บทความภาพภ่ายดาราศาสตร์

บทความดาราศาสตร์

บทความดาราศาสตร์

การค้นหาแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงโดยกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ

การค้นหาแหล่งกำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงโดยกล้องโทรทรรศน์แห่งชาติ

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เราคุ้นเคยกันดี และเราเข้าใจถึงระดับที่สามารถสร้างคลื่นนั้นขึ้นมาใช้งานในชีวิตประจำวัน แต่คลื่นความโน้มถ่วงเพิ่งได้รับการยืนยันว่ามีอยู่จริง และเราสามารถตรวจวัดได้ แต่เรายังไม่มีความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการคลื่นโน้มถ่วง จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าคลื่นความโน้มถ่วงต่างจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังไง? ค้นพบได้อย่างไร? โดยก่อน ค.ศ 2015 เราไม่สามารถตรวจวัดคลื่นความโน้มถ่วง มีแต่เพียงทฤษฎี หรือการสังเกตการณ์โดยอ้อมเท่านั้น แต่ก็ยังมีแนวคิดว่าคลื่นความโน้มถ่วงน่าจะมีจริง ซึ่งต่างกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรารู้จักโดยละเอียดทั้งยังสามารถสร้างคลื่นนั้นขึ้นมาใช้งานในชีวิตประจำวัน สามารถแปลงคลื่นมาเป็นพลังงาน หรือแปลงพลังงานไปเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านที่เราต้องการได้ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า:

Read more ...

ความแตกต่างและความน่าสนใจระหว่างดาวตก (Meteor) ลูกไฟ (Fireball)   และ ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) ที่ควรรู้

ความแตกต่างและความน่าสนใจระหว่างดาวตก (Meteor) ลูกไฟ (Fireball)   และ ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) ที่ควรรู้

สมัยเรียนมัธยม หลังจากได้รับข่าวสารประชาสัมพันธ์เรื่อง “ฝนดาวตก (Meteor Shower) ผมและเพื่อน ๆ ตื่นเต้นมาก จึงค้นหาสถานที่ที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงแสงไฟรบกวนจากบ้านเรือนและชุมชนเมือง ผลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ฝนดาวตกในคืนนั้น ยังเป็นความประทับใจที่ไม่รู้ลืมในวันนี้ และเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงเป็นแบบนี้เช่นกัน ประสบการณ์การพบเห็นดาวตกนั้นตื่นเต้น ประทับใจ เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนชอบดาราศาสตร์และหันมาศึกษาข้อมูลดาราศาสตร์มากขึ้น

Read more ...

กระบวนการทดสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย

กระบวนการทดสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย

หากคุณคือผู้โชคดีที่เก็บชิ้นส่วนอุกกาบาต (Meteorite) ที่มาจากนอกโลกได้ คำถามคือคุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นอุกกาบาตจริง ๆ เนื้อหาต่อไปนี้ขอเสนอวิธีการตรวจสอบความเป็นอุกกาบาตของวัตถุต้องสงสัย  ซึ่งหากลองทดสอบแล้วผลออกมาสอดคล้องตามวิธีด้านล่างนี้ แสดงว่าคุณคือผู้โชคดีคนหนึ่งที่เป็นเจ้าของวัตถุจากอวกาศอายุนับพันล้านปี

Read more ...

“ซิจ” Zij  ตารางดาราศาสตร์อิสลามยุคกลาง

“ซิจ” Zij  ตารางดาราศาสตร์อิสลามยุคกลาง

 “ซิจ (Zij)” เป็นคำในภาษาอาหรับ เขียนด้วยอักษรอาหรับว่า زيج  คือ  ตารางบันทึกผลการสังเกตการณ์การเคลื่อนที่และตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าโดยนักดาราศาสตร์ในอดีต เพื่อใช้คำนวณหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า กลุ่มดาวต่าง ๆ  รวมไปถึงการคำนวณหาระยะเวลาของช่วงกลางวันและกลางคืน และใช้ในการคำนวณหาทิศทาง โดยต้นแบบและวิธีการของซิจ ได้รับอิทธิพลจากตารางของปโตเลมี (Ptolemy’s Handy Tables) ที่ถูกแปลเป็นภาษาอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 9  ซิจแต่ละตารางจะมีรูปแบบเฉพาะและความโดดเด่นที่ต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 13 ส่วน ดังนี้

Read more ...

