนิดการวัด ดังนั้นหากเซนเซอร์เสียค่าการตรวจวัดจะคงค้างอยู่เช่นนั้นจนกว่าผู้ใช้จะตรวจสอบพบด้วยตนเอง ไม่มีระบบแจ้งเตือนข้อผิดพลาด และไม่รองรับการพัฒนาต่อยอด

มูลค่าปัจจุบันของท้องตลาด
ประมาณ 300,000 บาท

ราคาต้นทุน
ประมาณ 250,000 บาท

การต่อยอดนวัตกรรม/ ขยายผลเชิงพาณิชย์ และภาคอุตสาหกรรม
สามารถรองรับงานที่ต้องใช้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศในการอ้างอิง หรือศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เช่น งานด้านอุตุนิยมวิทยา งานสารสนเทศทรัพยากรน้ำ งานชลประทาน ฯลฯ

ทีมพัฒนาผลงาน
 นายกฤษฎา   ปาลี วิศวกร
 นางสาวถลัชนันท์ สลัดทุกข์ วิศวกร
 นายจักรพันธ์ุ   กิตกรอง วิศวกร
 นายนฤเบศ โกมล วิศวกร
 นายอนุพงษ์ อินปัน วิศวกร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
งานวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์ ศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาวและวิศวกรรม 
E-mail: [email protected]