วัตถุประสงค์
- เพื่อให้นักเรียน มีกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์และฝึกทักษะในการสังเกตการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลเสมือนจริง
- สร้างผลงานวิจัยดาราศาสตร์ให้เป็นมาตรฐานงานวิจัยระดับโรงเรียน
- เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนมีประสบการณ์การทำงานวิจัยดาราศาสตร์ร่วมกับนักดาราศาสตร์
- เพื่อยกระดับงานวิจัยดาราศาสตร์ระดับโรงเรียนให้มีคุณภาพ
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนระดับมัธยมปลาย จำนวน 20 คน ที่สนใจศึกษางานวิจัยหรือทำโครงงานด้านดาราศาสตร์ร่วมกับนักดาราศาสตร์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ข้อผูกพัน
นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการยุววิจัยดาราศาสตร์ จะมีข้อผูกพันระหว่างการเข้าร่วมอบรม และมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
-
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ต้องศึกษาโครงงาน 1 โครงงาน และสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดทั้งปี โดยต้องเข้าร่วมการอบรมและการนำเสนอผลการศึกษาโครงงาน
-
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ต้องส่งผลงานเข้าร่วมการประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทย (สำหรับเยาวชน) (TACs)
รูปแบบกิจกรรม
โครงการอบรมยุววิจัยดาราศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่
กิจกรรมที่ 1 : อบรมยุววิจัยดาราศาสตร์
การอบรมในช่วงแรกจะเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้พื้นฐานและการวางแผนการศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ ได้ปรึกษาการศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ที่สนใจร่วมกับนักวิจัยด้านต่างๆ ก่อนจบการอบรม นักเรียนจะต้องนำเสนอหัวข้อโครงงานที่สนใจ 1 โครงงาน โดยจะมีนักวิจัยของ สดร. เป็นที่ปรึกษาโครงงานตลอดระยะเวลาที่ศึกษาโครงงาน และแผนการศึกษาโครงงานหลังจากการอบรม กำหนดแนวทางการวิจัยหลักดังนี้
- Exoplanets and Life beyond solar system
- Space Weather and Earth’s Climate and Near-Earth Objects
- Stellar Astrophysics
- Cosmology and High Energy Astrophysics
- Radio Astronomy and Technology
กิจกรรมที่ 2 : นำเสนอโครงงานดาราศาสตร์ (รูปแบบออนไลน์)
หลังจากนำเสนอหัวข้อโครงงานไปแล้วในกิจกรรมที่ 1 นักเรียนต้องศึกษาโครงงานดาราศาสตร์ 1 โครงงาน และนำผลการศึกษาโครงงานที่ได้มานำเสนอในกิจกรรมที่ 2 นี้