แอปพลิเคชัน Star Chart

แอปพลิเคชัน Star Chart

การจัดกิจกรรมดูดาวที่ดี ควรมีการเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษาข้อมูลวัตถุท้องฟ้าในวันเวลาที่เราจะดู เราจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถจำลองท้องฟ้าเพื่อใช้เตรียมตัวดูดาว เช่น แผนที่ดาว หรือโปรแกรมท้องฟ้าจำลองในคอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีในโทรศัพท์มือถือ ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีแอปพลิเคชันทางด้านดาราศาสตร์มากมายลงในแพลตฟอร์มมือถือ ซึ่งมีทั้งแบบที่ดีและไม่ดี แอปพลิเคชันฟรีและเสียเงิน

Read more ...

Animals in space สัตว์อะไรบ้างที่เคยไปอวกาศ

Animals in space  สัตว์อะไรบ้างที่เคยไปอวกาศ

ก่อนที่มนุษย์จะขึ้นไปสู่ห้วงอวกาศ ก่อนที่ยูริ กาการินจะโคจรรอบโลก ก่อนที่นีล อาร์มสรองจะเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรก ยังมีบรรดาสัตว์ต่าง ๆ เคยขึ้นไปเพื่อบุกเบิกอวกาศ เก็บข้อมูลต่าง ๆ และทดสอบความปลอดภัยสูงสุดก่อนทดสอบกับมนุษย์ เมื่อเราพูดถึงสัตว์ในอวกาศ อาจจะรู้จักแค่ “ไลก้า” สุนัขข้างถนนของโซเวียตเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมีสัตว์ชนิดอื่นอีกมากมาย มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยว่า ก่อนที่มนุษย์จะขึ้นไป มีสัตว์ชนิดไหนเคยขึ้นไปก่อนแล้วบ้าง

Read more ...

ทำไมจึงไม่เห็นวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์มีสีสันสวยงามดั่งเช่นภาพถ่าย

ทำไมจึงไม่เห็นวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์มีสีสันสวยงามดั่งเช่นภาพถ่าย

สำหรับใครที่เคยสัมผัสบรรยากาศของการดูวัตถุท้องฟ้าผ่านกล้องโทรทรรศน์มาแล้ว อาจมีคำถามที่ทำให้อยากรู้และค้นหาคำตอบ หนึ่งในคำถามที่มักพบบ่อยครั้งคือ ทำไมจึงไม่เห็นสีสันสดใสของวัตถุท้องฟ้าเหมือนดั่งในภาพถ่าย เหตุผลก็คือโดยปกติดวงตามนุษย์มีเรตินา (Retina) เป็นจอรับภาพ ซึ่งประกอบด้วยเซลล์รูปแท่ง (rod cell) และเซลล์รูปกรวย (cone cell) ช่วงเวลากลางคืนหรือสถานที่ที่มีแสงไฟสลัว ๆ เซลล์ที่ทำงานได้ดีคือ เซลล์รูปแท่ง ซึ่งเซลล์นี้จะให้ภาพออกมาในโทนขาวดำ ส่วนเซลล์รูปกรวยจะให้ออกมาเป็นสีแต่ทำงานไม่ดีในสภาวะแสงน้อย จึงไม่สามารถมองเห็นสีในที่มืดได้

Read more ...

ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.1441

ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) เพื่อกำหนดเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ.1441

เนื่องจากวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ตรงกับวันที่ 1 เดือนรอญับ (Rajab) ฮ.ศ. 1441 ดังนั้นวันที่ชาวไทยมุสลิมจะต้องออกมาสังเกตจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ครั้งต่อไปจะตรงกับวันที่ 29 เดือนรอญับ ฮ.ศ. 1441 หรือวันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 ผลการสังเกตดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮีลาล) ในวันเวลาดังกล่าว จะกำหนดวันเริ่มต้นเดือนชะบาน (Shaban) หากมีผู้คนสามารถเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรก  ชาวไทยมุสลิมก็จะกำหนดให้วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นวันเริ่มต้นเดือนชะบาน (Shaban) ฮ.ศ. 1441

Read more ...

