การประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน)

“การประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) (TACs)” เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมนำเสนอโครงงานดาราศาสตร์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ๆผ่านกระบวนการทำงานวิจัยดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ผลงานที่นำเสนอส่วนหนึ่งมาจากงานวิจัยของครูและนักเรียนในโครงการอบรมครูเชิงปฏิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นสูง ภายในงานมีนักวิจัย นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ
ด้านดาราศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ รวมถึงเจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ NARIT ร่วมรับฟังพร้อมให้คำแนะนำ เพื่อนำไปพัฒนา ต่อยอดงานวิจัย อีกทั้งยังสร้างแรงบันดาลใจในการศึกษาเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ ให้เกิด
ยุววิจัยรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดเครือข่ายงานวิจัยดาราศาสตร์ในระดับเยาวชน ซึ่งจะก้าวสู่
เครือข่ายงานวิจัยดาราศาสตร์ระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต

cover-image

เกี่ยวกับโครงการ

ปัจจุบันนานาประเทศต่างยอมรับว่าดาราศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ดาราศาสตร์สามารถดึงดูดผู้คนทุกเพศ ทุกวัย
ให้ชื่นชอบและหลงใหลในความสวยงามและความน่าอัศจรรย์ ดาราศาสตร์ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นศึกษาทำความเข้าใจเอกภพเท่านั้นแต่ยังเป็นเครื่องมือ
ผลักดันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในสาขาต่างๆ ประโยชน์ของดาราศาสตร์นอกจากจะทำให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ
ในดาราศาสตร์มากขึ้นแล้ว ยังสามารถดึงดูดเยาวชนให้มีความสนใจใฝ่รู้ เสริมสร้างจินตนาการ และมีกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
ในส่วนของประชาชนทั่วไปนอกจากความสวยงามของกลุ่มดาวต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้ายามค่ำคืนแล้ว ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ยังสร้าง
ความตระหนักและความตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมสร้างบรรยากาศ และส่งเสริมให้เกิดสังคมการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านดาราศาสตร์ และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องของประเทศ เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนผ่านการศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ พัฒนาแนวคิด ทักษะ และกระบวนการทำวิจัยดาราศาสตร์ จึงกำหนดจัด การประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) ขึ้น 

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยดาราศาสตร์ของเยาวชน
  2. เพื่อให้เยาวชนมีประสบการณ์การนำเสนอผลงานในระดับประเทศ
  3. เพื่อสร้างเครือข่ายการทำวิจัยดาราศาสตร์ของเยาวชน
กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน และครูที่ปรึกษาโครงงาน

รูปแบบการนำเสนอ

รูปแบบการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (Oral Presentation)
  1. ผู้นำเสนอแบบบรรยาย(Oral Presentation) ต้องเตรียม PowerPoint นำเสนอโครงงานโดยมีรายละเอียดดังนี้
    • Slide จำนวนไม่จำกัดหน้า (ส่งSlide วันนำเสนอผลงาน)
    • เวลานำเสนอไม่เกิน 5 นาที ซักถาม 5 นาที รวมเป็นหัวข้อละ 10 นาที (บนเวที)
      *อาจมีการปรับเปลี่ยน
  2. ผู้นำเสนอผลงานเตรียมเนื้อหานำเสนอในรูปแบบ PowerPoint ดังนี้
    1. บทนำ/ที่มาความสำคัญ
    2. วัตถุประสงค์
    3. วิธีการศึกษา
    4. ผลการศึกษา
    5. สรุปผล
  3. นำเสนอผลงานตามเวลาที่ทางคณะกรรมการกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด (เวลานำเสนอไม่เกิน 5 นาที) *อาจมีการปรับเปลี่ยน
  4. ผู้นำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentation) ต้องเตรียมโปสเตอร์ (Poster) สำหรับนำเสนอในช่วงเวลานำเสนอโปสเตอร์ด้วย (นำมาเอง)
รูปแบบการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)
  1. ผู้นำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ต้องเตรียม PowerPoint (Poster Review) นำเสนอโครงงานโดยมีรายละเอียดดังนี้
    • Slide จำนวน 1 หน้า (ส่ง Slide วันนำเสนอผลงาน)
    • เวลานำเสนอไม่เกิน 1 นาที (บนเวที) 
  2. สำหรับการนำเสนอในช่วงการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ มีรายละเอียดโปสเตอร์ดังนี้
    • ความกว้าง x ความยาว (90 x 120 เซนติเมตร)
    • ตัวอักษร/รูปภาพไม่เล็กเกินไปและไม่กลืนไปกับพื้นหลัง สามารถอ่านได้ง่าย เน้นรูปประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมของกิจกรรม

ดาวน์โหลด >>ตัวอย่างโปสเตอร์<<

 

การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ 

          ผู้นำเสนอผลงานทั้งสองรูปแบบ (Oral Presentation และ Poster Presentation) ต้องเตรียมรายงานฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และส่งรายงานพร้อมแบบยืนยันการเข้าร่วมนำเสนอผลงานมายังคณะกรรมการ ภายในเวลาที่กำหนด โดยมีรูปแบบการเขียนรายงานดังนี้

  1. จำนวนรายงานไม่เกิน 4 หน้า (ขนาดกระดาษ A4)
  2. การตั้งค่าหน้ากระดาษ ตัวอย่างรูปแบบการเขียนรายงาน คลิกที่นี่
    • ขอบบน 3 ซม. 
    • ขอบล่าง 2.5 ซม. 
    • ขอบซ้าย 2.5 ซม.
    • ขอบขวา 2.5 ซม
  3. แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 pt