Social Distancing ของดวงดาวในกลุ่มดาว

Social Distancing ของดวงดาวในกลุ่มดาว

กลุ่มดาวบนท้องฟ้า ที่เราเห็นว่าดาวแต่ละดวงมันใกล้กันนั้น จริงๆแล้ว มันไม่ได้ใกล้กันเลย ดาวแต่ละดวงอยู่ห่างระหว่างกันมาก เมื่อพิจารณาระยะห่างของดาวจากโลก เช่นในกลุ่มดาวนายพราน ดาวบีเทลจุส อยู่ห่างจากโลก 624 ปีแสง ดาวไรเจล 772 ปีแสง และโดยเฉพาะบริเวณเข็มขัดนายพราน ที่มองเห็นเด่นชัดเป็น 3 ดวงเรียงกันอยู่นั้น ดาวอัลนิแทค ดาวอัลนิแลม และดาวมินทากะ มีระยะห่างจากโลก 800 ปีแสง 1,342 ปีแสง และ 916 ปีแสง ตามลำดับ ซึ่งจากตัวเลขจะเห็นได้ว่า ดาวแต่ละดวงนั้นมีระยะห่างที่ไม่ได้ใกล้กันเลย แต่เนื่องจากว่าสายตาของมนุษย์นั้นไม่สามารถมองเห็นวัตถุลึกลงไปได้ไกลขนาดนั้น จึงทำให้เราเห็นว่าดาวทุก ๆ ดวงอยู่ใกล้กัน และอยู่บนทรงกลมเดียวกัน นั่นคือทรงกลมท้องฟ้านั่นเอง

Read more ...

อัลไบรูนี หนึ่งในนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกอิสลามยุคก่อน

อัลไบรูนี หนึ่งในนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในโลกอิสลามยุคก่อน

“อบู อัรรอยฮานฺ มุฮำมัด อิบนุ อะฮฺมัด อัลไบรูนี (Abu Rayhan Muhammad ibn Ahmad Al-Biruni)”  หรือ “อัลไบรูนี” เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย เกิดในปี ค.ศ. 937 ที่เมืองคอส ในแคว้นควอแรซม์ (Kath, Khwarezm) ในภูมิภาคเอเชียกลาง  และอัลไบรูนีเสียชีวิตลงที่คัซนี (Ghazni) ในปี ค.ศ. 1048 อัลไบรูนีไม่เพียงแต่เป็นนักดาราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังโดดเด่นในวิชาคณิตศาสตร์ การแพทย์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฟิสิกส์ เภสัชกรรม และธรณีวิทยา ด้วยความปราดเปรื่องและฉลาดเฉลียวอย่างโดดเด่นในด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ทำให้เขาสามารถคิดหาสูตรอย่างง่ายสำหรับการวัดรัศมีของโลก เส้นรอบวงของโลก เป็นการพิสูจน์ได้ว่าโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม ยิ่งไปกว่านั้นเขาคิดว่าเป็นไปได้ที่โลกมีการโคจรรอบดวงอาทิตย์

Read more ...

นักดาราศาสตร์ อาชีพที่ท้าทาย มีจักรวาลเป็นห้องแล็ปใหญ่ ให้ไขความลับไม่รู้จบ  

นักดาราศาสตร์ อาชีพที่ท้าทาย มีจักรวาลเป็นห้องแล็ปใหญ่ ให้ไขความลับไม่รู้จบ  

เริ่มต้นเดือนแห่งความรัก ฉลองการเปิดฉากอย่างเป็นทางการของ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กับกิจกรรมดาราศาสตร์ ในงาน NARIT AstroFest 2020 มหกรรมดาราศาสตร์ที่จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าชมงานเป็นจำนวนมาก

Read more ...

ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮิลาล) กับการกำหนดเดือนปฏิทินฮิจเราะห์ ประจำปี ฮ.ศ. 1441

ดวงจันทร์เสี้ยวแรก (ฮิลาล) กับการกำหนดเดือนปฏิทินฮิจเราะห์ ประจำปี ฮ.ศ. 1441

ดวงจันทร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่เราคุ้นเคยมากที่สุด เป็นบริวารหนึ่งเดียวของโลกและเป็นวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดอีกด้วย เห็นได้ชัดในตอนกลางคืนและสวยงามมากในคืนจันทร์เพ็ญ (Full Moon) หากเราสังเกตดวงจันทร์บนท้องฟ้าในแต่ละคืน จะเห็นเฟสของดวงจันทร์ที่ปรากฏ (Phase of the moon) เปลี่ยนแปลงไปทุกวันชาวมุสลิมจะกำหนดวันที่  และวันสำคัญของแต่ละเดือนปฏิทินฮิจเราะห์หรือปฏิทินอิสลาม จากการปรากฏเฟสของดวงจันทร์ในแต่ละวัน

Read more ...

Page 3 of 5